วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิธีการเลี้ยงนกกรงหัวจุก

วิธีการเลี้ยงนกกรงหัวจุก
8888
    เริ่มตั้งแต่เช้าตรู่ เมื่อเราตื่นนอนตอนเช้า อากาศสดชื่น เย็นสบาย นกก็สดชื่น
     เรา ทำการเปลี่ยนอาหารใหม่ ตามปกติจะประกอบด้วย กล้วยครึ่งผล มะละกอสุก 1 ชิ้น หรือแตงกวา 1 ซีก (สำหรับแตงกวาอาจมีความเสี่ยงอยู่บ้าง เพราะปัจจุบันมีการใช้สารเคมีฝังใต้ดิน เพื่อกำจัดหนอนแมลงกันมาก ยาก็จะดูดซึมเข้าไปอยู่ในผลแตงกวาด้วย เมื่อนกกินเข้าไป อาจทำให้นกตายได้ เรื่องนี้ ผู้เขียนเคยประสบมาแล้ว)
     หลัง จากนั้นเอากรงนกไปแขวนในที่ที่เตรียมเอาไว้ อาจจะเป็นชายคาบ้านหรือกิ่งไม้ที่แข็งแรงพอ นกก็จะเริ่มส่งเสียงร้องออกมา ถ้าเป็นนกที่กำลังคึกคักก็จะร้องตลอดเวลา ไม่หยุด พร้อมทั้งออกลีลาเต็มที่
     ต่อ จากนั้นเมื่อถึงเวลาที่ผู้เลี้ยงต้องออกไปทำงาน ก็ให้เก็บนกไว้ในบ้านในที่ที่ปลอดภัยที่สุด (จากงูเขียว หนู ขโมย) ต้องเป็นที่ที่มีแสงสว่างพอสมควร อย่าให้มืดเกินไป
     สำหรับ ผู้ที่ประกอบธุรกิจส่วนตัวอยู่กับบ้าน มีเวลาเลี้ยงนกมาก ก็ให้จัดเตรียมสนามซ้อมหรือราวเอาไว้เพื่อให้นกได้ตากแดด เป็นการเสริมวิตามินดีจากธรรมชาติ และสร้างความสดชื่นให้กับนก วิธีการตากแดดมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ
     1. นกที่ยังไม่พร้อมจะเข้าแข่งขัน หมายถึง นกใหม่ที่เราที่เพิ่งได้มา ยังไม่คึกคักเท่าที่ควรหรือนกวัยรุ่นที่ยังไม่มีความพร้อม ให้ตากแดดปกติ ไม่ต้อมโหมหนักมากเกินไป เพราะธรรมชาติของนก เมื่อเจอแดดร้อนก็จะเข้าไปแอบในร่มไม้เพื่อพักผ่อน นกกลุ่มนี้ให้ตากแดดช่วงเช้าตรู่ จนถึงประมาณ 09:00 - 10:00 ก็พอเพียง เก็บเข้าที่ร่มให้ห่างกันพอสมควร เพราะนกบางตัวอาจเกิดอาการกลัวนกตัวอื่น จึงไม่กล้าร้อง
     2. นกที่พร้อมจะเข้าแข่งขันหรือแข่งอยู่แล้ว นกกลุ่มนี้ต้องการความพร้อมสูงในการเตรียมตัวเข้าแข่งขัน โดยเฉพาะต้องตากแดด เพื่อให้นกแข็งแรง ทดแดดทนร้อนได้ ปกติจะเริ่มตากประมาณ 09:00 - 13:00 โดยตากไว้ตลอด ไม่มีการยกเข้าพักในที่ร่ม ให้นกได้กระโดดและร้องไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงเวลาเก็บ สถานที่ตากแดดก็เหมือนกัน คือ ต้องแข็งแรง ปลอดภัย และแต่ละตัวแขวนให้ห่างกันพอสมควร อย่าให้ใกล้กันเหมือนตอนแข่งหรือตอนซ้อม เพราะนกจะต่อสู้กันทุกวันจนเบื่อ
     หลัง จากผ่านการตากแดดมาแล้ว เก็บเข้าที่ร่ม ไม่มืดทึบ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก นกก็จะได้พักผ่อนส่วนตัว ไม่ต้องร้อง บางตัวก็จะร้องเล่นๆ เบาๆ เพื่อผ่อนคลายอิริยาบถจนถึงเวลาประมาณ 15:00 - 16:00 ก็ยกนกออกไปแขวนข้างนอก แล้วทำความสะอาดกรงนก โดยการเริ่มล้างถ้วยน้ำ ถ้วยอาหารให้สะอาด จากนั้นจัดการล้างซี่กรงด้านล่าง (ท้องกรง) โดยใช้น้ำฉีดให้ทั่ว ใช้ฟองน้ำหรือแปรงสีฟันขัดให้สะอาด และล้างถาดรองขี้นกให้สะอาดเช่นกัน แล้วหงายขันอาบน้ำ เติมน้ำให้เต็ม นำกรงนกขึ้นแขวนในที่ร่ม นกก็จะลงอาบน้ำเองอย่างสนุกสนาน เปียกทั่วตัว (กรณีที่นกบางตัวไม่ยอมอาบน้ำ ให้ใช้กระบอกฉีดน้ำปรับให้เป็นฝอย ฉีดให้ทั่วตัวบ่อยๆ นกก็จะลงอาบน้ำเอง) เมื่อนกอาบน้ำเสร็จและเริ่มแต่งตัว (โดยการใช้ปากไซ้ขนทั่วตัวเพื่อทำความสะอาดและให้ขนแห้ง) เราก็คว่ำขัน และยกกรงนกไปตากแดดอ่อนๆ เพื่อ
     - ทำให้ขนนกแห้ง เป็นการสร้างความสวยงามให้นก เพราะขนนกจะฟูสวยงาม และนกจะไม่คันในขณะทำการแข่งขัน
     - ทำให้กรงนกแห้ง เป็นการยืดอายุการใช้งานของกรงนกออกไปอีก เพราะเมื่อกรงเปียก ไม้ก็จะพอง ข้อต่อต่างๆ ก็จะหลวมและเผยอออก ซี่กรงก็อาจขึ้นราได้

 4444
     วิธีการเลี้ยงนกกรงหัวจุกที่อายุมาก (มากกว่า 10 ปีขึ้นไป) ต้องใช้วิธีการที่พิเศษออกไปกว่าการเลี้ยงนกหนุ่มทั่วๆ ไป คือ ต้องทำกรงพักขนาดใหญ่พอสมควร กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร สูง 1.50 เมตร โดยใช้ลวดตาข่ายล้อมเป็นกรงสี่เหลี่ยมหรือทรงกลมก็ได้ วางลงให้ติดกับพื้นดิน มีกิ่งไม้แห้งให้เกาะได้สะดวก ถ้วยน้ำ ถ้วยอาหาร ถ้วยน้ำอาบ พร้อมตลอดเวลา มีหลังคากันฝนเล็กน้อย จากนั้นก็ปล่อยนกที่อายุมากเข้าไป ให้นกได้บินมาอย่างสบาย นกก็จะสดชื่น แข็งแรงขึ้น เมื่อนกสมบูรณ์พร้อมทั้งกาย - ใจ เราก็สามารถเอานกตัวนั้นไปเข้าแข่งขันได้อีกครั้งหนึ่ง
     วิธีการเลี้ยงนกที่อ้วนเกินไป ปกตินกกรงหัวจุกธรรมชาติจะมีรูปร่างปราดเปรียว คล่องแคล่ว เมื่อนำมาเลี้ยงในกรง ผู้เลี้ยงให้กินอาหารอย่างเต็มที่ เพื่อให้นกสมบูรณ์ แข็งแรง และมักจะให้กินอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดด้วย นกก็จะกินจนอิ่ม แต่ได้ออกกำลังกายน้อยมาก เพราะต้องอยู่ในกรงแคบๆ ทำให้นกอ้วน ขี้เกียจกระโดด ขี้เกียจร้อง ไม่ประสบผลสำเร็จในการแข่งขัน เพราะนกอ้วนเกินไป เราจึงต้องทำการลดความอ้วนโดย
     - ให้กินกล้วยน้ำว้าน้อยลง
     - งดอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดและผงเด็ดขาด
     - ให้กินมะละกอ ลูกตำลึงสุก หรือแตงกวาผ่าซีกทุกวัน เพื่อให้นกถ่ายได้สะดวก
     - ตากแดดนกทุกวัน โดยค่อยๆ เพิ่มระยะเวลาการตากให้นานขึ้นเรื่อยๆ
     ใช้วิธีการนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่านกจะผอมลงและเข้าสู่สภาพปกติ นกก็จะคึกคักและมีลีลากระโดดโลดเต้นสวยงามเหมือนเดิม
 
 
นกปรอดหัวโขน หรือที่คนเลี้ยงนกส่วนใหญ่รู้จักกันในนามนกกรงหัวจุก ที่เก็บภาพมาจากเขาใหญ่ เป็นนกที่ทำให้นึกถึงคนๆหนึ่งขึ้นมาทุกครั้งที่ได้เจอ จนกระทั่งในก๊วนดูนกด้วยกัน เรียกชื่อ "คนที่คุณก็รู้ว่าใคร" แทนเวลาเจอนกตัวนี้ เช่นเดียวกับที่เราเรียก "ตึ๋ง" แทนนกปรอดเหลืองหัวจุก แบบนั่นเลยครับ แต่ต่างกันอยู่ว่า ทุกครั้งที่เจอ "ตึ๋ง" เราจะเรียกชื่อด้วยความขำๆ แต่ถ้าได้เจอนกปรอดหัวโขน เราจะเรียกชื่อที่ใช้แทนนกตัวนี้ด้วยความเคารพครับ
 
                                                                   


                                                                                                                                                          
วิธีการเลี้ยงนกกรงหัวจุก
     เริ่มตั้งแต่เช้าตรู่ เมื่อเราตื่นนอนตอนเช้า อากาศสดชื่น เย็นสบาย นกก็สดชื่น
     เรา ทำการเปลี่ยนอาหารใหม่ ตามปกติจะประกอบด้วย กล้วยครึ่งผล มะละกอสุก 1 ชิ้น หรือแตงกวา 1 ซีก (สำหรับแตงกวาอาจมีความเสี่ยงอยู่บ้าง เพราะปัจจุบันมีการใช้สารเคมีฝังใต้ดิน เพื่อกำจัดหนอนแมลงกันมาก ยาก็จะดูดซึมเข้าไปอยู่ในผลแตงกวาด้วย เมื่อนกกินเข้าไป อาจทำให้นกตายได้ เรื่องนี้ ผู้เขียนเคยประสบมาแล้ว)
     หลัง จากนั้นเอากรงนกไปแขวนในที่ที่เตรียมเอาไว้ อาจจะเป็นชายคาบ้านหรือกิ่งไม้ที่แข็งแรงพอ นกก็จะเริ่มส่งเสียงร้องออกมา ถ้าเป็นนกที่กำลังคึกคักก็จะร้องตลอดเวลา ไม่หยุด พร้อมทั้งออกลีลาเต็มที่
     ต่อ จากนั้นเมื่อถึงเวลาที่ผู้เลี้ยงต้องออกไปทำงาน ก็ให้เก็บนกไว้ในบ้านในที่ที่ปลอดภัยที่สุด (จากงูเขียว หนู ขโมย) ต้องเป็นที่ที่มีแสงสว่างพอสมควร อย่าให้มืดเกินไป
     สำหรับ ผู้ที่ประกอบธุรกิจส่วนตัวอยู่กับบ้าน มีเวลาเลี้ยงนกมาก ก็ให้จัดเตรียมสนามซ้อมหรือราวเอาไว้เพื่อให้นกได้ตากแดด เป็นการเสริมวิตามินดีจากธรรมชาติ และสร้างความสดชื่นให้กับนก วิธีการตากแดดมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ
     1. นกที่ยังไม่พร้อมจะเข้าแข่งขัน หมายถึง นกใหม่ที่เราที่เพิ่งได้มา ยังไม่คึกคักเท่าที่ควรหรือนกวัยรุ่นที่ยังไม่มีความพร้อม ให้ตากแดดปกติ ไม่ต้อมโหมหนักมากเกินไป เพราะธรรมชาติของนก เมื่อเจอแดดร้อนก็จะเข้าไปแอบในร่มไม้เพื่อพักผ่อน นกกลุ่มนี้ให้ตากแดดช่วงเช้าตรู่ จนถึงประมาณ 09:00 - 10:00 ก็พอเพียง เก็บเข้าที่ร่มให้ห่างกันพอสมควร เพราะนกบางตัวอาจเกิดอาการกลัวนกตัวอื่น จึงไม่กล้าร้อง
     2. นกที่พร้อมจะเข้าแข่งขันหรือแข่งอยู่แล้ว นกกลุ่มนี้ต้องการความพร้อมสูงในการเตรียมตัวเข้าแข่งขัน โดยเฉพาะต้องตากแดด เพื่อให้นกแข็งแรง ทดแดดทนร้อนได้ ปกติจะเริ่มตากประมาณ 09:00 - 13:00 โดยตากไว้ตลอด ไม่มีการยกเข้าพักในที่ร่ม ให้นกได้กระโดดและร้องไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงเวลาเก็บ สถานที่ตากแดดก็เหมือนกัน คือ ต้องแข็งแรง ปลอดภัย และแต่ละตัวแขวนให้ห่างกันพอสมควร อย่าให้ใกล้กันเหมือนตอนแข่งหรือตอนซ้อม เพราะนกจะต่อสู้กันทุกวันจนเบื่อ
     หลัง จากผ่านการตากแดดมาแล้ว เก็บเข้าที่ร่ม ไม่มืดทึบ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก นกก็จะได้พักผ่อนส่วนตัว ไม่ต้องร้อง บางตัวก็จะร้องเล่นๆ เบาๆ เพื่อผ่อนคลายอิริยาบถจนถึงเวลาประมาณ 15:00 - 16:00 ก็ยกนกออกไปแขวนข้างนอก แล้วทำความสะอาดกรงนก โดยการเริ่มล้างถ้วยน้ำ ถ้วยอาหารให้สะอาด จากนั้นจัดการล้างซี่กรงด้านล่าง (ท้องกรง) โดยใช้น้ำฉีดให้ทั่ว ใช้ฟองน้ำหรือแปรงสีฟันขัดให้สะอาด และล้างถาดรองขี้นกให้สะอาดเช่นกัน แล้วหงายขันอาบน้ำ เติมน้ำให้เต็ม นำกรงนกขึ้นแขวนในที่ร่ม นกก็จะลงอาบน้ำเองอย่างสนุกสนาน เปียกทั่วตัว (กรณีที่นกบางตัวไม่ยอมอาบน้ำ ให้ใช้กระบอกฉีดน้ำปรับให้เป็นฝอย ฉีดให้ทั่วตัวบ่อยๆ นกก็จะลงอาบน้ำเอง) เมื่อนกอาบน้ำเสร็จและเริ่มแต่งตัว (โดยการใช้ปากไซ้ขนทั่วตัวเพื่อทำความสะอาดและให้ขนแห้ง) เราก็คว่ำขัน และยกกรงนกไปตากแดดอ่อนๆ เพื่อ
     - ทำให้ขนนกแห้ง เป็นการสร้างความสวยงามให้นก เพราะขนนกจะฟูสวยงาม และนกจะไม่คันในขณะทำการแข่งขัน
     - ทำให้กรงนกแห้ง เป็นการยืดอายุการใช้งานของกรงนกออกไปอีก เพราะเมื่อกรงเปียก ไม้ก็จะพอง ข้อต่อต่างๆ ก็จะหลวมและเผยอออก ซี่กรงก็อาจขึ้นราได้
 
 
 
 วิธีการเลี้ยงนกกรงหัวจุกที่อายุมาก (มากกว่า 10 ปีขึ้นไป) ต้องใช้วิธีการที่พิเศษออกไปกว่าการเลี้ยงนกหนุ่มทั่วๆ ไป คือ ต้องทำกรงพักขนาดใหญ่พอสมควร กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร สูง 1.50 เมตร โดยใช้ลวดตาข่ายล้อมเป็นกรงสี่เหลี่ยมหรือทรงกลมก็ได้ วางลงให้ติดกับพื้นดิน มีกิ่งไม้แห้งให้เกาะได้สะดวก ถ้วยน้ำ ถ้วยอาหาร ถ้วยน้ำอาบ พร้อมตลอดเวลา มีหลังคากันฝนเล็กน้อย จากนั้นก็ปล่อยนกที่อายุมากเข้าไป ให้นกได้บินมาอย่างสบาย นกก็จะสดชื่น แข็งแรงขึ้น เมื่อนกสมบูรณ์พร้อมทั้งกาย - ใจ เราก็สามารถเอานกตัวนั้นไปเข้าแข่งขันได้อีกครั้งหนึ่ง
     วิธีการเลี้ยงนกที่อ้วนเกินไป ปกตินกกรงหัวจุกธรรมชาติจะมีรูปร่างปราดเปรียว คล่องแคล่ว เมื่อนำมาเลี้ยงในกรง ผู้เลี้ยงให้กินอาหารอย่างเต็มที่ เพื่อให้นกสมบูรณ์ แข็งแรง และมักจะให้กินอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดด้วย นกก็จะกินจนอิ่ม แต่ได้ออกกำลังกายน้อยมาก เพราะต้องอยู่ในกรงแคบๆ ทำให้นกอ้วน ขี้เกียจกระโดด ขี้เกียจร้อง ไม่ประสบผลสำเร็จในการแข่งขัน เพราะนกอ้วนเกินไป เราจึงต้องทำการลดความอ้วนโดย
     - ให้กินกล้วยน้ำว้าน้อยลง
     - งดอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดและผงเด็ดขาด
     - ให้กินมะละกอ ลูกตำลึงสุก หรือแตงกวาผ่าซีกทุกวัน เพื่อให้นกถ่ายได้สะดวก
     - ตากแดดนกทุกวัน โดยค่อยๆ เพิ่มระยะเวลาการตากให้นานขึ้นเรื่อยๆ
     ใช้วิธีการนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่านกจะผอมลงและเข้าสู่สภาพปกติ นกก็จะคึกคักและมีลีลากระโดดโลดเต้นสวยงามเหมือนเดิม

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น