วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กฏหมายเกี่ยวกับนก





ภาพประกอบจาก http://www.siamtrends.com



การแข่งขันนกกรงหัวจุก

ปัจจุบันการแข่งขันนกกรงหัวจุกมี 2 รูปแบบคือ แบบสากล กับ แบบทั่วไปหรือแบบสี่ยก



การแข่งขันแบบสากล

การ แข่งขันแบบสากลส่วนใหญ่จะเน้นที่ความงดงามสมส่วนหรือมีลีลาสง่างามหรือไม่ และสำนวนเพลงร้องของแต่ละตัวดีหรือไม่อีกทั้งการแข่งขันแต่ละครั้งจะไม่ จำกัดยกแต่จะใช้จำนวนนกที่เข้าร่วมเป็นเกณฑ์ การแข่งขันจะใช้กรรมการ 3 คนต่อชุด ทำหน้าที่คัดเลือกนกออกให้เหลือเท่าจำนวนรางวัลที่จัดเอาไว้ กรรมการทั้ง 3 คนจะยึดกฎกติกาอันเดียวกัน โดยจะเดินวนรอบๆ ราวแขวนนกระยะพอประมาณ กรรมการ 1 คนจะสังเกต 6-9 ตัว รอบแรกจะคัดเอานกตัวที่ไม่ร้องหรืออยู่นิ่งๆ ขนพองฟูออก เพราะแสดงว่าไม่มีใจสู้ ไม่มีปฏิกิริยาอะไรกับนกตัวที่อยู่รอบๆ ข้างเลย กรรมการก็จะจดหมายเลขนกตัวนั้นเอาไว้ ถ้านกตัวใดถูกกรรมการ 2-3 คนจดหมายเลยซ้ำกันถือว่าตกรอบ นกที่เหลือจะถูกยุบเข้าไปอยู่บนราวเดียวกัน เมื่อเหลือจำนวนน้อยลงไปเรื่อยๆ จะสังเกตว่ายกที่ 1-3 นั้นนกที่ตกรอบเป็นนกที่ไม่ร้องไม่โชว์ลีลาอะไร

ยก 4 กรรมการจะเน้นไปที่เสียงร้องเป็นพิเศษ นกที่ผ่านยก 1-3 มาได้ แต่ถ้าไม่มีเสียงร้องในยกที่ 4 แม้จะมีลีลาดีเพียงใดก็ต้องตกรอบไปเพราะก่อนเข้ารอบรองชนะเลิศกรรมการจะ พิจารณาเสียงเป็นหลัก พอคัดเลือกนกเหลือเท่ารางวัลกรรมการจะหยุดพัก 5 นาที ให้เวลาเจ้าของนกหรือพี่เลี้ยงทำนกให้สดชื่นตื่นตัวและคึกคักพร้อมเข้าแข่ง รอบชิงชนะเลิศ ในช่วงเวลา 5 นาทีนี้ สิ่งที่เจ้าของนกส่วนมากจะทำกันคือป้อนอาหารจำพวกเรียกพลังเช่นตักแตนหนอน ให้นกอิ่มมีพลังร้องอย่างเต็มที่ในยกต่อไป และนำอาหารนกที่เหลือในกรงออกเพื่อให้สนใจร้องอย่างเดียวไม่มัวกินอาหาร พร้อมทั้งเปลี่ยนน้ำให้นกใหม่เพราะน้ำใช้มาตั้งแต่เช้าสกปรกและร้อนเกินไป หรืออาจจะมีวิธีอื่นอีกก็แล้วแต่เจ้าของ

รอบชิงชนะเลิศกรรมการแต่ละ คนจะใช้วิธีเดินรอบสนามหรือราวนกเพื่อให้คะแนน หลายๆ รอบจนครบหมดทุกตัว ในการตัดสินรอบแรกจะดูนกที่ร้องก่อนตัวอื่นๆ โดยเดินวนตามหลังกันเว้นระยะห่างพอประมาณไปในทิศทางเดียวกัน ใช้ระยะเวลาในการเดินให้คะแนนคนละเท่าๆ กันคือ 1 นาทีต่อ 1 ล๊อก ดูนกประมาณ 3 ตัว เมื่อพบนกตัวใดร้องก็จะจัดการให้คะแนนตามแบบฟอร์มโดยจะดูลักษณะการ ร้อง(เสียงร้อง) และลีลาการร้องประกอบกัน ส่วนนกที่ไม่ร้องในการเดินรอบแรก กรรมการก็จะยังไม่ให้คะแนน แต่ในรอบที่ 2 กรรมการจะต้องให้คะแนนนกให้ครบทุกตัวแม้ว่าจะไม่ร้องก็ตาม เมื่อกรรมการแต่ละท่านตัดสินนกจนครบทุกตัวก็ถือว่าเป็นการสิ้นสุดการให้ คะแนน และสรุปผลการตัดสินต่อไป



การแข่งแบบ 4 ยก

การ แข่งขันแบบนี้ถือกำเนิดขึ้นในแถบจังหวัดชายแดนไทยมาเลเชีย ก่อนจะเริ่มเป็นที่นิยิมขึ้นมาทางภาคใต้ตอนล่าง และแพร่กระจายออกไปเรื่อยๆ จนเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป

การแข่งขันนกกรงหัวจุกประเภทนี้นิยมแข่ง การแข่งขันออกเป็น 5 ยก ให้ใช้ยกที่ 1-4 ในการคัดเลือกนกออก และในยกที่ 5 คือยกสุดท้ายเป็นช่วงเวลาในการชิงความเป็นหนึ่งในสนามแข่ง กรรมการที่ใช้ในการแข่งขันจะมีทั้งหมด 4 คน โดยมีการจัดแบ่งหน้าที่กัน โดย 2 คนทำหน้าที่ดูว่านกตัวใดร้องหรือไม่ร้องบ้าง อีก 1 คนจะคอยให้คะแนนที่ร้อง โดยถ้านกร้อง 3 พยางค์ขึ้นไปให้ 5 คะแนน ไม่ร้องให้ 4 คะแนน

ในสนาม หนึ่งๆ จะแบ่งล๊อคเป็น 2 ล๊อค กรรมการจะมี 2ชุด เริ่มเดินวนจากซ้ายสุดและขวาสุดเข้าหากัน เมื่อให้คะแนนล๊อคของตนเสร็จก็จะเปลี่ยนไปให้คะแนนในล๊อคถัดไป กรรมการแต่ละท่านจะใช้เวลาเพียง 1 นาที ในการให้คะแนนนกในล๊อคตรงหน้าของตน เมื่อครบ 1 นาที จะมีสัญญาณนกหวีดดังขึ้น การให้คะแนนวิธีนี้จึงได้รับการยกย่องว่ามีมาตรฐาน ส่วนหลักการให้คะแนนก็มีต่อไปนี้

1. นกที่ร้อง 3 พยางค์ขึ้นไปให้ 5 คะแนน ส่วนนกที่ไม่ร้องหรือร้องไม่ถึง 3 พยางค์ให้ 4 คะแนน

2. นกที่จิกกรรมการ จะให้ 6 คะแนน

3. ลีลาดี รูปร่างดี ไม่มีคะแนนให้


เมื่อ กรรมการแต่ละท่านให้คะแนนนกทุกตัวครบแล้วก็จะติดผลคะแนนบนบอร์ด ให้เจ้าของนกทราบ นกตัวใดได้ไม่ถึง 20 คะแนน ถือว่าตกรอบไปตามระเบียบ


ใน รอบชิงชนะเลิศกรรมการแต่ละคนจะดูเฉพาะนก 2 ตัว ตรงหน้าของตนเท่านั้น โดยใช้เวลา 1 นาทีเท่าเดิม ในการพิจารณาให้คะแนนเสียงร้อง การนับดอกโดยหนึ่งดอกก็นับตั้งแต่ 3 พยางค์ขึ้นไป เมื่อสิ้นสุด 1 นาที จะมีสัญญานนกหวีดดังขึ้นเหมือนเดิม จนกระทั่งสิ้นสุดการให้คะแนนของกรรมการแต่ละท่านพร้อมๆ กัน ในการสรุปคะแนนรอบชิงกรรมการนิยมนับคอกว่านกตัวใดจะมีคะแนนเยอะกว่า หรือถ้าหากตัวใดจิกต่อหน้ากรรมการก็จะตัดสินให้นกตัวนั้นชนะไปเลย แต่ก็ต้องมีการนับดอกไปจนกว่าจะหมดเวลาเพื่อไม่ให้มีการเสมอกัน ในกรณีที่มีนกจิกใส่หน้ากรรมการมากกว่า 1 ตัว กรรมการจะตัดสินโดยการนับดอกใส่เข้าไปด้วย ซึ่งการแข่งขันนกแบบ 4 ยก นี้จะไม่ค่อยเน้นในเรื่องของความสวยงามแต่จะเน้นไปในการลองน้ำเสียงเพลงร้อง มากกว่า

นอกจากนี้ยัง มีการประกวดประชันหรือโชว์กรงด้วย ว่ารูปทรงของกรงนกที่นำมาเข้าประกวดสวยงามมีลวดลาย หรือมีรูปร่างที่แปลกตา และมีราคาแพงอย่างไร

โดยนกกรงหัวจุกที่มีสุขภาพดีก็จะร้องได้ทั้งวัน ยกเว้นนกที่ป่วย แต่การจะร้องได้เป็นเพลงสั้นหรือยาวได้อย่างไรนั้น ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน อาทิ การฝึกสอน และอารมณ์ของนก นกกรงหัวจุกตัวผู้จะร้องได้เป็นเพลงยาวๆ นกกรงหัวจุกตัวเมียจะร้องได้ไม่เป็นเพลง ร้องได้เป็นคำสั้นๆ ในเวลาที่นกกรงหัวจุกร้อง จะมีลักษณะดังนี้คือ ปากจะอ้าเต็มที่ ขนคอสีขาวจะพองออกมาดูสวยงาม ขาที่จับคอนเกาะจะเหยียด ลำตัวจะตั้ง หางจะสั่นและกระดกเข้าหาคอนที่เกาะ เหล่านี้เป็นต้น




กฏหมายเกี่ยวกับนก

ตามพระ ราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 กำหนดให้นกปรอดทั้ง 36 ชนิด ที่พบในเมืองไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทนกที่ผู้ครอบครองต้องมีใบอนุญาตในการครอบครอง ส่วนการประกวดนกปรอดหัวโขนนั้นต้องปฏิบัติตามประกาศกรมป่าไม้ เรื่องการประกวดแข่งขันนกปรอดหัวโขน ลงวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 โดยอธิบดีกรมป่าไม้ที่ระบุว่า

"ผู้ใดจะ นำสัตว์ป่าคุ้มครอง ชนิดนกปรอดหัวโขน หรือสัตว์ป่าอื่นๆ เข้าประกวดแข่งขัน จะต้องนำเอกสารการแจ้งการครอบครองตามมาตรา 66 หรือ 67 ซึ่งได้จดแจ้งต่อกรมป่าไม้แล้วภายในเดือนพฤษภาคม 2535 และต้องนำเอกสารดังกล่าวติดตัวสัตว์ป่าไปด้วยทุกครั้ง และผู้ที่นำสัตว์ป่าไปเข้าประกวดแข่งขันจะต้องเป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในเอกสาร ดังกล่าวข้างต้น หรือผู้เข้าประกวดนำสัตว์ป่าคุ้มครองอื่นไปแข่งขัน หรือมีการตกลงกันซื้อขายสัตว์ป่าคุ้มครองภายในสถานที่ประกวด จะมีความผิดตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือทั้งจำทั้งปรับไม่เกินสี่ปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

เสน่ห์ของการเลี้ยงนกหัวจุก

ถ้า จะถามแต่ละคนว่า ทำอะไรถึงจะมีความสุขที่สุด แน่นอน ทุกๆ คนก็จะตอบไม่เหมือนกัน เพราะต่างจิตต่างใจกัน ความชอบก็จะไม่เหมือนกัน ผู้เขียนเองมีทีมงานกลุ่มอนุรักษ์นกกรงหัวจุกฟ้าตรัง ซึ่งตั้งขึ้นตามเจตนารมณ์ของผู้รักนกกรงหัวจุกหลายๆ ท่าน ทั้งนี้ยังรวมถึงผู้รักนกกรงหัวจุก ทั้งหลายทั่วประเทศ ซึ่งมีความรักและชื่นชมในองค์ประกอบต่างๆ ของนกกรงหัวจุก อันประกอบด้วย ความงดงามในรูปร่างลีลา เนื่องจากนกกรงหัวจุกเป็นนกขนาดเล็กที่คล่องแคล่ว ปราดเปรียว มีสีสันสวยงาม สำนวนเพลงร้อง ถ้าฟังกันให้ดี แต่ละเพลงที่นกร้องออกมา จะไม่ค่อยซ้ำกัน หมุนเวียนกันไป ทำให้ฟังไม่เบื่อ ยิ่งเมื่อนกอยู่ในกรงที่สวยงาม และกระโดดโลดเต้นไปตามลีลาอันเป็นธรรมชาติ ก็จะยิ่งน่าดู เป็นการสร้างความประทับใจและสบายใจให้กับเจ้าของอย่างมาก ได้พักผ่อน พบปะเพื่อนฝูงในวันหยุดสุดสัปดาห์ เป็นการผ่อนคลายความเครียดที่ดี อีกวิธีหนึ่ง

ยิ่งถ้ามีการแข่งขัน และนกของเราได้รับรางวัลด้วย ก็จะนำมาซึ่งความภาคภูมิใจ ทั้งนี้ยังรวมถึงแม่บ้านและลูกๆ ด้วย เพราะปัจจุบันทางภาคใต้นิยมจัดรางวัลเป็นของใช้ เช่น ตู้เย็น โทรทัศน์สี หม้อหุงข้าวไฟฟ้า พัดลม รถจักรยาน และของใช้อื่นๆ อีกมากมาย ถ้าเจ้าของนกได้รางวัลเหล่านี้กลับบ้าน ก็จะเป็นการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัวอีกด้วย

สร้างความ ภูมิใจ ในลักษณะที่เราสามารถเพาะพันธุ์ได้ เองภายในบริเวณบ้าน ข้อนี้สำคัญมาก เนื่องจากบัจจุบัน หลายๆ ท่านพยายามจะช่วยกันขยายพันธุ์นกให้มีจำนวนมากขึ้น ถ้าเราทำได้สำเร็จ ก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้อนุรักษ์นกกรงหัวจุกได้สำเร็จอย่างแท้จริง ประกอบเป็นอาชีพ ท่านที่สนใจสามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับนกได้ไม่ยาก เช่น - เพาะพันธุ์ลูกนกขาย - ขายอุปกรณ์เลี้ยงนก เช่น อาหารนก ผ้าคลุมกรง ถ้วยน้ำ และอื่นๆ - ทำกรงนกขาย สำหรับท่านที่มีฝีมือ ก็สามารถทำกรงนกขายได้ ทำให้มีเงินเก็บเป็นกอบเป็นกำโดยไม่ยากเลย เพราะปัจจุบันสะดวกกว่าสมัยก่อนมาก เนื่องจากมีชิ้นส่วน ในการทำกรงขายทุกอย่าง เราสามารถนำมาประกอบเป็นกรงแข่งขันขายได้เลย ในลักษณะโชคลาภ

มีผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุกจำนวนไม่น้อยเลย ที่ได้นกมาแล้วเลี้ยงดูอย่างดี ไม่ยอมขายหรือให้ใครไปเลย เนื่องจากเป็นการถือโชคลาง ผู้เขียนเคยคุยกับเจ้าของนกผู้มีอันจะกินหลายๆ ท่าน ถึงความเชื่อในตัวนก โดยเฉพาะนกที่มีลักษณะพิเศษกว่าตัวอื่นๆ เช่น หัวมีสีขาว ขนสีขาวทั้งตัวหรือขาวเพียงบางส่วน เจ้าของนกบอกว่า ตั้งแต่ได้นกมา ปรากฎว่ากิจการต่างๆ ที่ทำอยู่ประสบผลสำเร็จอย่างดี มีกำไรมากขึ้น ก็เลยสั่งทำกรงไม้ฝังมุกอย่างดีราคาหลายหมื่นให้นกอยู่ได้ อย่างสบาย ตอนนี้ฐานะก็ดีขึ้นเรื่อยๆ เคยมีคนมาขอซื้อเท่าไรก็ไม่ยอมขาย ซึ่งก็เป็นความเชื่อและแนวความคิดของแต่ละท่าน เรื่องนี้ต้องให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณาและใช้หลักการเหตุผลคิดเอาเองตามความ น่าจะเป็นก็แล้วกัน



ลักษณะนกที่ถือว่าเป็นที่สุดของนกกรงหัวจุก


1. โครงสร้างส่วนหัวใหญ่ ใบหน้าใหญ่ สันปากบนและล้างใหญ่

2. ฐานจุกแน่น เต็ม ขนจุกสั้นชี้ขึ้นข้างบน ราบปลายแหลมโค้งงอไปข้างหน้าเล็กน้อย จุก แข็ง ไม่ลู่ไปข้างหน้า

3. ดวงตากลมใส ดุ (นัยน์ตาคมเหมือนตาเหยี่ยว)

4. หูแดง มีขนสีแดงขึ้นเป็นกระจุกใหญ่ เต็ม

5. ขนที่คอสีขาว ฟูสวยงาม

6. หมึกดำ หรือสร้อยคอดำหรือสร้อยพระศอ หรือสร้อยสังวาล เป็นแถบดำชัดเจน ทอดยาวตั้งแต่ต้นคอจรดหน้าอก

7. หน้าอกใหญ่ สำตัวยาวเป็นรูปปลีกล้วย ]

8. ขนปีกทั้งสองข้างครบทุกชี่ ขณะยืนร้อง ปลายปีกทั้งสองข้างต้องยาวเลยบัวแดงลงไป

9. มีนิ้วเท้าสองข้างครบถ้วนข้างละ 4 นิ้ว

10. บัวแดงใต้โคนหางด้านในสี่แดงสด นูนใหญ่ ฟูปิดโคนหางสนิท

11. ขนหางเต็มจำนวน 12 ชี่ (ขนดำตลอด 4 ซี่ ขนดำปลายขนขาว 8 ซี่) จะขึ้นคู่ กัน 6 คู่ และต้องซ้อนกันเป็นมันสวยงาม ปลายหางไม่แตก หางสั้นกว่าช่วงลำตัว

12. ขณะยืนร้อง ขาทั้งสองข้างจะต้องเหยียดสุดข้อ ตัวตรง ปลายหางกดเข้าใต้คอนเปล่า เสียงร้องเต็มที่

13. ลักษณะโดยรวม ขนนกต้องเรียบเป็นมัน ไม่มีรอยของการทำร้ายตัวเอง เช่น จิกปีก จิกหาง หรือจิกขา

14. นกที่สมบูรณ์ ขณะยืนร้อง ขนปุยที่หน้าอกจะฟูปิดทับหัวปีกทั้งสองข้างดูสวยงามมาก

15. ต้องมีน้ำเสียงดี อาจจะจัดเป็นเสียงกลางเต็มหรือเสียงใหญ่

16. สำนวนเพลงร้องต้องเข้าลักษณะ เพลงร้องหลัก ๆ ต้องมีตั้งแต่ 5 - 9 พยางค์ ไม่มีเพลงเสีย



ตารางการให้อาหาร ของนกกรงหัวจุก หมุนเวียนทุกวัน


จันทร์ /กล้วยน้ำว้า(จะให้คุณค่าทางอาหารเช่นวิตามินต่างๆ)

อังคาร /มะละกอ(ช่วยในการขับถ่ายดี)

พุธ /ส้มเขียวหวาน(ช่วยทำให้แก้หวัด+เสียงจะสดใส่ดี)

พฤหัสบดี /แตงกวา(ต้องล้างให้สอาดด้วยนะครับ)

ศุกร์ /บวบ (สำคัญมากเพราะมีเส้นใยช่วยในการขับถ่ายของเสียจากตัวนก)

เสาร์ /ข้าวคุกแกงส้ม(ในส่วนผสมของพริกแกงสมจะมีสมุนไพรหลายอย่าง)

อาทิตย์ /กล้วยน้ำว้า(จะให้คุณค่าทางอาหารเช่นวิตามินต่างๆ)

การให้อาหารของคนเลี้ยงนกแต่ละท่านอาจจะไม่เหมือนกันนะครับอาจจะต่างคนต่างความคิด แล้วท่านใดหมุนเวียนให้อาหารอะไรบ้าง



ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.nokkronghuajuck.com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น