วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นักอนุรักษ์ชี้เลี้ยง "นกกรงหัวจุก" ทำลายสมดุลธรรมชาติ




จาก การนำเสนอข่าวของทีมข่าวทีวีไทยเมื่อวานนี้ เกี่ยวกับมุมมองของผู้ที่นิยมเลี้ยงนกปรอดหัวโขน หรือ ที่ชาวภาคใต้นิยมเรียกกันว่าน "นกกรงหัวจุก" ว่า การเลี้ยงนกปรอดหัวโขนเป็นวิธีในการอนุรักษ์นกชนิดนี้ แต่ในมุมมองของนักอนุรักษ์มองว่า การนำนกชนิดนี้มาเลี้ยงเป็นการทำลายสมดุลตามธรรมชาติ


ตาม ธรรมชาติแล้วนกปรอดหัวโขนจะกินผลไม้ หนอน และ แมลงเป็นอาหาร พบทั่วไปตามพื้นที่โล่งป่าละเมาะ พื้นที่เกษตรกรรม และบริเวณรอบ ๆ บ้านเรือนใกล้ชุมชนกระจายอยู่ทั่วประเทศ ยกเว้นพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคอีสานเนื่องจากไม่ชอบถิ่นอาศัยที่ค่อนข้างแห้ง แล้ง

ความนิยมในรูปร่างอันสวยงามและเสียงที่ไพเราะทำให้ในภาคใต้นิยม นำนกชนิดนี้มาเลี้ยง และ ประกวดเสียงร้องกันอย่างแพร่หลาย และกลายเป็นที่มาของการซื้อขายนกปรอดหัวโขน แม้ว่าจะอยู่ในบัญชีสัตว์คุ้มครองก็ตามซึ่งตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการ ระบุว่า จังหวัดปัตตานีถือเป็นแหล่งขายนกกรงหัวจุกแหล่งใหญ่ที่สุดแหล่งหนึ่งของไทย แต่ละปีมีการจับนกกรงหัวจุกมาขายนับแสนตัว

และความนิยมที่แพร่หลาย เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้พื้นที่ภาคใต้ไม่สามารถหานกปรอดหัวโขนได้ในธรรมชาติ จึงมีการจับนกจากภาคอื่น ๆ แล้วนำไปขายยังภาคใต้ ทำให้นกปรอดหัวโขนตามธรรมชาติทั่วประเทศจึงลดลงอย่างรวดเร็ว

ตามพระ ราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 กำหนดให้นกปรอดทั้ง 36 ชนิดที่พบในเมืองไทยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทนกที่ผู้ครอบครองต้องมีใบ อนุญาตในการครอบครอง ส่วนการประกวดนกปรอดหัวโขนนั้นต้องปฏิบัติตามประกาศกรมป่าไม้

โดยผู้ ที่จะนำปรอดหัวโขนหรือสัตว์ป่าอื่นๆ เข้าประกวดแข่งขัน หรือ เคลื่อนย้ายนก จะต้องนำเอกสารแจ้งการครอบครอง ซึ่งได้จดแจ้งต่อกรมป่าไม้แล้วภายในเดือนพฤษภาคม 2535 ติดตัวไปด้วยทุกครั้ง และ ผู้ที่นำนกไปเข้าประกวดแข่งขันจะต้องเป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในเอกสาร แต่ไม่อนุญาตให้มีการซื้อ-ขายนกที่ได้แจ้งการครอบครองไว้ ซึ่งผู้ที่ฝ่าฝืนจะมีความผิดตามมาตรา 19 และ มาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และ หมายรวมถึงการห้ามการครอบครอง และ ห้ามค้า ไข่ และ ซากของสัตว์เหล่านั้นด้วย

ซึ่งหากดูจากภาพที่มีผู้จับนกชนิดนี้ไปขาย ที่ละมากๆนั้น จะเห็นได้ว่า พ.ร.บ.ตัวนี้ยังไม่มีการบังคับใช้อย่างจริงจังทำให้นอกจากนกชนิดจะสูญหายไป จากธรรมชาติ เพราะถูกนำไปเลี้ยงในกรงแล้วนกส่วนหนึ่งยังต้องตายระหว่างที่ถูกจับ หรือ ระหว่างการขนย้าย

ส่วนกรณีที่มีการเรียกร้องให้กรมป่าไม้ถอดชื่อนก ปรอดหัวโขนออกจากบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองเพื่อให้สามารถเพาะเลี้ยงได้ง่ายโดย ที่ไม่ต้องอนุญาตจากกรมป่าไม้นั้น กลุ่มผู้อนุรักษ์นกต่างก็มาคัดค้าน โดยให้เหตุผลว่า เป็นการเร่งให้จำนวนนกในธรรมชาติลดลง และ นกชนิดนี้เมื่อปล่อยให้อยู่ตามธรรมชาติก็สามาถขยายพันธุ์ได้ดีโดยไม่จำเป็น ต้องเพาะเลี้ยง นอกจากนี้การเพาะเลี้ยงที่ไม่เคยมีคำยืนยันว่า สามารถเพิ่มจำนวนประชากรนกในธรรมชาติได้ยังอาจส่งผลให้เกิดนกชนิดใหม่ขึ้นมา ทำลายระบบนิเวศตามธรรมชาติ





ที่มา http://www.thaipbs.or.th/

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น