ครบเครื่องเรื่องนกกรงหัวจุก
ตำนานนกกรงหัวจุก
นกกรงหัวจุก ที่เราๆ ท่านๆ นำมาแข่งขันประชันเสียงกันนั้น มีตำนานเล่าสืบต่อกันมา และมีหนังสือบางเล่มได้เขียนเอาไว้ว่าชนชาติแรกที่นำนกปรอดหัวจุกมาเลี้ยง คือ ชาวจีน เมื่อประมาณ พ.ศ.2410 คนจีนได้นำนกปรอดหัวจุกมาเลี้ยงแทนนกโรบิ้น ที่คนจีนส่วนใหญ่นิยมนำมาใส่กรงพาเดินตามถนนหรือนั่งร้านกาแฟ หรือไปหาเพื่อนๆ ที่รู้ใจและเลี้ยงนกเหมือนกัน และเจ้านกโรบิน มักจะเป็นนกที่ตกใจง่ายและตื่นคน บางครั้งตำใจมากจนถึงขั้นช็อคตายคากรง ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้ชาวจีนหันมาเลี้ยงนกปรอดหัวจุกหรือนกหัวจุกกันอย่าง แพร่หลาย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
นกกรงหัวจุกเป็นที่นิยมของคน ภาคใต้ มายาวนาน โดยได้รับอิทธิพลมาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย โดยจะมีการนำนกกรงหัวจุกมาแข่งขันประชันเสียงเพลงซึ่งดูที่ลีลาการร้องของ สำนวนเสียงในนกแต่ละตัวว่าใครจะเหนือกว่ากัน แต่ในสมัยก่อนของภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดสตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส กระบี่ นครศรีธรรมราช นิยมนำนกกรงหัวจุกมาชนกันหรือตีกันเหมือนกับการชนไก่ คือเอานกมาเทียบขนาดให้ใกล้เคียงกันแล้วจับใส่กรงกลางที่มีขนาดใหญ่แล้ว ปล่อยให้นกทั้งสองตัวไล่จิกตีกันภายในกรงจนกว่าจะรู้แพ้รู้ชนะ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่านกปรอดหัวจุก มีนิสัยดุร้ายและชอบไล่จิกและตีกันตามธรรมชาติอยู่แล้ว
รู้จักกับนกกรงหัวจุก
นก กรงหัวจุกมีถิ่นอาศัยอยู่ในแถบประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น จะกระจายพันธุ์อยู่ทางตอนใต้ของทวีปเอเซีย โดยพบได้ตั้งแต่ประเทศอินเดีย บังคลาเทศ พม่า ไทย และอิน โดจีน และเนื่องด้วยนกชนิดนี้เป็นนกที่มีสีสวยงามและเสียงไพเราะ จึงมีผู้นำไปเลี้ยงในเคหะสถานบ้านช่อง อีกทั้งยังเป็นนกที่มีการคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 17 ให้เป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้
ถิ่นอาศัยของนกชนิดนี้ใน ประเทศไทยจะพบอาศัยอยู่ตามชายป่า ทุ่งหญ้า พื้นที่เกษตรกรรม และตามแหล่งชุมชน ในชนบท โดยเฉพาะทางภาคเหนือและภาคอีสานตอนบน
นก ปรอดหัวโขนเป็นนกในวงศ์นกปรอด (Pycnonotidac) ซึ่งนกในวงศ์นี้พบอาศัยอยู่ตั้งแต่ละแวกบ้านจนไปถึงบนยอดดอยสูงและตามป่าที่ ราบต่ำ มีอยู่ด้วยกัน 36 ชนิด แต่ทั่วโลกมีประมาณ 109 ชนิด โดยนกปรอดหัวโขนจัดอยู่ในสกุล Pycnonotus ซึ่งเป็นสกุลของนกปรอดสวเพราะนกในสกุลนี้หลายชนิดมักพบอาศัยใกล้ชุมชน หรือตามพื้นที่เกษตรกรรมนกปรอดหัวโขนมีชื่อเรียกหลายชื่อ แต่คนไม่ค่อยคุ้นหูนัก โดยจะมีการเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามภาค อย่างภาคใต้เรียกว่านกกรงหัวจุก ภาคเหนือเรียกว่นกปริ๊ดเหลวหรือพิชหลิว ส่วนภาคกลางเรียกว่านกปรอทหัวจุกหรือปรอทหัวโขน
ลักษณะทั่วไปของนกกรงหัวจุก
แก้ม และคอจนถึงหน้าอกจะมีสีขาวและมีสีแดงเป็นเส้นอยู่ข้างหูลงมาถึงหน้าอกเหมือน เป็นเส้นแบ่งขนสีขาวกับสีดำที่มีอยู่ทั่วทั้งตัวขนส่วนหัวจะร่วมกัน เป็นเหมือนหน่อตั้งอยู่บนหัวสูงขึ้นไปเหมือนหัวโขนใต้ท้องมีขนสีขาว
วิธีการดูเพศของนกกรงหัวจุก
นกกรงหัวจุกตัวผู้
จุกที่หัว - ขนจุกบนหัวใหญ่จุกที่อยู่บนหัวมีโคนจุกใหญ่แล้วเริ่มเล็กเรียวขึ้นไปปลายจุกแหลมและปลายจุกจะชี้ไปทางหัวของนก
หัว - มีหัวและใบหน้าใหญ่
ปาก - มีสีดำเป็นมันและปลายปากงอเล็กน้อย
ตา - ดวงตากลมและใส สีดำ
ขนแดงใต้ตา - เป็นสีแดงฟูเป็นกระจุกใต้ตา
ขนแก้ม - เป็นกระจุกสีขาวฟูใหญ่กว่าขนแดงใต้ตา
คอ - ขนาดของคอตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมียทำให้ร้องเสียงดี และร้องได้นานกว่าตัวเมีย จึงสามารถร้องเป็นเพลงได้หลายคำ
ขนคอด้านบน - จะเป็นขนสีดำเรียบ
ขนคอด้านล่าง - เป็นขนสีขาวสะอาดและขนฟูเป็นปุยเหมือนสำลีนูนออกมา
สร้อยคอ - จะมีสีดำเป็นแถบจากคอพาดลงมาที่หน้าอก ที่ปลายสร้อยคอมองดูแล้วจะมีลักษณะออกแหลมแต่ไม่ค่อยเด่นชัดนัก
อก - มีอกใหญ่ขนหน้าอกมีมากกว่าตัวเมียโดยใช้ปากเป่าอกดูขนหน้าอก]
ขนที่หัวปีก - มีขนที่หัวปีกสีน้ำตาลดำ มีขนหางจำนวน 12 เส้น
หาง - ขนหางมีสีน้ำตาลดำ มีขนหางจำนวน 12 เส้น
เสียงร้อง - เสียงร้องจะใหญ่และดังกังวานร้องได้ 3-7 พยางค์
นกกรงหัวจุกตัวเมีย
จุกที่หัว - ขนบนจุกจะเล็กกว่าตัวผู้จุกที่อยู่บนหัวมีโคนจุกเล็กกว่าตัวแล้ว เริ่มเรียวขึ้นไปปลายจุกแหลมแต่ปลายจุกจะชี้มาทางด้านหลัง
หัว - มีหัวและใบหน้าเล็กกว่าตัวผู้
ปาก - มีปากสีดำเป็นมันและปลายปากงอเล็กน้อย
ตา - ดวงตากลมและใสสีดำ
ขนแดงใต้ตา - เป็นขนสีแดงฟูเป็นกระจุกใต้ตา
ขนแก้ม - เป็นกระจุกฟูใหญ่กว่าขนแดงใต้ตา
คอ - ขนาดของคอเล็กกว่าตัวผู้ทำให้ร้องเสียงไม่ดี ร้องได้ไม่นาน จึงทำให้ร้องไม่เป็นเพลง
ขนคอด้านบน - จะเป็นขนสีดำเรียบ
ขนคอด้านล่าง - เป็นขนสีขาวสะอาดและขนฟูเป็นปุยเหมือนสำลีนูนออกมา
สร้อยคอ - จะมีสีดำเป็นแถบจากคอพาดลงมาที่หน้าอก ที่ปลายสร้อยคอมองดูแล้วจะมีลักษณะไม่แหลม
อก - มีอกเล็กกว่าตัวผู้ และขนหน้าอกจะมีน้อยกว่าตัวผู้ โดยใช้ปากเป่าดูขนหน้าอก หนังที่อกของตัวเมียจะเนียนละเอียดเกลี้ยงกว่าตัวผู้
ขนที่หัวปีก - ขนที่หัวปีกไม่มีสีแดงทั้ง 2 ข้าง
หาง - ขนหางมีสีน้ำตาลดำ มีขนหางจำนวน 9-10 เส้น
เสียงร้อง - ขนหางมีสีน้ำตาลดำ มีขนหางจำนวน 9-10 เส้น
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น