วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กติกาการแข่งขันนกกรงหัวจุก ประเภทเสียงทอง

กติกาการแข่งขันนกกรงหัวจุก ประเภทเสียงทอง
ประเภทเสียงทอง
http://www.ap.mju.ac.th/35y/images/stories/News/bird.jpg


การ แข่งขันประเภทเสียงทอง เป็นการอนุรักษ์เสียงร้อง เพลงที่นกกรงฯร้องออกมา ให้มีมาตราฐานเดียวกัน คือให้เพลงที่ร้องออกมาเป็นสำนวนเพลงของนก หรือเพลงแม่บท เป็นต้น

การแข่งขันประเภทเสียงทอง จะใช้ราวแขวนเป็นคู่ๆ คือคู่ในของราว แขวนเรียงไล่ไปตามจำนวนที่ผู้เข้าร่วมแข่งขันส่งแข่งขัน
เช่น มีนกส่งแข่งขัน 50 นก ก็จะเรียงไปจนถึงเบอร์ 25 แล้วยูเทริ้นกลับจากเบอร์ 26 จนมาถึงหัวราว เบอร์ 50 ก็จะคู่กับเบอร์ 1 พอดี เป็นต้น
การดู และการให้คะแนนของกรรมการนั้น สนามส่วนใหญ่มักจะดูนกครั้งละ 2 นกหรือเป็นคู่ๆ เช่น 1 กับ 2 และ 3 กับ 4
การให้คะแนนจะแบ่งเป็น 2 ช่องคะแนน คือ
ช่องคะแนน เสียง 25 คะแนน
ช่องคะแนน สำนวน 25 คะแนน
รวมเป็น 50 คะแนน
กรรมการก็จะเดินให้คะแนนจนครบทุกนก ในแต่ละคน หลังจากนั้นก็นำคะแนนมารวบรวมคะแนนกันทุกๆกรรมการ
และไล่คะแนนที่ดีที่สุด เป็นลำดับรางวัลที่จะมอบให้....
*** ในกรณีที่คะแนนรวมเท่ากัน ได้ลำดับรางวัลเท่ากัน ก็จะวัดกันที่น้ำเสียงว่านกไหนคะแนนสูงกว่ากัน เพราะการแข่งขันประเภทเสียงทองนั้นต้องมีเสียงนำ ***

ส่วนการแข่งขันประเภทเสียงทองนี้ ในงานใหญ่ๆนั้น เช่นงานแข่งขันถ้วยพระราชทานฯ งานอาเซียน มีนกเข้าร่วมแข่งขันจำนวนมาก

จึงจำเป็นต้องแบ่งออกเป็นล็อคๆ ล็อค A - ล็อค B - ล็อค C(แต่ต้องไม่เกิน 168 นก) แล้วนำคะแนนแสงสุดแต่ละล็อค นำมาชิงชัยอีกครั้งหนึ่ง

เพื่อหานกที่ได้รับรางวัลที่กำหนดต่อไป







การแข่งขันประเภทเสียงทอง กรรมการต้องใช้สมาธิในการฟังเสียงนกแต่ละตัว ที่ฟังแยกน้ำเสียง และสำนวนเพลงในการให้คะแนนแต่ละครั้ง

ในการแข่งขันประเภทเสียงทองนี้จำเป็นต้องมีมารยาทในการแข่งขัน เพื่อที่กรรมการจะให้คะแนนได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น