วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เรื่องดี ๆ ของนกเขาชวา**



วันเสาร์เป็นวันหยุดน่าจะเป็นวัน ที่นอนตื่นสายๆ มีความสุขอยู่กับที่นอนออันอบอุ่น แต่ผู้เขียนกลับตื่นเช้ากว่าวันทำงานเสียอีก  ตาสว่างตั้งแต่ยังไม่ตี 5  อาจจะเพราะเคยชินกับการแต่ตื่นเช้าไปแข่งนกตลอดสิบกว่าปีมานี่  เลยทำให้ร่างกายปรับสภาพโดยอัตโนมัติ  วันเสาร์อาทิตย์ตื่นนอนโดยไม่ต้องใช้นาฬิกาปลุกช่วยเลย       วันนี้ก็เหมือนกันฟ้ายังไม่สว่างตากลับสว่างไสว    พยายามยังไงก็นนอนหลับ  เลยมานั่งเขียนต้นฉบับให้ส่งให้ บก. ดีกว่า

 มีเรื่องนึงอยากจะบอกเล่าแก่ท่านผู้อ่าน  คือเมื่อวันที่  17 ม.ค.2551    ผู้เขียนได้รับมอบหมายจากท่าน พล.ต.ต.สหัสชัย  อินทรสุขศรี  นายกสมาคมผู้เลี้ยงนกเขาชวาแห่งประเทศไทย ให้ไปเป็นอนุกรรมพิจารณายกร่างมาตรฐานฟาร์มนกเขาชวา  ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ในฐานะของตัวแทนของสมาคมฯ ในการกำหนดมาตรฐานการจัดการฟาร์มนกเขาชวาเพื่อการส่งออก  แม้ตอนนี้บางท่านอาจจะยังไม่ได้เป็นผู้เพาะพันธ์นกเขาชวาเพื่อการส่งออกไป ขายยังต่างประเทศ   แต่ไม่แน่ในอนาคตท่านอาจจะเป็นผู้ส่งออกนกเขาชวารายใหญ่ก็ได้        ทราบข้อมูลไว้ก็ไม่น่าจะเสียหาย  ผมว่าน่าจะมีประโยชน์ด้วยซ้ำไป

มีประเด็นที่น่าสนใจ  ก็คือ

 

1 ทางภาครัฐเห็นถึงความสำคัญของการส่งออกนกเขาชวาไปยังต่างประเทศ  เพราะเห็นว่านกเขาชวามีมูลค่าการส่งออกไปต่างประเทศค่อนข้างสูง และเป็นช่องทางนึงที่จะช่วยให้มีเงินตราต่างประเทศไหลเข้ามามากขึ้น   ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น  โดยเฉพาะในหมู่ผู้เพาะเลี้ยงเพื่อการค้า  และทำให้เกิดการแข่งขันในการพัฒนาฟาร์มของตนเองให้มีมาตรฐาน

2 หากมีการจัดการฟาร์มตามมาตรฐานและได้รับการรับรอง ก็เหมือนกับการยกระดับความน่าเชื่อถือของฟาร์มเพาะพันธุ์นกเขาชวา   ทั้งที่แต่ก่อนเคยทำกันแบบตามสะดวก ทำให้ที่ได้รับการรับรองเป็นฟาร์มมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ  และแน่นอนเมื่อได้รับการยอมรับแล้ว  การส่งออกและนำนกเข้าประเทศคู่ค้าย่อมทำได้ง่ายขึ้น  เงินจากต่างประเทศก็เข้ามาหมุ่นเวียนเข้าประเทศมากขึ้นเป็นผลดีกับผู้เพาะ พันธุ์

3 เป็นการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรค   ตั้งแต่มีการพบการระบาดของ  “โรคไข้หวัดนก”   ซึ่งความจริงน่าจะเรียก  ไข้หวัดไก่มากกว่า  ตั้งแต่ปี 2544   ยังไม่เคยพบว่านกเขาชวาในประเทศไทยมีการติดเชื้อไข้หวันกเลย  ถึงแม้จะไม่พบ  การเฝ้าระวังป้องกันจึงน่าจะเป็นเรื่องที่ดี  การจัดการฟาร์มให้มีมาตรฐานในการป้องกันโรคจะช่วยให้หลายฝ่ายมั่นใจในความ ปลอดภัย   และทำให้นกในฟาร์มอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี  นกเขาชวาก็มีสุขภาพและคุณภาพที่ดีตามไปด้วย   ทำให้ประเทศคู่ค้ามีความมั่นใจว่านกจากฟาร์มที่ได้รับรองมาตรฐานของไทยจะ ปราศจากโรค  ซึ่งเป็นสิ่งที่เขากลัวอย่างมาก




การเข้าร่วมโครงการนี้ให้เป็นไปโดยสมัครใจของฟาร์มที่เพาะ เลี้ยงโดยไม่มีการบังคับ  หากฟาร์มใดจัดการฟาร์มได้ตามมาตรฐานก็จะได้รับการรับรอง  และขึ้นทะเบียนจากสำนักมาตรฐานสินค้าเกษตร  ทำให้ภาครัฐของประเทศคู่ค้ามั่นใจและยอมรับ  เหมือนกับเป็นใบเบิกทางการส่งออกนกเขาชวาสู่ตลาดอาเซียนได้อย่าสะดวกโยธิน  ผลประโยชน์ก็จะตกอยู่กับเกษตรกรเอง เพราะนกเขาชวาจากไทย  เป็นสายพันธุ์ที่เขายอมรับกันอยู่แล้วในเรื่องคุณภาพของเสียง  มีความคืบหน้าอย่างไรจะมาเล่าสู่กันฟังอีกครั้งหนึ่ง

กลับมาโม้เรื่องของนกเขาชวากันต่อดีกว่าครับ

เราเลี้ยงนกเขาชวาเลี้ยงนกเขาชวาไว้เพื่ออะไร

อาจจะเป็นคำถามที่ดู  ธรรมด๊า  ธรรมดา ถามไปทำไมก็ไม่รู้   ที่ตั้งหัวเรื่องไว้อย่างนี้ก็เพราะว่า  อยากจะบอกแก่ผู้ที่คิดจะเลี้ยง  การเลี้ยงนกเขาชวาของแต่ละท่านอาจจะมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน บางท่านต้องการเลี้ยงเพื่อฟังเล่น  บางท่านเลี้ยงเพื่อต้องการนำไปแข่งขันเพื่อความมีชื่อเสียง    แต่บางท่านต้องการเลี้ยงเพื่อการค้าอันนี้ก็แล้วแต่วัตถุประสงค์ของแต่ละคน  แต่คนเลี้ยงนกเขาชวาส่วนใหญ่เลี้ยงนกเขาชวาเพื่อฟังเสียงเป็นอันดับแรก   รองลงมาก็เลี้ยงเพื่อการแข่งขัน และจนกระทั่งคิดเพาะพันธ์ทำฟาร์มนกเขาชวา  ขนาดเล็กใหญ่  ตามกำลังที่มี




เลี้ยงนกเขาชวาแล้วได้ประโยชน์อะไรล่ะ

เคยมีคนถามผู้เขียนว่า  ทำไมถึงชอบเลี้ยงนกเขาชวา  มันมีเสน่ห์ตรงไหนเหรอ   ผู้ขียนก็เลยตอบไปว่า  ความสุขของการเลี้ยงนกเขาชวาอยู่ที่เลี้ยงแล้วมีความสุข   ความสุขเกิดจากอะไร  ก็เกิดจากการได้มีเวลาผ่อนคลายอารมย์จากเสียงขันเพราะๆ  ของนกที่ขันให้เราฟัง   ได้ออกกำลังกาย  ได้เคลื่อนไหวร่างกายในการทำกิจกรรม      อาจจะผิดกับบางท่านที่ชอบตีกอล์ฟบ้าง    ทำสวนปลูกต้นไม้   เลี้ยงปลาสวยงามบ้าง   มันเป็นความชอบเฉพาะบุคคล  แต่ทำแล้วมีความสุข  ไม่เป็นทีเดือนร้อนของใครก็เอาเถิด 

“ซื้อนกเขาชวาราคาแพงๆ  เป็นหมื่นเป็นแสน  ไม่กลัวมันตายเหรอ “  หรือ  “ถ้ามันตายจะทำยังไง”  คำถามนี้ก็ได้ยินอยู่เป็นประจำ  

“พ่อผม  แพงกว่านี้อีก  ยังตายเลย”    ????    นี่เป็นคำตอบที่อาจจะดูกวนๆ     แต่ก็แฝงไปด้วยปรัญชาและสัจจธรรม    ถ้าเลี้ยงแล้วมัวกังวลว่ามันจะตาย  ผู้เขียนว่าอย่างเลี้ยงเลยดีกว่า  แทนที่จะมีความสุขกลับเป็นทุกกังวล  หมดสนุกกัน  ลองรวบรวมข้อดีของการเลี้ยงนกเขาชวาแล้วสรุปได้เป็นข้อๆ  ดังนี้

1. ผ่อนคลายอารมย์ 

ในภาวะที่เศรษฐกิจ  มีปัญหา  ผู้คนมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหารอบด้าน    ธุรกิจที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงกลับมีการเติบโตสวนกระแส  เป็นเพราะว่าคนเราห่างไกลธรรมชาติมากขึ้น จึงโหยหาที่จะหาความสุขและอยู่ใกล้ชิดธรรมชาติมากขึ้น  หนีจากเรื่องจากเครียดๆ   จากภาระกิจการงานที่ต้องรับผิดชอบอยู่ทุกวัน  การได้มานั่งฟังเสียงนกเขาชวาซึ่งเป็นเสียงที่ธรรมชาติรังสรรค์ไว้ให้  กลับทำให้มีอารมย์แจ่มใสสดชื่นขึ้น  มีเรี่ยวแรงที่จะต่อสู้กับภาระต่างๆ  ได้ 

2. มนุษย์สัมพันธ์

การเลี้ยงนกเขาชวาโดยเฉพาะการเลี้ยงเพื่อการแข่งขัน  เป็นกิจกรรมที่มิได้ทำเพียงลำพังคนเดียว  แต่จะมีคนอื่นที่ชื่นชอบนกเขาชวาเหมือนกัน  มาร่วมกันทำกิจกรรม  ไม่ว่าจะเป็นการซ้อม   การแข่งขัน  การมีเวลาพบปะพูดคุยกัน  ทำให้รู้จักกับคนมากขึ้น  และคนเลี้ยงนกเขาชวามีหลายระดับชั้น   ทั้งนักธุรกิจ  พ่อค้า  ข้าราชการ  ลูกจ้างคนกินเงินเดือน  บางครั้งการรู้จักกันในวงนกเขาชวา  ยังเชื่อมโยงไปถึงเรื่องของธุรกิจการงาน  จากความสัมพันธ์เป็นการส่วนตัว  มีส่วนช่วยเหลือเกื้อกูลกันในเรื่องต่างๆ  ทั้งเรื่องหน้าที่การงาน  ธุรกิจ     และเรื่องส่วนตัว  ความมีน้ำใจของคนนกเขา  ช่วยเหลือเกื้อกูลกันมีให้เห็นอยู่เสมอ          

3. เป็นการฝึกนิสัย

การเลี้ยงนกเขาชวาแม้จะไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยาก  แต่ก็ต้องมีวิธีการเลี้ยงที่ถูกวิธี        ต้องฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ   ผู้เลี้ยงต้องมีวินัยในการเลี้ยง   กว่าจะมีนกเขาชวาที่มีความพร้อมสำหรับการแข่งขันต้องใช้เวลา  และความอดทนในการเลี้ยงดู   ฝึกซ้อม  

3.1 ความมีวินัย

ความสม่ำเสมอในการดูแลนกเขาชวาเ ป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง  เนื่องจากการเลี้ยงมีรูปแบบวิธีการ  ถึงแม้ผู้เลี้ยงแต่ละคนจะมีเทคนิคในรายละเอียดที่ต่างกันก็ตาม

เช่น  ต้องนำนกออกตากแดดทุกวัน   ฝึกขึ้นรอกและเอานกลงจารอกตามเวลา

มีการป้อนถั่วเขียวบำรุง  เปลี่ยนอาหารทำความสะอาดกรง  ตามเวลา  ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยฝึกให้ผู้เลียงเป็นคนที่มีความรับผิดชอบ และมีวินัย 

3.2 ช่างสังเกตุ

การเลี้ยงนกเขาชวาที่ถูกต้อง ต้องมีการสังเกตุพฤติกรรมของนก  นกแต่ละนกมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน    ชอบกินอะไร  ไม่ชอบ อะไร    กินอะไรเลี้ยงอย่างไง  แล้วเปิดเสียงดี   อย่างนี้เป็นต้น  ผู้เลี้ยงจะเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับนกมากกว่าผู้อื่นต้องรู้จักสังเกตุนก ของตน  เพื่อประโยชน์ในการแต่งนกให้มีความพร้อมที่สุดสำหรับการแข่งขัน  หรือแม้กระทั่งการจับคู่เพื่อเพาะพันธุ์ 

3.3 มีความอดทน

นกเขาชวาคงจะไม่เหมาะกับคนที่ใจร้อน  เพราะบางทีนกที่ได้มาเป็นนกที่ยังไม่ได้อายุ   ต้องมีการประคบประหงมดูแล  ให้มีพัฒนาการไปตามวัย  หรือแม้แต่นกใหญ่บางนก  ต้องใช้เวลาในการฝึกฝน  กว่าจะเป็นนกที่ดีพร้อม  ต้องมีการปรุงแต่ง  บางคนใจร้อนนกยังไม่ได้อายุทนรอไม่ไหว  มีการเปลี่ยนมือ    คนที่ใจเย็นนำไปเลี้ยงเมื่อถึงเวลา   ได้อายุกลายเป็นนกที่เก่ง  โด่งดังก็มีหลายนก  เจ้าขงเก่าได้แต่เสียดายนกไปดีอยู่ในมือคนอื่นเสียแล้ว




เริ่มต้นอย่างไรดีก่อนเริ่มเลี้ยงนกเขาชวา 

นกเขาชวาเป็นสัตว์ตัวเล็กๆ  ที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างถูกต้อง  ตามธรรมชาติ  มีชีวิตจิตใจ  ต้องการความรักเช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงอื่นๆ    ก่อนที่จะเลี้ยงต้องคำนึงถึงความพร้อมของผู้เลี้ยงก่อนเป็นอันดับแรก  ถามตัวเองก่อนว่าต้องการเลี้ยงนกเขาชวาเพื่ออะไร   มีความพร้อมแค่ไหน  และคุณมีเวลาที่จะดูแลเอาใจใส่เขาอย่างดีหรือไม่   คุณรักนกเขาชวาจริงหรือไม่  โดยเฉพาะองค์ประกอบอันหลัง   หากคุณไม่ได้มีความรักในนกเขาชวาอย่างจริงจัง ในช่วงแรกนกเขาชวาจะทำให้คุณเพลิดเพลินและมีความสุขที่ได้เลี้ยง  ดูแล  แต่เมื่อไรที่คุณเริ่มเบื่อ  คุณอาจจะมองว่ามันเป็นภาระแทนที่จะเป็นความสุข  ที่หยิบยกขึ้นมาก็เพราะไม่อยากให้คนที่คิดจะเลี้ยง  เลี้ยงเพราะเป็นแฟชั่น  หรือเลี้ยงเพราะแค่ความอยาก  เมื่อเบื่อก็ทิ้งไม่ดูแลเอาใจใส   ปล่อยให้อดๆ  อยากๆ  กรงไม่ได้ทำความสะอาด  แดดไม่ได้รับ   เป็นการทรมานมันเปล่าๆ 



 ฉบับนี้โควต้าหน้ากระดาษหมดซะแล้ว  ฉบับหน้าจะนำเรื่องการเตรียมตัวในการเลี้ยงนกเขาชวา

มาฝาก  และอย่าลืม  ดูแลนกเขาชวาของคุณให้ดี   ส่วนผู้เขียนขอเอานกออกไปตากแดด  และพานกไป

ซ้อมรอกที่สนามก่อน  ฟิตไว้เตรียมลุ้นรางวัลอาทิตย์หน้า   แล้วพบกันฉบับหน้านะครับ    

 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น