วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วิธีการเลี้ยงนกกรงหัวจุก

วิธีการเลี้ยงนกกรงหัวจุก

     เริ่มตั้งแต่เช้าตรู่ เมื่อเราตื่นนอนตอนเช้า อากาศสดชื่น เย็นสบาย นกก็สดชื่น
     เราทำการเปลี่ยนอาหารใหม่ ตามปกติจะประกอบด้วย กล้วยครึ่งผล มะละกอสุก 1 ชิ้น หรือแตงกวา 1 ซีก (สำหรับแตงกวาอาจมีความเสี่ยงอยู่บ้าง เพราะปัจจุบันมีการใช้สารเคมีฝังใต้ดิน เพื่อกำจัดหนอนแมลงกันมาก ยาก็จะดูดซึมเข้าไปอยู่ในผลแตงกวาด้วย เมื่อนกกินเข้าไป อาจทำให้นกตายได้ เรื่องนี้ ผู้เขียนเคยประสบมาแล้ว)

     หลังจากนั้นเอากรงนกไปแขวนในที่ที่เตรียมเอาไว้ อาจจะเป็นชายคาบ้านหรือกิ่งไม้ที่แข็งแรงพอ นกก็จะเริ่มส่งเสียงร้องออกมา ถ้าเป็นนกที่กำลังคึกคักก็จะร้องตลอดเวลา ไม่หยุด พร้อมทั้งออกลีลาเต็มที่
     ต่อจากนั้นเมื่อถึงเวลาที่ผู้เลี้ยงต้องออกไปทำงาน ก็ให้เก็บนกไว้ในบ้านในที่ที่ปลอดภัยที่สุด (จากงูเขียว หนู ขโมย) ต้องเป็นที่ที่มีแสงสว่างพอสมควร อย่าให้มืดเกินไป

     สำหรับผู้ที่ประกอบธุรกิจส่วนตัวอยู่กับบ้าน มีเวลาเลี้ยงนกมาก ก็ให้จัดเตรียมสนามซ้อมหรือราวเอาไว้เพื่อให้นกได้ตากแดด เป็นการเสริมวิตามินดีจากธรรมชาติ และสร้างความสดชื่นให้กับนก

วิธีการตากแดดมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ
     1. นกที่ยังไม่พร้อมจะเข้าแข่งขัน หมายถึง นกใหม่ที่เราที่เพิ่งได้มา ยังไม่คึกคักเท่าที่ควรหรือนกวัยรุ่นที่ยังไม่มีความพร้อม ให้ตากแดดปกติ ไม่ต้อมโหมหนักมากเกินไป เพราะธรรมชาติของนก เมื่อเจอแดดร้อนก็จะเข้าไปแอบในร่มไม้เพื่อพักผ่อน นกกลุ่มนี้ให้ตากแดดช่วงเช้าตรู่ จนถึงประมาณ 09:00 - 10:00 ก็พอเพียง เก็บเข้าที่ร่มให้ห่างกันพอสมควร เพราะนกบางตัวอาจเกิดอาการกลัวนกตัวอื่น จึงไม่กล้าร้อง
     2. นกที่พร้อมจะเข้าแข่งขันหรือแข่งอยู่แล้ว นกกลุ่มนี้ต้องการความพร้อมสูงในการเตรียมตัวเข้าแข่งขัน โดยเฉพาะต้องตากแดด เพื่อให้นกแข็งแรง ทดแดดทนร้อนได้ ปกติจะเริ่มตากประมาณ 09:00 - 13:00 โดยตากไว้ตลอด ไม่มีการยกเข้าพักในที่ร่ม ให้นกได้กระโดดและร้องไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงเวลาเก็บ สถานที่ตากแดดก็เหมือนกัน คือ ต้องแข็งแรง ปลอดภัย และแต่ละตัวแขวนให้ห่างกันพอสมควร อย่าให้ใกล้กันเหมือนตอนแข่งหรือตอนซ้อม เพราะนกจะต่อสู้กันทุกวันจนเบื่อ

     หลัง จากผ่านการตากแดดมาแล้ว เก็บเข้าที่ร่ม ไม่มืดทึบ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก นกก็จะได้พักผ่อนส่วนตัว ไม่ต้องร้อง บางตัวก็จะร้องเล่นๆ เบาๆ เพื่อผ่อนคลายอิริยาบถจนถึงเวลาประมาณ 15:00 - 16:00 ก็ยกนกออกไปแขวนข้างนอก แล้วทำความสะอาดกรงนก โดยการเริ่มล้างถ้วยน้ำ ถ้วยอาหารให้สะอาด จากนั้นจัดการล้างซี่กรงด้านล่าง (ท้องกรง) โดยใช้น้ำฉีดให้ทั่ว ใช้ฟองน้ำหรือแปรงสีฟันขัดให้สะอาด และล้างถาดรองขี้นกให้สะอาดเช่นกัน แล้วหงายขันอาบน้ำ เติมน้ำให้เต็ม นำกรงนกขึ้นแขวนในที่ร่ม นกก็จะลงอาบน้ำเองอย่างสนุกสนาน เปียกทั่วตัว (กรณีที่นกบางตัวไม่ยอมอาบน้ำ ให้ใช้กระบอกฉีดน้ำปรับให้เป็นฝอย ฉีดให้ทั่วตัวบ่อยๆ นกก็จะลงอาบน้ำเอง) เมื่อนกอาบน้ำเสร็จและเริ่มแต่งตัว (โดยการใช้ปากไซ้ขนทั่วตัวเพื่อทำความสะอาดและให้ขนแห้ง) เราก็คว่ำขัน และยกกรงนกไปตากแดดอ่อนๆ เพื่อ
     - ทำให้ขนนกแห้ง เป็นการสร้างความสวยงามให้นก เพราะขนนกจะฟูสวยงาม และนกจะไม่คันในขณะทำการแข่งขัน
     - ทำให้กรงนกแห้ง เป็นการยืดอายุการใช้งานของกรงนกออกไปอีก เพราะเมื่อกรงเปียก ไม้ก็จะพอง ข้อต่อต่างๆ ก็จะหลวมและเผยอออก ซี่กรงก็อาจขึ้นราได้


นกอาบน้ำอย่างมีความสุข
     วิธีการเลี้ยงนกกรงหัวจุกที่อายุมาก (มากกว่า 10 ปีขึ้นไป) ต้องใช้วิธีการที่พิเศษออกไปกว่าการเลี้ยงนกหนุ่มทั่วๆ ไป คือ ต้องทำกรงพักขนาดใหญ่พอสมควร กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร สูง 1.50 เมตร โดยใช้ลวดตาข่ายล้อมเป็นกรงสี่เหลี่ยมหรือทรงกลมก็ได้ วางลงให้ติดกับพื้นดิน มีกิ่งไม้แห้งให้เกาะได้สะดวก ถ้วยน้ำ ถ้วยอาหาร ถ้วยน้ำอาบ พร้อมตลอดเวลา มีหลังคากันฝนเล็กน้อย จากนั้นก็ปล่อยนกที่อายุมากเข้าไป ให้นกได้บินมาอย่างสบาย นกก็จะสดชื่น แข็งแรงขึ้น เมื่อนกสมบูรณ์พร้อมทั้งกาย - ใจ เราก็สามารถเอานกตัวนั้นไปเข้าแข่งขันได้อีกครั้งหนึ่ง

     วิธีการเลี้ยงนกที่อ้วนเกินไป ปกตินกกรงหัวจุกธรรมชาติจะมีรูปร่างปราดเปรียว คล่องแคล่ว เมื่อนำมาเลี้ยงในกรง ผู้เลี้ยงให้กินอาหารอย่างเต็มที่ เพื่อให้นกสมบูรณ์ แข็งแรง และมักจะให้กินอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดด้วย นกก็จะกินจนอิ่ม แต่ได้ออกกำลังกายน้อยมาก เพราะต้องอยู่ในกรงแคบๆ ทำให้นกอ้วน ขี้เกียจกระโดด ขี้เกียจร้อง ไม่ประสบผลสำเร็จในการแข่งขัน เพราะนกอ้วนเกินไป เราจึงต้องทำการลดความอ้วนโดย
     - ให้กินกล้วยน้ำว้าน้อยลง
     - งดอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดและผงเด็ดขาด
     - ให้กินมะละกอ ลูกตำลึงสุก หรือแตงกวาผ่าซีกทุกวัน เพื่อให้นกถ่ายได้สะดวก
     - ตากแดดนกทุกวัน โดยค่อยๆ เพิ่มระยะเวลาการตากให้นานขึ้นเรื่อยๆ
     ใช้วิธีการนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่านกจะผอมลงและเข้าสู่สภาพปกติ นกก็จะคึกคักและมีลีลากระโดดโลดเต้นสวยงามเหมือนเดิม

การฝึกนกกรงหัวจุกเพื่อเข้าแข่งขัน

" การฝึกนกกรงหัวจุกเพื่อเข้าแข่งขัน "

http://www.nokkronghuajuck.com/modules/activeshow_mod/images/picture/1281724759.jpg

การฝึกนกกรงหัวจุกเพื่อเข้าแข่งขัน หลัง จางที่เลี้ยงและฟูมฟักดูแลรักษานกมาเป็นอย่างดีแล้วควรเริ่มซ้อม แต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป ไม่ก้าวกระโดด เมื่อแขวนนกแล้วลองสังเกตว่านกเริ่มสู้แล้วหรือยัง
ถ้ายังไม่สู้ให้ยกนกออกไปจากราวไปแขวนไว้ที่อื่นห่างออกไปแขวนไว้ที่อื่น ห่างออกไปก่อน เพราะหากยังแขวนไว้จะทำให้นกแพ้และไม่สู้นกตัวอื่นอีกเลย ต้องขยันหิ้วนกไปเที่ยวและต้องซ้อมบ่อยๆโดยซ้อมสัปดาห์ละ1-2 วัน ช่วงเวลาการซ้อมเพียงเล็กน้อย เพื่อให้เกิดความเคยชินกับสนามแล้วจึงแยกออกไปแขวนห่างๆ เพื่อให้นกเกิดความคึกคะนองก่อนจะนำนกไปเที่ยวหรือไปสนามซ้อม ต้องใช้ผ้าคลุมกรงนกทุกครั้ง เพื่อให้นกตื่นตกใจน้อยที่สุด ควร เปลี่ยนกรงนกบ่อยๆ เพื่อให้นกคุ้นเคยกับการเปลี่ยนที่อยู่ใหม่ ป้องกันการตื่นตกใจกลัวเนื่องจากความไม่ชินกับสภาพกรงที่ผิดแผกไปจากเดิม ทำให้นกมีความพร้อมอยู่ตลอดเวลาในวันปกติให้แขวนนกแต่ละตัวให้ห่างกัน เพื่อไม่ให้เห็นกัน ให้ได้ยินแค่เสียงร้องก็พอ เพื่อนกจะได้คึกคัก ให้ นกอาบน้ำในเวลาบ่ายหรือยามเย็นประมาณ 15.00-17.00 น แต่งตัวและตากขนให้แห้งสนิทก่อนจะเก็บไว้ทุกวัน เพื่อเพิ่มความสวยงามและปลอดโปร่งสบายให้แก่นก เพราะนกกรงหัวจุกชอบความสะอาดดูแลความเรียบร้อยของตังเองอยู่เสมอต้อง เปลี่ยนน้ำกินและน้ำอาบทุกวัน ล้างถาดรองขี้นกทุกวัน กรงสะอาดจะทำให้นกสดชื่นคึกคัก ให้ลองสังเกตดูว่าหากนกไม่ได้อาบน้ำและไม่ล้างทำความสะอาดหลายๆวันนกจะสลัด ขนอ่อนบนลำตัวออกและมีอาการซึม ขณะ ที่แขวนนกตัวที่มีท่าทีว่าจะคึก ให้หมั่นเอานกล่อนกที่ไม่สู้ หรือไม่คึกไปเทียบบ่อยๆ ให้ห่างกันเล็กน้อย เพื่อให้นกมีอาการคึกคักพร้อมจะสู้และสร้างความมั่นใจว่าตังเองขู่ตัวอื่น ได้ นกจะมีความมั่นใจและเก่งมากขึ้น เมื่อนำไปแขวนที่ราวซ้อมนกจะพร้อมต่อสู้กับตัวอื่นตลอดเวลาโดยไม่กลัว เนื่องจากนกมีลักษณะนิสัยที่แตกต่างกันเพื่อเป็นการเรียนรู้นิสัยของนก เราจึงต้องสังเกตและเอาใจใส่เพื่อจะได้รู้จักนกของเราอย่างแท้จริง เช่น ชอบกระโดดเกาะหรือชอบวิ่งถ้วย ซึ่งจะมีผลอย่างมากเมื่อนำนกไปแข่ง นกจะพร้อมสู้ตลอดเวลาไม่เบื่อหน้ากันให้ใช้ผ้าคลุมกรงนกเพื่อให้นกพักผ่อน ได้เต็มที่ ก่อน ถึงวันแข่งขัน1-2วันให้เปลี่ยนกรงนกที่เป็นกรงแข่งมีลวดลายสวยงาม ซึ่งเตรียมไว้เฉพาะเพื่อความคุ้นเคย วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้เริ่มเลี้ยง ซึ่งเตรียมไว้เฉพาะเพื่อความคุ้นเคย วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้เริ่มเลี้ยง ซึ่งยังไม่มีนกที่ดีและเก่งพอที่จะเป็นนกครูฝึกได้

เสน่ห์ของการเลี้ยงนกหัวจุก

" เสน่ห์ของการเลี้ยงนกหัวจุก "


http://www.nokkronghuajuck.com/modules/activeshow_mod/images/picture/1233761640.gif

ถ้าจะถามแต่ละคนว่า ทำอะไรถึงจะมีความสุขที่สุด แน่นอน ทุกๆ คนก็จะตอบไม่เหมือนกัน เพราะต่างจิตต่างใจกัน ความชอบก็จะไม่เหมือนกัน ผู้เขียนเองมีทีมงานกลุ่มอนุรักษ์นกกรงหัวจุกฟ้าตรัง ซึ่งตั้งขึ้นตามเจตนารมณ์ของผู้รักนกกรงหัวจุกหลายๆ ท่าน ทั้งนี้ยังรวมถึงผู้รักนกกรงหัวจุกทั้งหลายทั่วประเทศ ซึ่งมีความรักและชื่นชมในองค์ประกอบต่างๆ ของนกกรงหัวจุก อันประกอบด้วย ความงดงามในรูปร่างลีลา เนื่องจากนกกรงหัวจุกเป็นนกขนาดเล็กที่คล่องแคล่ว ปราดเปรียว มีสีสันสวยงาม สำนวนเพลงร้อง ถ้าฟังกันให้ดี แต่ละเพลงที่นกร้องออกมาจะไม่ค่อยซ้ำกัน หมุนเวียนกันไป ทำให้ฟังไม่เบื่อ ยิ่งเมื่อนกอยู่ในกรงที่สวยงาม และกระโดดโลดเต้นไปตามลีลาอันเป็นธรรมชาติ ก็จะยิ่งน่าดู เป็นการสร้างความประทับใจและสบายใจให้กับเจ้าของอย่างมาก ได้พักผ่อน พบปะเพื่อนฝูงในวันหยุดสุดสัปดาห์ เป็นการผ่อนคลายความเครียดที่ดี อีกวิธีหนึ่ง ยิ่งถ้ามีการแข่งขัน และนกของเราได้รับรางวัลด้วย ก็จะนำมาซึ่งความภาคภูมิใจ ทั้งนี้ยังรวมถึงแม่บ้านและลูกๆ ด้วย เพราะปัจจุบันทางภาคใต้นิยมจัดรางวัลเป็นของใช้ เช่น ตู้เย็น โทรทัศน์สี หม้อหุงข้าวไฟฟ้า พัดลม รถจักรยาน และของใช้อื่นๆ อีกมากมาย ถ้าเจ้าของนกได้รางวัลเหล่านี้กลับบ้าน ก็จะเป็นการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัวอีกด้วย สร้างความภูมิใจ ในลักษณะที่เราสามารถเพาะพันธุ์ได้เองภายในบริเวณบ้าน ข้อนี้สำคัญมาก เนื่องจากบัจจุบัน หลายๆ ท่านพยายามจะช่วยกันขยายพันธุ์นกให้มีจำนวนมากขึ้น ถ้าเราทำได้สำเร็จ ก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้อนุรักษ์นกกรงหัวจุกได้สำเร็จอย่างแท้จริง ประกอบเป็นอาชีพ ท่านที่สนใจสามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับนกได้ไม่ยาก เช่น - เพาะพันธุ์ลูกนกขาย - ขายอุปกรณ์เลี้ยงนก เช่น อาหารนก ผ้าคลุมกรง ถ้วยน้ำ และอื่นๆ - ทำกรงนกขาย สำหรับท่านที่มีฝีมือก็สามารถทำกรงนกขายได้ ทำให้มีเงินเก็บเป็นกอบเป็นกำโดยไม่ยากเลย เพราะปัจจุบันสะดวกกว่าสมัยก่อนมาก เนื่องจากมีชิ้นส่วนในการทำกรงขายทุกอย่าง เราสามารถนำมาประกอบเป็นกรงแข่งขันขายได้เลย ในลักษณะโชคลาภ มีผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุกจำนวนไม่น้อยเลยที่ได้นกมาแล้วเลี้ยงดูอย่างดี ไม่ยอมขายหรือให้ใครไปเลย เนื่องจากเป็นการถือโชคลาง ผู้เขียนเคยคุยกับเจ้าของนกผู้มีอันจะกินหลายๆ ท่านถึงความเชื่อในตัวนก โดยเฉพาะนกที่มีลักษณะพิเศษกว่าตัวอื่นๆ เช่น หัวมีสีขาว ขนสีขาวทั้งตัวหรือขาวเพียงบางส่วน เจ้าของนกบอกว่า ตั้งแต่ได้นกมา ปรากฎว่ากิจการต่างๆ ที่ทำอยู่ประสบผลสำเร็จอย่างดี มีกำไรมากขึ้น ก็เลยสั่งทำกรงไม้ฝังมุกอย่างดีราคาหลายหมื่นให้นกอยู่ได้อย่างสบาย ตอนนี้ฐานะก็ดีขึ้นเรื่อยๆ เคยมีคนมาขอซื้อเท่าไรก็ไม่ยอมขาย ซึ่งก็เป็นความเชื่อและแนวความคิดของแต่ละท่าน เรื่องนี้ต้องให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณาและใช้หลักการเหตุผลคิดเอาเองตามความน่าจะเป็นก็แล้วกัน

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

ภาษาและเพลงของนกกรงหัวจุก

ภาษาและเพลงของนกกรงหัวจุก


ร้องทน หมายถึง นกส่งเสียงร้องไม่หยุด ร้องตั้งแต่รอบแรก (ยกแรก) จนถึงรอบสุดท้าย (ยกสุดท้าย)

ลีลาประกอบการร้อง หมายถึง ลีลาท่าทางของนกกรงหัวจุกในขณะที่ส่งเสียงร้อง เช่น ส่งเสียงร้องพร้อมกับกระโดดลง จับคอนล่างคอนบน หรือร้องประกอบท่าเดินเป็นจังหวะต่อเนื่องสามก้าว (ถ้าไม่ครบสามก้าว ไม่มีคะแนนให้)

ริก หมายถึง อาการที่นกกรงหัวจุกส่งเสียงร้องระริก วงการนกถือว่าเป็นสุดยอดในการร้อง ซึ่งมีหลายแบบ คือ ร้องทักทายซึ่งค่อนข้างสั้นตั้งแต่ 2 - 3 คำ แต่ถ้าเป็นริกต่อสู้จะร้องตั้งแต่  3 - 5 คำ จะมีอาการประกอบคำร้อง มักจะร้องเป็นชุดรัวคำ โดยจะริกติดกัน 3 - 5 พยางค์ พร้อมกับการกางปีกทั้ง 2 ข้างแผ่ออก บางครั้งขาจะสั่นระริกตามเสียงร้อง นกกรงหัวจุกที่ริกขณะแข่งขันจะได้คะแนนนิยมสูงสุด บางครั้งขาจะสั่นระริกตามเสียงร้อง นกกรงหัวจุกที่ริกขณะแข่งขันจะได้คะแนนนิยมสูงสุด โดยมากจะไม่ให้คะแนนช่วงริกทักทาย แต่จะให้คะแนนช่วงที่ริกรัวเป็นชุดตั้งแต่ 3 - 5 พยางค์ขึ้นไป อาการริกไม่ค่อยพบบ่อยในนกกรงหัวจุกทั่วๆ ไป

ดอก หมายถึง คำ เป็นคำหนึ่งๆ ที่นกกรงหัวจุกร้องออกมา เช่น คำว่า ควิก หรือฟ่อ

สำนวน หมายถึง เสียงร้องของนกใน 1 ประโยค (บางครั้งเรียกว่า เพลง)

เพลง หมายถึง นกที่ร้องจบประโยคใน 1 นาที

ชุด หมายถึง จำนวนเพลงที่ร้องใน 1 นาที ซึ่งนกเขาชวาจะเรียกว่าตับ ขันจับตับสั้นหรือจับตับยาว แต่นกกรงหัวจุกจะเรียกว่า ชุดเล็ก ชุดกลาง และชุดใหญ่ บางครั้งก็ใช้คำว่า "ดอก" แทน "ชุด" ชุดเล็กจะนับเมื่อร้อง 3 เพลง (3 ประโยค) ขึ้นไปใน 1 นาที ถ้าร้องตั้งแต่ 4 เพลงขึ้นไปใน 1 นาที นับเป็นชุดกลาง แต่ถ้าร้องเป็นเพลงตั้งแต่ 5 เพลงขึ้นไปใน 1 นาที นับเป็นชุดใหญ่ คะแนนชุดใหญ่จะมากกว่าชุดกลาง และคะแนนชุดกลางจะมากกว่าคะแนนชุดเล็ก

เสียงเล็ก หมายถึง นกกรงหัวจุกที่ร้องเสียงแหลมเล็กโดยกำเนิด

เสียงกลาง หมายถึง นกกรงหัวจุกที่ร้องเสียงไม่แหลมเท่าเสียงเล็กแต่ก็ไม่ทุ้มเท่าเสียงใหญ่โดยกำเนิด

เสียงใหญ่ หมายถึง นกกรงหัวจุกที่ร้องเสียงทุ้มห้าวไม่มีความแหลมโดยกำเนิด

นกสู้ หมายถึง นกที่ห้าวหาญมุ่งจะเอาชนะคู่ต่อสู้โดยส่งเสียงร้องดังข่มคู่ต่อสู้ เป็นนกดุ จุดเด่นของนกสู้ก็คือ มีจุกบนหัวจุกค่อนข้างยาวและชี้ตั้งปลายโง้งไปข้างหน้า นัยน์ตาดุ จะงอยปากบนหนาใหญ่ กระดูกปากใหญ่แข็งแรง ปลายปากแหลมคม คอตั้ง หน้ายาว ส่วนมากเสียงร้องจะไม่ไพเราะ คือ ร้องเสียงเกรี้ยวกราดคล้ายเสียงตวาด

นกเพลง หมายถึง นกที่ส่งเสียงร้องไพเราะนุ่มนวล นัยน์ตาหวาน

นกกรงหัวจุกจะเรียกลักษณนามว่า "ตัว" เหมือนสัตว์ประเภทอื่นๆ มิได้เรียกว่า "นก" เหมือนนกเขาชวา


          นกกรงหัว จุกที่ร้องเป็นเพลงและมีจังหวะดีจะชนะการแข่งขัน ผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องเพลงของนกกรงหัวจุก ได้อธิบายไว้ว่า เสียงร้องของนกใน 1 ดอกนั้นจะต้องมี 3 พยางค์เป็นอย่างน้อยหรือที่เราเรียกว่าเพลง 3 จังหวะ และต้องร้องเป็นสำนวน จึงจะถือว่านกร้องเป็นเพลงและจะนับเป็นดอกในการแข่งขัน

นกที่ร้องเพลง 3 และ 4 จังหวะจะเรียกว่า "เพลงหลัก" ส่วนนกที่ร้องเพลงตั้งแต่ 4 จังหวะขึ้นไปและมีเสียงร้องพยางค์หน้าว่า "ฉก" หรือ "จก" ถือว่าเป็นนกที่มีเพลงดีเพลงนิยม ส่วนนกที่ร้อง 4 พยางค์ขึ้นไป แต่ไม่มีพยางค์หน้าว่า "ฉก" หรือ "จก" แต่มีเสียงร้องพยางค์หน้าว่า "ควิ๊ก" หรือ "ฟิก" เราเรียกว่า นก "ทิ้งฉก" ซึ่งจะเรียกว่า "เพลงประกอบ" และจะมีเกณฑ์ความนิยมเพลงร้องของนกกรงหัวจุกดังนี้

- นกที่มีเสียงร้องพยางค์หน้าว่า "ฉก" หรือ "จก" จะมีความนิยมกว่านกที่มีเสียงร้องพยางค์หน้าว่า "ควิ๊ก" หรือ "ฟิก"
- นกที่ร้อง "เบิ้ลหน้า" จะมีความนิยมกว่านกที่ร้อง "ไม่เบิ้ลหน้า"
- นกที่ร้องมี "ลูกเล่น" จะมีความนิยมมากกว่านกที่ร้อง "ไม่มีลูกเล่น"
- นกที่ร้องมี "ริก" จะมีความนิยมกว่านกที่ร้อง "ไม่ริก"


เพลงหลักของนกกรงหัวจุกจะมีอยู่ด้วยกัน 4 เพลง คือ1. เพลง "เหลี่ยว" คือ นกจะร้องออกเสียงสุดท้ายพยางค์คำว่า "เหลี่ยว" หรือนกจะร้องออกเสียงสุดท่ายพยางค์ว่า "เลี่ยว" ก็ได้
2. เพลง "เลี้ยง" คือนกจะร้องออกเสียงสุดท้ายพยางค์คำว่า "เลี้ยง" หรือนกจะร้องออกเสียงสุดท้ายพยางค์ว่า "เหลี้ยง" ก็ได้
3. เพลง "ยอ" คือ นกจะร้องออกเสียงสุดท้ายพยางค์ว่า "ยอ" หรือนกจะร้องออกเสียงสุดท้ายพยางค์ว่า "หย่อ" ก็ได้ เช่น นกร้องว่า "ฉก...กวิ๊ก...ไกว๊...เหลี้ยง"
4. เพลง "ฝก" คือ นกจะร้องออกเสียงสุดท้ายพยางค์ว่า "ฝก" หรือนกจะร้องออกเสียงสุดท้ายพยางค์ว่า "ฟ่อ" ก็ได้ เช่น นกร้องว่า "ฉก...กวิ๊ก...ตี...ฟ่อ"




ขอขอบคุณ  หนังสือนกเขาชวา นกกรงหัวจุก  เขียนโดย  รองศาสตราจารย์มัลลิกา  คณานุรักษ์ 


แม่ไม้เพลงนก" ฉบับปักษ์ใต้แท้ ๆ

แม่ไม้เพลงนก" ฉบับปักษ์ใต้แท้ ๆ



 ที่ตั้งใจจะเขียนเรื่องนี้เพราะสมาชิกรุ่นใหม่มัก ฟังเพลงนกยังไม่เก่ง หรือชอบฟังเพียงบางเพลง โดยเฉพาะกรรมการต้องมีใจไม่ลำเอียง ฟังเพลงนกเก่งทุกเพลง เท่าที่เจอนักเลงนกรุ่มเก๋า ในสุราษฎร์ หาดใหญ่ สงขลา ฯ พิถีพิถันเรื่องสำนวนเพลงนกเป็นอย่างมาก ถือเป็นระดับเซียนทีเดียว
ขอเริ่ม "แม่ไม้เพลงนก" เลยนะครับ
เพลงของนกกรงหัวจุกที่เรียกว่าเป็นเพลงแม่ไม้ มีอยู่ 4 เพลง คือ
1. เพลง"ขวก" (อ่านควบกล้ำ ขว) หรือ "ฝก"
2. เพลง"เลียว"
3.เพลง"เลี้ยง" และ
4. เพลง"ยอ"
ทุกเพลงที่เป็นเพลงแม่ไม้ นกจะร้องออกเสียง 5 พยางค์ ดังนี้
เพลงที่ 1.นกจะร้อง "ฉก-ควิก-กอ(ฉ่อ)-ลิ-ขวก(ฝก)" เพลงที่ถือว่าอยู่ในแม่ไม้เพลงขวก นกอาจจะร้องออกเสียงพยางค์สุดท้ายเป็น ฟอ โฟ ก็ถือเป็นว่าอยู่ในแม่ไม้เพลงขวกทั้งสิ้น ส่วนที่พยางค์ไม่ครบ 5 หรือลูกเล่น ลูกไม้ สำนวนแพรวพราว ของเพลงนี้จะเป็นอย่างไร จะอธิบายต่อไป
:ในทางการประกวด นกไม่มี"ฉก"หน้า(สุราษฎร์เรียกว่า"ทิ้งฉก")เป็นนกระดับแชมป์และราคาสูง ๆ หลายตัว แต่ในเชิงสำนวนเซียนฟังแล้ว"กร่อย"
ต้องอย่าใจร้อน ฝึกอ่านเพลงนก ฝึกฟัง ตอนแรกฟังเฉพาะพยางค์สุดท้ายก่อนว่าเป็น ขวก(ฝก) หรือ ยอ หรือ เลียว หรือ เลี้ยง
แม่ไม้เพลงนกเพลงที่ 2 ฉก-ควิก-กอ(ฉ่อ)-ลี้-เลี่ยว
แม่ไม้เพลงที่ 3 ฉก-ควิก-กอ(ฉ่อ)-ลี้-เลี้ยง
แม่ไม้เพลงที่4 ฉก-ควิก-กอ(ฉ่อ)-ลี้-ยอ
บอกแม่ไม้ไปแล้วทั้ง 4 เพลง คือเพลง"ขวก(ฝก)" เพลง "เลียว" เพลง"เลี้ยง" และเพลง"ยอ" และขอย้ำว่าแม่ไม้ต้องครบ 5 พยางค์ ถ้าไม่ครบ 5 พยางค์ถือว่าขาด
ที่นี้ว่ากันถึง "ลูกเล่น" หรือ "ลูกไม้"
เริ่มต้นที่เพลง "ยอ" โดยส่วนตัวแล้วถือว่าเพลงนี้คลาสสิกที่สุด
ที่ถือว่าออกไพเราะที่สุดนกจะร้องใส่เกลียวกลาง ลากเสียงหวานยาวพริ้ว ฟังเหมือนกับจะเป็น 4 พยางค์ คือ
"ฉก(จก)-ควิก-ขว๋ายยย-ยอ" เพลงนี้ถือเป็นแม่ไม้แต่มีลูกเล่นที่ใส่เกลียวกลางพริ้วและลงท้ายด้วย"ยอ" เปิดกว้าง
แต่ที่สุดยอดปรารถนาของเพลงนี้คือ"ควิก-ฉก(จก)-ควิก-ขว๋ายยย-ยอ" ถือว่าเพราะสุดยอด ถ้ากรรมการไม่ให้คะแนนสำนวนเต็มร้อยเปอร์เซนต์ก้ไม่รู้จะพูดอย่างไรแล้ว
เพลง"ยอ"ไม่ค่อยมีนกร้อง 7 พยางค์

คำศัพท์ที่เซียนนกกรงส่วนใหญ่ใช้กันและเป็นสากล

คำศัพท์ที่เซียนนกกรงส่วนใหญ่ใช้กันและเป็นสากล
 
 นกกรง.....นกกรงหัวจุก
นกเถื่อน ...นกหัวจุกที่โตอาสัยในธรรมชาติ
นกลูกใบ้ ....นกกรงที่แก้มแดงยังไม่ขึ้น
นกลูกป้อน ...นกกรงที่ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
ลูกนกหูดำ.....นกที่แก้มแดงยังไม่ขึ้น
นกเหนือ ...นกกรงหัวจุก ที่มาจากภาคอื่นๆ
ดอก ......หมายถึงนกร้องครบพยางค์ 1 ครั้ง เช่นร้อง 5ดอก หมายถึงร้อง 5 ครั้ง
สับนก ....เปลี่ยนที่แขวนใหม่ หรือ เอาเปลี่ยนนกในยกชิง(โกง)
นกเล่นราว ...นกที่แขวนราวซ้อมหรือแข่ง มีนกอื่นอยู่แล้วนกต่อสู้และร้อง
นกไม่เล่นราว...นกที่แขวนราวซ้อมหรือแข่ง มีนกอื่นอยู่แล้วนกไม่ต่อสู้และร้อง
นกร้องเป็นคำ ....นกที่ร้องมาน้ำเสียงชัดเจน หนักแน่ย
นกร้องเครียว ...นกที่ร้องเพลงออกมา กลั้วในลำคอ นกที่ร้องเครียว จะเพลงหวาน เพลงไพเราะน่าฟัง
เพลงราว.....นกที่ร้องเพลงประจำในราว นกยางนกเพลงที่ดีสุดจะไม่ร้องบนราว
เพลงโยน ....หมายถึงนกร้องตอบโต้กัน เมื่อแขวนตัวเดียวห่างๆ
ร้องกด ...นกที่ร้องเพลงออกมาเต็มคำ เต็มเสียง เพื่อข่มนกข้างๆ
ร้องติดตับ....นกร้องเพลง(สำนวน) ออกมาต่อเนื่องเป็นชุด
นกผ่อน ..นกเล่นจัดต่อเนื่อมาตลอด แล้วลดการเล่นลง



นกลักษณะดี มงคล 12 ประการ

นกลักษณะดี มงคล 12 ประการ




การ เล่นนกกรงหัวจุกมีความเชื่อเกี่ยวกับลักษณะคล้ายๆ กับนกเขาชวา แต่ไม่มีตำรับตำราเหมือนนกเขาชวา  มีแต่การพูดต่อๆกันมา ส่วนใหญ่จะเน้นว่าถ้าลักษณะดีก็จะร้องเสียงดี คือลักษณะที่มีผลต่อเสียงร้องมากกว่า โดยกล่าวว่านกลักษณะดี มงคล 12 ประการ มีดังนี้

1. ส่วนของใบหน้าใหญ่ รูปโครงสร้างใบหน้าดูเหมือนสิงโต
2. หงอน จุกบนหัวใหญ่ โคนจุกขนดกหนายาว ตั้งตรงปลายแหลม ขนเรียบลู่ในแนวเดียวกัน ดำสนิท ปลายโน้มเอียงไปข้างหน้าเล็กน้อย (ถ้าเป็นไก่ เรียกว่า หงอน นกเรียกว่าจุก)
3. นัยน์ตาดุ หรือหวาน คมใส ไวต่อสิ่งสัมผัส ทั้งภายนอก-ใน
4. สันปากใหญ่หนา คมปากประกบกันสนิทคล้ายสันปากนกเหยี่ยว หรือนกอินทรี (จะงอยปากไม่งุ้มลงมากเหมือนนกเหยี่ยว)
5. สีแต้มแดงที่หูหรือหูแดงเข้มถึงเข้มมาก
6. สีแก้มขาวชัด ขนขึ้นดกหนาใหญ่ขาวสะอาด หนวดดำเส้นเล็กตัดหว่างสีแก้มกับเคราใต้คาง
7. คอใหญ่ ขนเคราขึ้นดกหนาฟูใหญ่ สร้อยคอดำสนิท หรือภาษานกเรียกว่าหมึกดำ หมึกดำสนิท ขนขึ้นดกหนาใหญ่ย้อยลงถึงข้างล่าง ถึงจรดก้น
9. สีบัวใต้หางชัด สีแดงออกส้มๆ หรือสีแสดบานถึงบานใหญ่
10. หางพัดยาว ปลายหางไม่แตก หางขาวดำ หรือหางดำป้ายขาว 8 หาง ข้างละ 4 หาง หางดำปรอด 4 หาง รวมเป็น 12 หาง หางยาว หางไม่แตก เวลายืนด้วยอาการปกติปลายหางซ้อนกันในแนวเดียว
11. ลีลาท่ายืน เดิน สง่า สองขาจับมั่น ดูองอาจ สง่างาม เป็นนกใจเดียว เวลาสู้สู้ไม่ถอย
12. เสียง นกดำน้ำเสียงดี เสียงดังฟังชัด จะเป็นนกเสียงเล็ก เสียงกลาง เสียงใหญ่ได้ทั้งนั้น (เสียงไม่แหบพร่า) เหมาะเป็นนกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์





ขอขอบคุณ  หนังสือนกเขาชวา นกกรงหัวจุก  เขียนโดย  รองศาสตราจารย์มัลลิกา  คณานุรักษ์ 


เพลงแม่บทของนกกรงหัวจุก

     เพลงแม่บทของนกกรงหัวจุก
Photo by ::
เพลง 3 จังหวะ
เพลงประกอบ 3 จังหวะ (ธรรมดา)

เพลง "เหลี่ยว"


    ควิ๊ก...ตี...เหลี่ยว

    ควิ๊ก...ลิ...เหลี่ยว

    ควิ๊ก...ไกว๊...เหลี่ยว

    ฉก...ตี...เหลี่ยว

    ฉก...ลิ...เหลี่ยว

    ฉก...ไกว๊...เหลี่ยว


เพลง "เลี้ยง"


    ควิ๊ก...ตี...เลี้ยง

    ควิ๊ก...ลิ...เลี้ยง

    ควิ๊ก...ไกว๊...เลี้ยง

    ฉก...ตี...เลี้ยง

    ฉก...ลิ...เลี้ยง

    ฉก...ไกว๊...เลี้ยง

Photo by ::
เพลง "หย่อ"


    ควิ๊ก...ตี...หย่อ

    ควิ๊ก...ลิ...หย่อ

    ควิ๊ก...ไกว๊...หย่อ

    ฉก...ตี...หย่อ

    ฉก...ลิ...หย่อ

    ฉก...ไกว๊...หย่อ


เพลง "ฝก"


    ฟิก...ตี...ฟ่อ

    ฟิก...ลิ...ฟ่อ


เพลง 4 จังหวะ
เพลงประกอบ 4 จังหวะ (เกณฑ์ดี)

เพลง "เหลี่ยว"


    ควิ๊ก...ฉก...ไกว๊...เหลี่ยว

    ควิ๊ก...ไกว๊...ตี...เหลี่ยว

    ควิ๊ก...ไกว๊...ลิ...เหลี่ยว

    ควิ๊ก...ตี...ไกว๊...เหลี่ยว

    ควิ๊ก...ลิ...ไกว๊...เหลี่ยว

    ควิ๊ก...ควิ๊ก...ไกว๊...เหลี่ยว

    ฉก...ควิ๊ก...ไกว๊...เหลี่ยว

    ฉก...ควิ๊ก...ตี...เหลี่ยว

    ฉก...ควิ๊ก...ลิ...เหลี่ยว


เพลง "เลี้ยง"


    ควิ๊ก...ฉก...ไกว๊...เลี้ยง

    ควิ๊ก...ไกว๊...ตี...เลี้ยง

    ควิ๊ก...ไกว๊...ลิ...เลี้ยง

    ควิ๊ก...ตี...ไกว๊...เลี้ยง

    ควิ๊ก...ลิ...ไกว๊...เลี้ยง

    ควิ๊ก...ควิ๊ก...ไกว๊...เลี้ยง

    ฉก...ควิ๊ก...ลิ...เลี้ยง

Photo by ::
เพลง "หย่อ"


    ควิ๊ก...ฉก...ไกว๊...หย่อ

    ควิ๊ก...ไกว๊...ตี...หย่อ

    ควิ๊ก...ไกว๊...ลิ...หย่อ

    ควิ๊ก...ตี...ไกว๊...หย่อ

    ควิ๊ก...ลิ...ไกว๊...หย่อ

    ควิ๊ก...ควิ๊ก...ไกว๊...หย่อ

    ฉก...ควิ๊ก...ตี...หย่อ

    ฉก...ควิ๊ก...ลิ...หย่อ


เพลง "ฝก"


    ฟิก...ฉก...ตี...ฟ่อ

    ฟิก...ฉก...ลิ...ฟ่อ


เพลงแม่บท 4 จังหวะ (เกณฑ์ดีมาก)
เพลง  "เหลี่ยว"


    ฉก...ควิ๊ก...ไกว๊...เหลี่ยว

    ฉก...ฉก...ไกว๊...เหลี่ยว


เพลง "เลี้ยง"


    ฉก...ควิ๊ก...ไกว๊...เลี้ยง

    ฉก...ฉก...ไกว๊...เลี้ยง


เพลง "หย่อ"


    ฉก...ควิ๊ก...ไกว๊...หย่อ

    ฉก...ฉก...ไกว๊...หย่อ

    ฉก...ฟิค...ตี...ฟ่อ

    ฉก...ฟิก...ลิ...ฟ่อ


เพลง 5 จังหวะ
เพลงประกอบ 5 จังหวะ (เกณฑ์ดี)

เพลง "เหลี่ยว)


    ควิ๊ก...ฉก...ไกว๊...ตี...เหลี่ยว

    ควิ๊ก...ฉก...ไกว๊...ลิ...เหลี่ยว

    ควิ๊ก...ฉก...ตี...ไกว๊...เหลี่ยว

    ควิ๊ก...ฉก...ลิ...ไกว๊...เหลี่ยว

    ควิ๊ก...ควิ๊ก...ไกว๊...ตี...เหลี่ยว

    ควิ๊ก...ควิ๊ก...ไกว๊...ลิ...เหลี่ยว

    ควิ๊ก...ควิ๊ก...ตี...ไกว๊...เหลี่ยว

    ควิ๊ก...ควิ๊ก...ลิ...ไกว๊...เหลี่ยว

    ฉก...ควิ๊ก...ไกว๊...ตี...เหลี่ยว

    ฉก...ควิ๊ก...ไกว๊...ลิ...เหลี่ยว


เพลง "เลี้ยง"


    ควิ๊ก...ฉก...ไกว๊...ตี...เลี้ยง

    ควิ๊ก...ฉก...ไกว๊...ลิ...เลี้ยง

    ควิ๊ก...ฉก...ตี...ไกว๊...เลี้ยง

    ควิ๊ก...ฉก...ลิ...ไกว๊...เลี้ยง

    ควิ๊ก...ควิ๊ก...ไกว๊...ตี...เลี้ยง

    ควิ๊ก...ควิ๊ก...ไกว๊...ตี...เลี้ยง

    ควิ๊ก...ควิ๊ก...ตี...ไกว๊...เลี้ยง

    ควิ๊ก...ควิ๊ก...ลิ...ไกว๊...เลี้ยง

    ฉก...ควิ๊ก...ไกว๊...ตี...เลี้ยง

    ฉก...ควิ๊ก...ไกว๊...ลิ...เลี้ยง


เพลง "หย่อ"


    ควิ๊ก...ฉก...ไกว๊...ตี...หย่อ

    ควิ๊ก...ฉก...ไกว๊...ลิ...หย่อ

    ควิ๊ก...ฉก...ตี...ไกว๊...หย่อ

    ควิ๊ก...ฉก...ลิ...ไกว๊...หย่อ

    ควิ๊ก...ควิ๊ก...ไกว๊...ตี...หย่อ

    ควิ๊ก...ควิ๊ก...ไกว๊...ลิ...หย่อ

    ควิ๊ก...ควิ๊ก...ตี...ไกว๊...หย่อ

    ควิ๊ก...ควิ๊ก...ลิ...ไกว๊...หย่อ

    ฉก...ควิ๊ก...ไกว๊...ตี...หย่อ

    ฉก...ควิ๊ก...ไกว๊...ลิ...หย่อ


เพลง "ฝก"


    ฟิก...ฉก...ไกว๊...ตี...ฟ่อ

    ฟิก...ฉก...ไกว๊...ลิ...ฟ่อ

    ฟิก...ฉก...ตี...ไกว๊...ฟ่อ

    ฟิก...ฉก...ลิ...ไกว๊...ฟ่อ

    ฟิก...ฉก...ตี...ลิ...ฟ่อ

    ฟิก...ฉก...ลิ...ตี...ฟ่อ

    ฟิก...ฟิก...ไกว๊...ตี...ฟ่อ

    ฟิก...ฟิก...ไกว๊...ลิ...ฟ่อ

    ฟิก...ฟิก...ตี...ไกว๊...ฟ่อ

    ฟิก...ฟิก...ลิ...ไกว๊...ฟ่อ

    ฟิก...ฟิก...ตี...ลิ...ฟ่อ

    ฟิก...ฟิก...ลิ...ตี...ฟ่อ

    ฉก...ฟิก...ตี...ลิ...ฟ่อ

    ฉก...ฟิก...ลิ...ตี...ฟ่อ

    ฉก...ฟิก...ไกว๊...ตี...ฟ่อ

    ฉก...ฟิก...ไกว๊...ลิ...ฟ่อ


เพลงแม่บท 5 จังหวะ (เกณฑ์ดีมาก)
เพลง "เหลี่ยว"


    ฉก...ควิ๊ก...ลิ...ไกว๊...เหลี่ยว

    ฉก...ควิ๊ก...ฉก...ไกว๊...เหลี่ยว

    ฉก...ฉก...ควิ๊ก...ไกว๊...เหลี่ยว


เพลง "เลี้ยง"


    ฉก...ควิ๊ก...ลิ...ไกว๊...เลี้ยง

    ฉก...ควิ๊ก...ฉก...ไกว๊...เลี้ยง

    ฉก...ฉก...ควิ๊ก...ไกว๊...เลี้ยง


เพลง "หย่อ"


    ฉก...ควิ๊ก...ลิ...ไกว๊...หย่อ

    ฉก...ควิ๊ก...ฉก...ไกว๊...หย่อ

    ฉก...ฉก...ควิ๊ก...ไกว๊...หย่อ


เพลง "ฝก"


    ฉก...ฟิก...ลิ...ไกว๊...ฟ่อ

    ฉก...ฟิก...ตี...ไกว๊...ฟ่อ


เพลง 6 จังหวะ
เพลงประกอบ 6 จังหวะ (เกณฑ์ดี)
เพลง "เหลี่ยว"


    ควิ๊ก...ฉก...ควิ๊ก...ไกว๊...ตี...เหลี่ยว

    ควิ๊ก...ฉก...ควิ๊ก...ไกว๊...ลิ...เหลี่ยว

    ควิ๊ก...ควิ๊ก...ฉก...ไกว๊...ตี...เหลี่ยว

    ควิ๊ก...ควิ๊ก...ฉก...ไกว๊...ลิ...เหลี่ยว

    ฉก...ควิ๊ก...ฉก...ไกว๊...ตี...เหลี่ยว

    ฉก...ฉก...ควิ๊ก...ไกว๊...ลิ...เหลี่ยว


เพลง "เลี้ยง"


    ควิ๊ก...ฉก...ควิ๊ก...ไกว๊...ตี...เลี้ยง

    ควิ๊ก...ฉก...ควิ๊ก...ไกว๊...ลิ...เลี้ยง

    ควิ๊ก...ควิ๊ก...ฉก...ไกว๊...ตี...เลี้ยง

    ควิ๊ก...ควิ๊ก...ฉก...ไกว๊...ลิ...เลี้ยง

    ฉก...ควิ๊ก...ฉก...ไกว๊...ลิ...เลี้ยง

    ฉก...ควิ๊ก...ฉก...ไกว๊...ลิ...เลี้ยง


เพลง "หย่อ"


    ควิ๊ก...ฉก...ควิ๊ก...ไกว๊...ลิ...หย่อ

    ควิ๊ก...ฉก...ควิ๊ก...ไกว๊...ลิ...หย่อ

    ควิ๊ก...ควิ๊ก...ฉก...ไกว๊...ลิ...หย่อ

    ควิ๊ก...ควิ๊ก...ฉก...ไกว๊...ลิ...หย่อ

    ฉก...ควิ๊ก...ฉก...ไกว๊...ลิ...หย่อ

    ฉก...ควิ๊ก...ฉก...ไกว๊...ลิ...หย่อ

    ฟิก...ฉก...ฟิก...ไกว๊...ตี...ฟ่อ

    ฟิก...ฉก...ฟิก...ไกว๊...ลิ...ฟ่อ

    ฟิก...ฉก...ไกว๊...ตี...ลิ...ฟ่อ

    ฟิก...ฉก...ไกว๊...ลิ...ตี...ฟ่อ

    ฟิก...ฟิก...ฉก...ไกว๊...ตี...ฟ่อ

    ฟิก...ฟิก...ฉก...ไกว๊...ลิ...ฟ่อ

    ฟิก...ฟิก...ฉก...ตี...ลิ...ฟ่อ

    ฟิก...ฟิก...ฉก...ลิ...ตี...ฟ่อ

    ฉก...ฟิก...ฉก...ลิ...ตี...ฟ่อ

    ฉก...ฟิก...ฉก...ไกว๊...ลิ...ฟ่อ

    ฉก...ฟิก...ไกว๊...ลิ...ตี...ฟ่อ


เพลงแม่บท 6 จังหวะ (เกณฑ์ดีมาก)
เพลง "เหลี่ยว"


    ฉก...ควิ๊ก...ฉก...ลิ...ไกว๊...เหลี่ยว

    ฉก...ฉก...ควิ๊ก...ลิ...ไกว๊...เหลี่ยว


เพลง "เลี้ยง"


    ฉก...ควิ๊ก...ฉก...ลิ...ไกว๊...เหลี่ยว

    ฉก...ฉก...ควิ๊ก...ลิ...ไกว๊...เลี้ยง


เพลง "หย่อ"


    ฉก...ควิ๊ก...ฉก...ลิ...ไกว๊...หย่อ

    ฉก...ฉก...ควิ๊ก...ลิ...ไกว๊...หย่อ


เพลง "ฝก"


    ฉก...ฟิก...ฉก...ลิ...ไกว๊...ฟ่อ

    ฉก...ฟิก...ไกว๊...ลิ...ตี...ไกว๊...ฟ่อ


เพลง 7 จังหวะ
เพลงประกอบ 7 จังหวะ (เกณฑ์ดี)
เพลง "เหลี่ยว"


    ควิ๊ก...ฉก...ควิ๊ก...ฉก...ตี...ไกว๊...เหลี่ยว

    ควิ๊ก...ฉก...ควิ๊ก...ฉก...ลิ...ไกว๊...เหลี่ยว

    ควิ๊ก...ฉก...ควิ๊ก...ฉก...ไกว๊...ตี...เหลี่ยว

    ควิ๊ก...ฉก...ควิ๊ก...ฉก...ไกว๊...ลิ...เหลี่ยว

    ควิ๊ก...ควิ๊ก...ฉก...ลิ...ไกว๊...ตี...เหลี่ยว

    ควิ๊ก...ควิ๊ก...ฉก...ลิ...ไกว๊...ลิ...เหลี่ยว

    ฉก...ควิ๊ก...ฉก...ควิ๊ก...ไกว๊...ตี...เหลี่ยว

    ฉก...ควิ๊ก...ฉก...ควิ๊ก...ไกว๊...ลิ...เหลี่ยว


เพลง "เลี้ยง"


    ควิ๊ก...ฉก...ควิ๊ก...ฉก...ตี...ไกว๊...เลี้ยง

    ควิ๊ก...ฉก...ควิ๊ก...ฉก...ลิ...ไกว๊...เลี้ยง

    ควิ๊ก...ฉก...ควิ๊ก...ฉก...ไกว๊...ตี...เลี้ยง

    ควิ๊ก...ฉก...ควิ๊ก...ฉก...ไกว๊...ลิ...เลี้ยง

    ควิ๊ก...ควิ๊ก...ฉก...ลิ...ไกว๊...ตี...เลี้ยง

    ควิ๊ก...ควิ๊ก...ฉก...ลิ...ไกว๊...ลิ...เลี้ยง

    ฉก...ควิ๊ก...ฉก...ควิ๊ก...ไกว๊...ตี...เลี้ยง

    ฉก...ควิ๊ก...ฉก...ควิ๊ก...ลิ...ไกว๊...ลิ...เลี้ยง


เพลง "หย่อ"


    ควิ๊ก...ฉก...ควิ๊ก...ฉก...ตี...ไกว๊...หย่อ

    ควิ๊ก...ฉก...ควิ๊ก...ฉก...ลิ...ไกว๊...หย่อ

    ควิ๊ก...ฉก...ควิ๊ก...ฉก...ไกว๊...ตี...หย่อ

    ควิ๊ก...ฉก...ควิ๊ก...ฉก...ไกว๊...ลิ...หย่อ

    ควิ๊ก...ควิ๊ก...ฉก...ตี...ไกว๊...ลิ...หย่อ

    ควิ๊ก...ควิ๊ก...ฉก...ลิ...ไกว๊...ตี...หย่อ

    ฉก...ควิ๊ก...ฉก...ตี...ไกว๊...ลิ...หย่อ

    ฉก...ควิ๊ก...ฉก...ลิ...ไกว๊...ตี...หย่อ


เพลง "ฝก"


    ฟิก...ฉก...ฟิก...ไกว๊...ตี...ลิ...ฟ่อ

    ฟิก...ฉก...ฟิก...ไกว๊...ลิ...ตี...ฟ่อ

    ฟิก...ฉก...ฟิก...ตี...ไกว๊...ลิ...ฟ่อ

    ฟิก...ฉก...ฟิก...ลิ...ไกว๊...ตี...ฟ่อ

    ฟิก...ฟิก...ฉก...ไกว๊...ตี...ลิ...ฟ่อ

    ฟิก...ฟิก...ฉก...ไกว๊...ลิ...ตี...ฟ่อ

    ฟิก...ฟิก...ฉก...ลิ...ไกว๊...ตี...ฟ่อ

    ฟิก...ฟิก...ฉก...ลิ...ไกว๊...ลิ...ฟ่อ


เพลงแม่บท 7 จังหวะ (เกณฑ์ดีมาก)
เพลง "เหลี่ยว"


    ฉก...ควิ๊ก...ฉก...ควิ๊ก...ลิ...ไกว๊...เหลี่ยว

    ฉก...ฉก...ควิ๊ก...ไกว๊...ลิ...ไกว๊...เหลี่ยว


เพลง "เลี้ยง"


    ฉก...ควิ๊ก...ฉก...ควิ๊ก...ลิ...ไกว๊...เลี้ยง

    ฉก...ฉก...ควิ๊ก...ไกว๊...ลิ...ไกว๊...เลี้ยง


เพลง "หย่อ"
(เพลง "หย่อ" ที่เป็นเพลงแม่บท 7 จังหวะ จะหานกร้องเพลงนี้ได้ยากมาก)


    ฉก...ควิ๊ก...ฉก...ควิ๊ก...ลิ...ไกว๊...หย่อ

    ฉก...ฉก...ควิ๊ก...ไกว๊...ลิ...ไกว๊...หย่อ


เพลง "ฝก"


    ฉก...ฟิก...ฉก...ฟิก...ลิ...ไกว๊...ฟ่อ

    ฉก...ฉก...ฟิก...ไกว๊...ลิ...ไกว๊...ฟ่อ


         การให้คะแนนของกรรมการแต่ละรอบหรือแต่ละยก ได้จากการเดินฟังเสียงนกรอบสนาม และคัดนกที่ไม่ร้องออกเหลือนกที่ร้องไว้ชิงชนะ ในรอบที่ 2 หรือยก 2 และคัดอีกรอบหนึ่งเป็นรอบที่ 3 หรือยก 3 เมื่อครบ 3 ยกแล้ว (จะแข่งกี่รอบหรือกี่ยกก็ได้) กรรมการจะนำคะแนนมารวมใหม่โดยจัดลำดับให้นกที่มีคะแนนมากๆ ได้เป็นนกที่ชนะลำดับแรก และลดหลั่นลงตามลำดับ



ขอขอบคุณ  หนังสือนกเขาชวา นกกรงหัวจุก  เขียนโดย  รองศาสตราจารย์มัลลิกา  คณานุรักษ์ 

แข่งนกกรงหัวจุก สื่อสมานฉันท์ แบ่บ กำปง กำปง ชายแดนใต้ ...

แข่งนกกรงหัวจุก สื่อสมานฉันท์ แบ่บ กำปง กำปง ชายแดนใต้ ..

" แข่งนก "  ต้นตำรับสมานฉันท์ พุทธ - มุสลิม ฉบับชาวบ้าน ชายแดนใต้ ..........
..............  อดใจไม่ได้จริงๆ ที่ต้องฝ่าเปลวแดดเปรี้ยงท่ามกลางภาวะโลกร้อน ( ร้อนจริง ๆไม่ขี้หก )  คว้ากล้องคู่ใจไปบันทึกภาพ การแข่งขันประชันเสียง นกกรงหัวจุก ที่สนามหญ้า ริมถนนหนองจิก ทางเข้าเมืองปัตตานี เมื่อช่วงสายแก่ ๆ เกือบจะเที่ยง ของวันนั้น ที่เพิ่งจะผ่านมา ไม่กี่วัน ...............
.............. "  เชิญร่วมงาน   มหกรรมกินลองกอง ฟังเสียงนก รวมใจคนตานี "    จัดโดย ชมรมนกกรงหัวจุกปัตตานี และชมรมส่งเสริมการเพาะเลี้ยงนกกรงหัวจุกภาคใต้  ..... ใบปลิวเขาโปรยหัวตัวเป้ง ว่าอย่างนั้น .....
............. "  นกกรงหัวจุก ที่เอามาแข่งที่นี่ ส่วนใหญ่จะเป็นนกที่เพาะเลี้ยง ขยายสายพันธุ์กันเองในพื้นที่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  ไม่มีนกป่า จากที่อื่นมาปะปน เราไม่ส่งเสริม.... เพราะเป็นผิดกฎหมายเนื่องจากนกกรงหัวจุกเป็นสัตว์คุ้มครอง " ....
............ Mr. Mustorfar Yormae ( แน่ะ เดาะภาษาประกิตซะด้วย )หรือ หรือที่ชาวตานี  เรียก แบมุสตอฟา ยอแม ประธานชมรมฯกล่าวด้วยความภาคภูมิใจ ขณะที่มือกำไมโครโฟน ตะโกนบอก ผู้ที่นำนกเข้ามาแข่งขัน ให้รักษา กฏ กติกา มารยาท ห้ามล้ำเส้น หรือ เชือก ที่กั้นรอบสนาม กันไม่ให้เข้า ใกล้กรงนก เพราะจะทำให้ "  นกตื่น " ( แปลว่า =  ตกใจ ไม่ใช่แข็งตัว ) ไม่มีสมาธิในการขัน ... ท่ามกลางเสียงร้องเซ็งแซ่ .. ฟี๊ ดดด .... เฟี้ยว ... ของนกกรงหัวจุก กว่า 1,000 นก ที่ถูกส่งเข้าประชันเสียงในครั้งนี้ .......
.......... ส่วนรางวัลที่ทางผู้จัด เตรียมไว้ เพื่อ มอบให้ผู้ เจ้าของนกที่ชนะเลิศ และเข้ารอบลึกๆ มีมากมาย กว่า 100 รางวัล อาทิ แม่วัว จำนวน 3 ตัว ราคา กว่า 20,000 บาท ( ที่นี่ เขาแข่ง นก ชิง วัว )  สำหรับผู้ที่ได้รางวัล ที่ 1-2 และ 3  ส่วนผู้ที่ได้รับรางวัลลดหลั่นลงมา จะได้ ตู้เย็น โทรทัศน์ พัดลม เครื่อง ซักผ้า เตารีด รถจักยาน อาหารนก และ อื่นๆอีกมากมายนับไม่ถ้วน ..  ซึ่งเจ้าภาพ ยืนยัน จะแจก หมดครบทุกรางวัล ไม่มีการ กั๊ก ของเอาไว้ ยกเว้น " ฝนตก " ทำให้วงแตกทั้งคน ทั้งนก ....
.......... และที่ขาดเสียไม่ได้ ก็คือ "  ถ้วยรางวัล  "   เพื่อเป็นสิ่งยืนยัน การันตี คุณภาพเสียงของนก ซึ่งจะมีผลในการ  "  คัดเลือกสายพันธุ์ " และ " เพิ่มมูลค่า"  ให้นกตัวนั้นๆ ในตลาดซื้อขายนกกรงหัวจุก  เป็นการกระตุ้นสภาพเศรษกิฐในพื้นที่ ไปโดยปริยาย  ....
..........  สำคัญสุด ๆ ซึ่ง หลายคนมองข้ามไป ( อันนี้คิดเอาเอง ) มหกรรมการแข่งนก ไม่ว่า จะเป็น " นกกรงหัวจุก " หรือ "  นกเขา "  ที่จัดขึ้นในแต่ละครั้ง ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ หากมองกันให้ลึก ๆ นอกเหนือจะ มีผลในการ กระตุ้นเศรษฐกิจ และ รักษาสายพันธุ์นกในท้องถิ่นแล้ว ..........ที่สำคัญมากกว่านั้น คือ เป็นการเสริมสร้าง " ความสมานฉันท์ " ของคนในพื้นที่ ไปอย่างไม่รู้เนื้อ รู้ตัว .........
.......... เพราะการ " แข่งนก " ในแต่ละครั้ง จะมีบรรดา เจ้าของนก ที่ เป็นทั้ง " ไทยพุทธ และ มุสลิม " จำนวนมาก เดินทางมารวมกัน ณ ที่แห่งเดียว เป้าหมายเดียว คือ นำนกมาแข่ง ประชันเสียง ไม่มี เรื่องอื่น เข้ามาพัวพัน และส่วนใหญ่มักมีความรู้จักมักคุ้น เนื่องจาก เคย เจอกันมาแล้วหลายสนาม เจอหน้ากัน ก็ไถ่ถามสารทุกข์ สุกดิบ ตามประสาคนคุ้นเคย  ......
.......... โดยมี " นก " ..... เป็นสื่อ กลาง ในการสร้างความ " สมานฉันท์ " แบบ บ้าน ๆ แต่ " จริงใจ " ....ไม่ต้อง มีใคร ...มาบังคับ ให้ ฝืน ความรู้สึก ที่จะทำ ........................

.... นกมารยาทดี .. สวัสดีครับ ท่านผู้ชม....

... นกกรงหัวจุก สมานฉันท์ .. ไม่แบ่งเชื้อชาติ ศาสนา ..

.... ท่ามกลาง ท้องฟ้า อากาศ ที่แสนจะเป็นใจ ..

..... เอานกไปแขวน แล้ว ออกมานั่งลุ้นนอกขอบสนาม ...

.... โชว์พลังเสียง .. ฟี๊ดดดดดดดด .... เฟี้ยว ววววววว ...
 
... เจ้าของ นก ลุ้นน่าดู ..

... กรรมการ ( ผู้เชี่ยวชาญฟังเสียงนก) ..เริ่มส่อดส่ายสายตา ...

 .... ฟังเสียงนก แล้วให้คะแนน ...

... แข่งนกแต่ละครั้ง รอบๆสนามเกิดตลาดนัด ขนาดย่อม ..

.... ขายลูกนกกรงหัวจุก ที่เพาะเลี้ยงมาเอง ...

.... อายุ 3-4 เดือน ขายแค่ ตัวละ 35 บาท ขาดตัว ..
... เอ้า เร่เข้ามาครับ ตาดีได้ ตาร้าย เสีย ..

.... ผม ขายกรงนกขังครับ ...

... ส่วนของรางวัล มีมากมาย นับ 100 รายการ ..
... มีตี้งแต่ แม่วัว ยัน เครื่องใช้ไฟฟ้า ..

... บางคน นำนกมาประชันเสียงมากกว่า 1 ตัว..
... ก็ไม่ผิดกติกา ของ"  สมาพันธ์แข่งนกกรงหัวจุกโลก " แต่อย่างใด ..
... ไม่มีหรอก เขียนเอาเอง ..

.... แข่งเสร็จ ก็เก็บนก ..
.... ทำไม ไม่ขันเลยว๊ะ .. ทั้งตัวในกรง และ ตัวในเป้า ..

... มาหย็อบแล เขาแข่งนก  ...

การแข่งขันแบบนับดอก

 

วิธี การจับเวลา กรรมการจับเวลาจะเป่านกหวีดเสียงดังปิ้ดๆๆๆๆ4-5 ครั้ง แสดงว่าให้กรรมการตัดสินเตรียมตัว จากนั้นก็นำกะลามะพร้าวที่เจาะรูปใส่ในถังน้ำ น้ำก็จะเข้าในรูกะลาจนเต็มกะลาจมน้ำ ใช้เวลา 45 นาที ก็ถือว่าเป็น 1 ยก เมื่อหมดยก กรรมการจับเวลาก็จะเป่านกหวีด ปิ้ดยาวๆ ทำเช่นนี้ไปจนครบ 4 ยก เหมือนกับจับเวลาในการแข่งขันชนไก่
3.4 กติกา การตัดสิน 4 ยก 3 ดอก มีคะแนนเต็ม 12 คะแนน หมายถึง แข่งขัน 4 ครั้ง หรือ 4 ยก ๆ ละ 45 นาที 3 ดอก หมายถึงในแต่ละยก นกกรงหัวจุกต้องร้องตั้งแต่ 3 คำหรือ 3 พยางค์ขึ้นไป หรือที่เรียกว่า ร้องเป็นเพลง ถึง 3 ครั้งขึ้นไป ตัวอย่าง ถ้าร้องว่า ฟิก-เฟี้ยว อย่างเดียวถือว่าร้องไม่เป็นเพลง ไม่ได้คะแนน ถ้าร้องฟิก-เฟี้ยว แล้วมีเสียงสร้อยตามเป็นคำที่ 3 ถึงคำที่ 7 ถือว่าร้องเป็นเพลงและได้คะแนน การให้คะแนนในใบบันทึกคะแนนจะให้คะแนนเป็นล๊อคๆ

การให้คะแนนมีดังนี้
3.4.1 ใน 1 ยก ถ้านกกรงหัวจุกไม่ร้องได้แต่กระโดดไปมา ก็ถือว่าได้คะแนนศูนย์
3.4.2 ใน 1 ยก ถ้านกกรงหัวจุกร้องได้แต่ ฟิก-เฟี้ยว หรือได้ 2 คำตลอดจนหมดยก ก็ถือว่าได้คะแนนศูนย์
3.4.3 ใน 1 ยก ถ้านกกรงหัวจุกร้องได้ ฟิก-เฟี้ยว และมีสร้อยตามเป็นคำที่ 3 ขึ้นไป ก็ถือว่าร้องเป็นเพลง ดังนั้นใน 1 ยก ถ้านกร้องได้เป็นเพลง 1 ครั้ง ก็ถือว่าได้คะแนน 1 คะแนน หรือ 1 ดอก
3.4.4 ใน 1 ยก ถ้านกกรงหัวจุกร้องได้เป็นเพลง 2 ครั้ง ก็ถือว่าได้ 2 คะแนน หรือ 2 ดอก
3.4.5 ใน 1 ยก ถ้านกกรงหัวจุกร้องได้เป็นเพลง 3 ครั้งขึ้นไป ก็ถือว่าได้ 3 คะแนน หรือ 3 ดอก ซึ่งเป็นคะแนนเต็ม คือ 12 คะแนน
3.5 กรรมการตัดสิน
3.5.1 กรรมการตัดสิน ใช้ชุดละ 2 คน ให้กรรมการ 1 คน จะเป็นผู้บอกสัญญาณว่านกกรงหัวจุกกรงไหนร้องหรือไม่ โดยทำมือกางออกมาแล้วทำมือสั่นๆ กรรมการอีก 1 คน จะดูว่านกกรงหัวจุกกรงไหนเบอร์ไหนร้องหรือไม่ร้อง ถ้านกกรงหัวจุกร้องเป็นเพลง ก็จะยกนิ้ว 1 นิ้ว แสดงว่านกร้อง 1 ดอก ยก 2 นิ้ว ก็ 2 ดอก ยก 3 นิ้ว 3 ดอก ก็แสดงว่าในยกนั้นได้คะแนนเต็ม ให้ตามหลักเกณฑ์ ถ้ามีผู้ส่งนกเข้าประกวดแข่งขันมาก ก็เพิ่มกรรมการตัดสิน
3.5.2 กรรมการตัดสินต้องฟังเสียงนกหวีดของกรรมการจับเวลาด้วย
3.5.3 การตัดสิน จะแบ่งเป็นล๊อค ๆ ละ 4 ตัว หรือ 4 กรง แต่เวลาฟังเสียงนกกรงหัวจุกร้องใน 1 ยก จะให้คะแนนครั้งละ 2 ตัว หรือ 2 กรง รวม 4 ยก หรือ 4 ครั้ง ดังนั้นนกกรงหัวจุกแต่ละตัวจะต้องให้คะแนน 4 ครั้ง สำหรับกรณีที่เหลือนกล๊อคสุดท้าย 3 ตัว บางทีกรรมการตัดสินก็จะตัดสิน 3 ตัว หรือ 3 กรงเลย เพราะว่ามีเวลาน้อย
3.6 กรรมการรวมคะแนน
ในแต่ละยกจะมีกรรมการไปรับใบบันทึกคะแนนจากกรรมการตัดสินแล้วมาส่งให้คณะ กรรมการรวมคะแนน กรรมการรวมคะแนนก็จะนำใบบันทึกคะแนนมาลงไว้ในบอร์ดหรือป้ายใหญ่ ซึ่งเป็นเบอร์กรงนกแต่ละกรงว่าแต่ละยกแต่ละตัวได้คะแนนเท่าไหร่ เมื่อครบ 4 ยก กรรมการก็รวมคะแนนว่า นกเบอร์ไหนกรงไหนได้คะแนน 12 คะแนน หรือ 12 ดอก ถือว่าได้คะแนนเต็ม ให้กรรมการรวมคะแนน คัดเบอร์นกที่ได้คะแนนเต็มไปให้กรรมการตัดสิน แยกนกและกรงนกที่ได้คะแนนเต็ม มาตัดสินในรอบชิงชนะเลิศอีกครั้งหนึ่ง
3.7 เมื่อการแข่งขันครบ 4 ยกแล้ว ก็จะหยุดพัก 5 นาที เพื่อให้เจ้าของนกที่เข้ารอบชิงชนะเลิศให้น้ำให้อาหารแก่นกกรงหัวจุกของตน เพราะนกเมื่ออยู่กลางแดดและร้อนประกอบกับร้องมาแล้วตั้ง 4 ยก ก็ต้องหิวน้ำ เพราะถ้านกขาดน้ำเสียงจะแทบ ก็เหมือนคนที่พูดมากๆ สำหรับการหยุดพักนี้ ก็เหมือนการแข่งขันไก่ชน เมื่อหมดยก ก็ต้องนำไก่มาให้น้ำ และเช็ดตัวไก่
3.8 ในยกสุดท้ายเป็นยกตัดสินชิงชนะเลิศ
กรรมการจับเวลา กรรมการตัดสิน ก็ทำเช่นเดียวกับการตัดสินครั้งแรก แล้วตัดสินออกมาเป็นครั้งสุดท้าย ตามเท่าที่มีรางวัลให้แก่ผู้ชนะการประกวด โดยกรรมการต้องตัดสินทีละตัว การประกวดแข่งขันประชันเสียงนกกรงหัวจุกนั้น ต้องใช้เวลามาก เพราะต้องตัดสินนกทุกตัวการตัดสินอาจจะมีกรณี ดังนี้
3.8.1 กรณีนกกรงหัวจุกชิงชนะเลิศกัน 5 ตัว เพราะมี 5 รางวัล ถ้านกกรงหัวจุกร้องเป็นเพลง ตัดสินแล้วมีนกได้รางวัลที่ 1 และรางวัลที่ 2 ตัวที่ 3-5 ไม่ร้อง ก็สามารถจับฉลากได้คือจับฉลากรางวัลที่ 3 ที่ 4 และที่ 5
3.8.2 กรณีที่นก่ชิงชนะเลิศทุกตัวไม่ร้องเลย ก็ปล่อยต่อไปจนกว่าว่านกจะร้องแล้วจึงตัดสิน
3.8.3 ถ้าในรอบชิงชนะเลิศฝนตก ก็ให้ใช้วิธีจับฉลากว่าเบอร์ไหน กรงไหนได้รางวัลที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ไปเลย
3.9 การมอบรางวัลให้แก่เจ้าของนกกรงหัวจุกที่ชนะการประกวด
3.9.1 ให้กรรมการฝ่ายตัดสินนำผลการให้คะแนนให้ฝ่ายประชาสัมพันธ์ประกาศ ให้ผู้ชนะได้รับรางวัลไปพบกรรมการฝ่ายพิธีการที่เต้นท์อำนวยการ และให้นำผลการประกวดให้ฝ่ายพิธีการด้วย เพื่อจัดเตรียมรางวัล
3.9.2 กรรมการฝ่ายพิธีการ เมื่อผู้ได้รับรางวัลมาแล้ว ต้องจัดเก้าอี้ให้ผู้ชนะการประกวดนั่งเรียงตามลำดับที่ได้รับรางวัล เพื่อเข้ารับรางวัลต่อไป
3.9.3 กรรมการฝ่ายพิธีการต้องประสานกับกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ในการเชิญประธานใน พิธีมอบรางวัลที่โพเดี่ยม และเชิญเจ้าของนกกรงหัวจุกที่ได้รับรางวัล เข้ารับรางวัลจากประธาน
3.9.4 กรรมการฝ่ายพิธีการ ต้องจัดเจ้าหน้าที่นำรางวัลไปให้ประธานในพิธีแล้วประธานในพิธีก็มอบรางวัล ให้เจ้าของนกที่ชนะการประกวดต่อไป เป็นการจบการประกวดแข่งขันประชันเสียงนกกรงหัวจุก

การแข่งขันประเภทสากล

 


การแข่งขันประเภทสากล
การแข่งขันแบบนี้มักจะเน้นที่ความสวยงามสมส่วนหรือความสง่างามของลีลาและ สำนวนเพลงร้องของแต่ละตัวว่าดีหรือไม่ การแข่งขันแต่ละครั้งจะไม่จำกัดยกและการแข่งขันแต่ละครั้ง สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ
1.อุปกรณ์สนาม
ราวเหล็กซึ่งทำจากเหล็กแป๊บขนาด 1 นิ้ว นำมาประกอบเป็นราวสูง 2.6 เมตร กว้าง 1.8 เมตร ยาว 2.4 เมตร ความยาวแต่ละช่วงแขวนนกได้ 3 กรง แต่ละกรงห่างกัน 80 เซ็นติเมตร ทั้งหมดใน 1 ล๊อคสามารถแขวนนกได้ 9 ตัว คือ 3 แถว ใน 1 ล๊อค
2.การแข่งขัน
เพื่อป้องกันความวุ่นวายในระหว่างการเชียร์นกของแต่ละคน ควรมีเชือกแนวกั้นห่างจากราวนก 3.5 เมตร ในการแข่งขันแต่ละครั้งกรรมการจะทำเบอร์ล๊อคและเบอร์นกเอาไว้ ทำให้ง่ายเวลาให้คะแนน
3.สนาม
การแข่งขันแบบนี้มักจะจัดในที่โล่งเพื่อให้กว้างพอสำหรับเชียร์นกและพอสำหรับจอดรถ
4.เวลาการแข่งขัน
การแข่งขันแบบสากลจะแบ่งเป็นยกๆ แต่ละยกจะใช้เวลาไม่เท่ากัน แต่ยกแรกจะใช้เวลามากที่สุด เพื่อปล่อยให้นกปล่อยลีลาได้เต็มที่ก่อนที่จะเข้าสู่การแข่งขัน และคัดเลือกของคณะกรรมการ โดยปกติแล้วแต่ละยกจะใช้เวลาแข่งขันโดยประมาณคือ
- ยกที่ 1 เวลา 30-40 นาที
- ยกที่ 2 เวลา 30 นาที
- ยกที่ 3 เวลา 25 นาที
- ยกที่ 4 เวลา 25 นาที
- ยกที่ 5 เวลา 20 นาที
5.การแข่งขัน
การแข่งขันใช้กรรมการ 3คน/ชุด ทำหน้าที่คัดนกออกให้เหลือเท่ากับจำนวนรางวัลที่จัดไว้ กรรมการทั้งสามคนจะยึดกฏกติกาเดียวกัน โดยจะเดินวนรอบๆ ราวแขวนนกระยะพอประมาณ กรรมการ 1 คน สังเกตนก 6 - 9 ตัว รอบแรกจะคัดเอานกที่ไม่ร้องหรืออยู่นิ่งๆ ขนพองฟูออก ซึ่งแสดงว่านกไม่มีใจสู้ กรรมการจะจดหมายเลขนกตั้งนั้นเอาไว้ ถ้านกตัวใดถูกกรรมการ 2 - 3 คน จดหมายเลขซ้ำก็ถือว่าตกรอบ นกที่เหลือก็จะถูกยุบเข้าไปอยู่บนราวเดียวกัน เหลือจำนวนน้อยลงไปเรื่อยๆ ให้สังเกตุว่ายกที่ 1 - 3 นกที่ตกรอบเป็นนกที่ใจไม่สู้ ไม่ร้อง ไม่โชว์ลีลาอะไร
ยกที่ 4 กรรมการจะเน้นที่เสียงร้องเป็นพิเศษ นกที่ผ่านยกที่ 1 - 3 มาได้ แต่ไม่มีเสียงร้องในยกนี้ แม้จะมีลีลาดีเพียงใดก็ต้องตกรอบไป เพราะก่อนจะเข้ารอบรองชนะเลิศกรรมการจะพิจารณาเสียงเป็นหลัก

หลังจากคัดเลือกนกเหลือเท่ารางวัล กรรมการจะหยุดพัก 5 นาที ให้เวลาเจ้าของนกทำให้นกสดชื่น ตื่นตัวและคึกคัก พร้อมเข้าแข่งรอบชิงชนะเลิศ ในช่วงเวลา 5 นาทีนี้ สิ่งที่เจ้าของนกส่วนมากจะทำคือ
- ป้อนอาหารที่เรียกพลัง เช่น ตั๊กแตน หนอน ให้นกอิ่มให้มีพลังร้องอย่างเต็มที่ในยกต่อไป
- นำอาหารอื่นที่เหลืออยู่ในกรงออกไปให้หมด ให้เหลือเพียงน้ำอย่างเดียว นกจะได้ไม่สนใจอาหาร อยากให้ร้องอย่างเดียว
- เปลี่ยนน้ำให้นก เพราะอาจสกปรกและร้อนเกินไป
- ล้างถาดรองกรง ราดน้ำให้เปียก อาศัยไอเย็นจากน้ำช่วยให้นกสดชื่น

รอบชิงชนะเลิศ กรรมการแต่ละคนจะเดินรอบสนามหรือราวนกเพื่อให้คะแนนหลายๆ รอบจนครบหมดทุกตัว ในการตัดสินรอบแรกจะดูนกที่ร้องก่อนนกตัวอื่นๆ โดยตรง ใช้ระยะเวลาในการเดินให้คะแนนคนละเท่าๆ กันคือ 1 นาทีต่อ 1 ล๊อค ดูนกประมาณ 3 ตัว เมื่อพบนกตัวใดร้องก็จะจัดการให้คะแนนตามแบบฟอร์ม โดยจะดูลักษณะเสียงร้องและลีลาการร้องประกอบกัน ส่วนนกที่ไม่ร้องในการเดินรอบแรก กรรมการก็จะยังไม่ให้คะแนน แต่ในรอบที่ 2 กรรมการจะต้องให้คะแนนนกที่ครบทุกตัว แม้ว่าจะไม่ร้องก็ตาม เมื่อกรรมการแต่ละตัวตัดสินนกจนครบทุกตัวก็ถือว่าเป็นการสิ้นสุดการให้คะแนน และสรุปผลการตัดสินต่อไป

แบบฟอร์มการให้คะแนน (แบบที่ 1)
น้ำเสียง 45 คะแนน
สำนวน 30 คะแนน
รูปร่าง ลีลา 20 คะแนน
ริก 5 คะแนน
รวม 100 คะแนน
แบบฟอร์มการให้คะแนน (แบบที่ 2)
เสียงร้อง 30 คะแนน
สำนวน 30 คะแนน
ความขยัน 25 คะแนน
ลีลาและรูปร่าง 10 คะแนน
ริก 5 คะแนน
รวม 100 คะแนน

ตำนานนกกรงหัวจุก

ตำนานนกกรงหัวจุก


            นก กรงหัวจุก ที่เราๆท่านๆ นำมาแข่งขันประชันเสียงกันนั้น มีตำนานเล่าสืบต่อกันมา และมีหนังสือบางเล่ม ได้เขียนเอาไว้ว่าชนชาติแรกที่นำนกปรอดหัวจุกมาเลี้ยงคือชาวจีน  เมื่อประมาณ พ.ศ.2410 คนจีนได้นำนกปรอดหัวจุกมาเลี้ยงแทนนกโรบิ้น ที่คนจีนส่วนใหญ่นิยมนำมาใส่กรงพาเดินไปตามถนนหรือนั่งร้านกาแฟ หรือไปหาเพื่อนๆ ที่รู้ใจและเลี้ยงนกเหมือนกัน และเจ้านกโรบิ้น มักจะเป็นนกที่ตกใจง่ายและตื่นคน บางครั้งตกใจมากจนถึงขั้นช๊อคตายคากรง ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้ชาวจีนกันมาเลี้ยงนกปรอดหัวจุกหรือนกหัวจุกกันอย่าง แพร่หลาย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

           นกกรงหัวจุกมีถิ่นอาศัยอยู่ในแถบประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น ในทวีปเอเซีย พบได้ ประเทศจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม กัมพูชา ลาว ส่วนใหญ่ เราจะพบนกชนิดนี้ได้ทั่วทุกภาคของประเทศ

          นกกรงหัวจุกเป็นที่นิยมของคนภาคใต้มายาวนาน โดยได้รับอิทธิพลมาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย นั่นคือการแข่งขันประชันเสียงเพลงที่มีลีลาการร้องของสำนวนเสียง ในนกแต่ละตัวว่าใครจะเหนือกว่ากัน แต่ในสมัยก่อนของภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดสตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส กระบี่ นครศรีธรรมราช นิยมนำนกกรงหัวจุกมาชนกันหรือตีกันเหมือนกับการชนไก่ คือเอานกมาเทียบขนาดให้ใกล้เคียงกันแล้วจับใส่กรงกลางที่มีขนาดใหญ่แล้ว ปล่อยให้นกทั้งสองตัวไล่จิกตีกันภายในกรงจนกว่าจะรู้แพ้รู้ชนะ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่านกปรอดหัวจุก มีนิสัยดุร้ายและชอบไล่จิกและตีกัน ตามธรรมชาติอยู่แล้ว

         การแข่งขันนกกรงหัวจุกได้มาเปลี่ยนแปลงไปเมื่อประมาณปี พ.ศ.2515 เพราะว่าชาวจังหวัดสงขลา มีแนวความคิดที่จะเปลี่ยนจากการตีกันมาเป็นแบบแข่งขันประชันเสียง โดยเอาแบบมาจากการแข่งขันของนกเขาชวา คือนำนกป่าที่ต่อมาได้นำมาเลี้ยงและฝึกให้เกิดความเชื่องกับคนเลี้ยงหรือ เชื่องกับผู้ที่เป็นเจ้าของ พร้อมกับฝึกให้นกมีความสามารถในการร้องในลีลาต่างๆ ตามแต่ที่นกในแต่ละตัวจะทำได้ และผู้เล่นนกกรงหัวจุกก็เริ่มเปลี่ยนการละเล่นที่นำนกมาตีกัน มาเป็นอย่างเดียวกันกบนกเขาชวา คือการเล่นฟังเสียงอันไพเราะของนก จากนั้นการแข่งขันประชันเสียงของนกกรงหัวจุกก็เริ่มมีผู้นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จึงได้จัดให้มีการแข่งขันขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อปี พ.ศ. 2519 ที่สนามบริเวณหลังสถานีรถไฟเมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งในการจัดครั้งนั้นถือว่าเป็นรายการใหญ่ที่สุดในยุคนั้น และได้ยกเลิกการแข่งขันนกกรงหัวจุกในแบบตีกัน ต่อมาเมื่อประมาณ พ.ศ.2520 ทางจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้จัดให้มีการรวมกลุ่มผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุก โดยจัดตั้งขึ้นเป็นชมรม ซึ่งทำให้ทุกวันนี้มีชมรมต่างๆ เกิดขึ้นอย่างมากมาย

           กรุงเทพมหานคร ได้มีการเล่นนกกรงหัวจุก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2524 โดยมีกลุ่มคนทางภาคใต้นำเอากีฬาชนิดนี้เข้ามาเผยแพร่ให้เป็นทีรู้จักและได้ จัดให้มีการแข่งขัน ขึ้นเป็นครั้งแรกที่ตลอดสวนจตุจักร และนับแต่นั้นมากระแสความนิยมแข่งขันประชันเสียงของนกกรงหัวจุกก็ได้รับความ นิยมสืบมาจนถึงปัจจุบัน

สายพันธุ์ปรอด

            นกกรงหัวจุก มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า นกปรอดหัวโขนเคราแดง หรือนกพิชหลิว ชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus Jocosus เป็นนกที่มีการคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 17 ให้เป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้

           วงศ์สกุล (GENUS) ของนกปรอดมีมากมายหลายชนิด วงศ์นกปรอด (Family Pycnonotidae) เป็นนกที่มีชนิดมากที่สุด ซึ่งในแต่ละชนิดก็มีเป็นจำนวนมาก และที่ถูกค้นพบมากที่สุดคือประเทศฟิลิปปินส์ ส่วนในประเทศไทยมีรายงานการค้นพบนกปรอดทั้งหมด ประมาณ 36 ชนิด โดยที่ปรอดทั่วโลกมีประมาณ 109 ชนิด

นกปรอดหัวโขนเคราแดงชื่อสามัญ                          Red - whiskered Bulbul
ลักษณะทั่วไป                  มีลายขาวแดงที่ข้างแก้ม


นกปรอดหัวโขนก้นเหลือง
ชื่อสามัญ                         Brown - brested Bulbulo


นกปรอดคอลายชื่อสามัญ                        Stripe - throated Bulbul

นกปรอดก้นแดง หรือปรอดคางแพะชื่อสามัญ                        Black - capped Bulbul

นกปรอดหน้านวลก้นเหลืองของตาขาวชื่อสามัญ                       Yellow - vented Bulbul

นกปรอดเหลืองหัวจุกชื่อสามัญ                       Black - crested Bulbul

นกปรอดสวนชื่อสามัญ                       Blanfords Bulbul

นกปรอดโอ่งชื่อสามัญ                      White - throated Bulbul

นกปรอดทอง
ชื่อสามัญ                     Black - headed Bulbul


               นกปรอดหัวจุกที่นิยมนำมาแข่งขันกันนั้น จะนิยมนำนกปรอดหัวโขนเคราแดง หรือที่ภาคใต้เรียกว่านกหัวจุก ภาคเหนือนิยมเรียกว่านกปริ๊จจะหลิวหรือพิชหลิว ส่วนในสายพันธุ์อื่นๆ นั้น ปัจจุบันยังไม่ปรากฏว่ามีการนำมาเลี้ยงเพื่อการแข่งขันประชันเสียงร้อง เช่นเดียวกับนกกรงหัวจุกแต่อย่างใด

ลักษณะทั่วไปของนกปรอดหัวโขนเคราแดง

              แก้มและคอจนถึงหน้าอกจะมีสีขาวและมีสีแดงเป็นเส้นอยู่ข้างหูลงมาถึงหน้าอก เหมือนเป็นเส้นแบ่งขนสีขาวกับสีดำที่มีอยู่ทั่วทั้งตัว ขนส่วนหัวจะร่วมกันเป็นเหมือนหน่อตั้งอยู่บนหัวสูงขึ้นไปเหมือนหัวโขน ใต้ท้องมีขนสีขาว

             นกปรอดหัวโขนเคราแดง หรือนกกรงหัวจุกนั้นทางภาคใต้นิยมเลี้ยงกันมายาวนานแล้ว และสืบทอดกันมาชั่วลูกหลานจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง จนเรียกได้ว่าการเลี้ยงนกกรงหัวจุกเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านหรือเป็นเกมกีฬา อย่างหนึ่งของคนภาคใต้ไปแล้ว และไม่ปรากฏหลักฐานใดๆ ว่าคนทางภาคใต้เริ่มเลี้ยงมาตั้งแต่เมื่อใด แต่มีหนังสือนกกรงหัวจุกเล่มหนึ่ง โดยมีคุณศักดา ท้าวสูงเนิน เป็นบรรณาธิการ ได้รวบรวมและเขียนเอาไว้ว่า

            การเริ่มเลี้ยงนกปรอด ประเทศสิงคโปร์ น่าจะเป็นชาติแรกที่นิยมเลี้ยงนกปรอดก่อนประเทศอื่นๆ และได้ให้ความสำคัญกับนกชนิดนี้มาถึงกับเอารูปนกปรอดหัวโขนเคราแดงมาเป็น สัญลักษณ์ในการพิมพ์ธนบัตรใช้จ่ายภายในประเทศ ดังนั้น จึงขอสันนิษฐานว่าน่าจะเลี้ยงก่อนชาติอื่นๆ

            ส่วนในประเทศไทยเริ่มมีการเลี้ยงนกกรงหัวจุกกันมานานแล้วประมาณว่าเกินกว่า 40 ปี มาจนถึงปัจจุบันนี้ ได้มีการพัฒนาการเลี้ยงและการแข่งขันประชันเสียงออกเป็นชนิดต่างๆ เช่นมีทั้งการแข่งขันประชันเสียงในประเภทนับดอก คือให้คะแนนตามที่นกร้องออกมาเป็นคำละคะแนน ประเภทสากล ประเภทเสียงทอง และในปัจจุบันก็ไม่ปรากฏว่ามีการแข่งขันประเภทตีกัน

            การ แข่งขันนกกรงหัวจุกได้รับการยอมรับว่าเป็นกีฬาชนิดหนึ่งที่มีผู้คนให้ความ สนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ มีการจัดงานแข่งขันประชันเสียงกันทั่วประเทศไม่ว่าจะเป็นในกรุงเทพฯ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ ในแต่ละสัปดาห์จะมีรายการแข่งขันทั้งประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 5 สนาม มีชมรมฯต่างๆ ที่เกี่ยวกับนกกรงหัวจุกทั่วประเทศนับเป็นร้อยๆ ชมรมฯ และสิ่งที่ยิ่งใหญ่เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ การได้รับการโปรดเกล้าพระราชทานถ้วยเป็นรางวัลแก่ผู้ที่ชนะการแข่งขัน มีตั้งแต่ถ้วยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถ้วยของพระบาทสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ซึ่งสร้างความปราบปลื้มและเป็นเกียรติยศแก่วงศ์ตระกูลของผู้ที่ได้ครอบครอง ถ้วยพระราชทาน

           วงการนกกรงหัวจุกจัดได้ว่าเป็นวงการที่ได้รับความนิยมจากคนไทยทั้งประเทศ เป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมแพร่ขยายมากขึ้น มีการจัดรายการแข่งขันติดกันและต่อเนื่องตลอดทั้งปี มีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองให้การสนับสนุนหลายท่าน ซึ่งส่งผลให้วงการกีฬานกกรงหัวจุกเป็นกีฬาที่สร้างความสนุกสนานและเป็นการ สร้างความสามัคคีให้กับคนในชาติได้เป็นอย่างดี






ขอขอบคุณนิตยสารคนเลี้ยงนก ปีที่ 1 ฉบับที่ 5 ประจำเดือน  เมษายน 2549

การเลี้ยงดูลูกนกกรงหัวจุกระยะต่างๆ




นก กรงหัวจุกเป็นนกที่มีอายุยืน จากการสอบถามผู้ที่เคยเลี้ยงนกกรงหัวจุกตั้งแต่ลูกนก จนมีอายุ 18 ปี นกกรงหัวจุกก็จะตาย แต่ถ้านกกรงหัวจุกที่อยู่ในธรรมชาติ มีอาหารการกินดีไม่ขาดแคลน ก็อาจจะมีอายุได้มากกว่านี้ก็เป็นไปได้ สำหรับการเลี้ยงนกกรงหัวจุกระยะต่างๆ มีดังนี้
การเลี้ยงดูลูกนกเกิดใหม่ ลูกนกที่เกิดใหม่ ก็จะมีวิธีการให้อาหารคือ
1.ใช้อาหารลูกไก่ ทำให้ละเอียด ป้อนให้ลูกนกกิน
2.ใช้กล้วยน้ำว้า ทำให้เละป้อนให้ลูกนกกิน
3.ใช้หนอนนก ป้อนให้ลูกนกหิน
การ ป้อนก็จะป้อนสลับกันไป ถ้าหากลูกนกยังร้องอยู่ในขณะป้อนก็แสดงว่าลูกนกยังไม่อิ่ม ก็ให้ป้อนอาหารจนกว่าลูกนกจะหยุดร้อง หรือดูว่าลูกนกกินอาหารมากพอสมควรแล้วก็หยุดป้อน เพราะถ้าลูกนกกินมากเกินไป ท้องจะแน่นจุดเสียดได้ นอกจากป้อนอาหารแล้ว ต้องป้อนน้ำให้ลูกนกด้วยและหัดให้ลูกนกกินอาหารเองบ้าง จนอายุ 15-20 วัน ขึ้นไปก็สามารถแยกลูกนกไปไว้ในกรงเดี่ยว และให้แขวนใกล้ลูกนกตัวอื่นๆ ด้วย เพื่อไม่ให้ลูกนกตื่นกลัว เพราะจะรู้ว่ามีเพื่อนอยู่ข้างๆ

การเลี้ยงดูลูกนกในกรงลูก นกในกรงเริ่มกินอาหารเองได้แล้ว และมีสุขภาพแข็งแรงพออายุได้ประมาณ 40 วัน นกก็จะมีขนขึ้นเต็ม สีขนของนกก็จะเปลี่ยนเป็นสีเทา พอนกอายุได้ 100-120 วันขึ้นไป นกก็จะเริ่มผลัดขน ขนก็จะเปลี่ยนเป็นสีขาวสีน้ำตาล ต่อมาจะมีขนแดงใต้ตาและมีแก้มสีขาว มีแถบดำที่เรียกว่าสร้อยคอ ขนใต้หางจะเปลี่ยนเป็นสีแดงส้ม ระยะนี้ต้องให้อาหารนกกินให้สมบูรณ์
การเลี้ยงนกหนุ่มเมื่อ นกกรงหัวจุกผลัดขนจนเป็นนกหนุ่มที่สมบูรณ์แล้ว ส่วนต่างๆ ของร่างกายก็จะแข็งแรงเจริญเติบโตและสมบูรณ์ดี เมื่อนกเป็นหนุ่มจนถึงนกที่มีอายุมาก ในปีหนึ่งๆ นกกรงหัวจุกจะมีการผลัดขนปีละ 1 ครั้งขึ้นไป ขณะผลัดขนนกกรงหัวจุกจะคัน บางตัวก็ไซร้ขนออก บางตัวก็จิกขนให้ร่วง เมื่อขนจะร่วงนกกรงหัวจุกจะไม่สวย ควรจะนำนกไปไว้ในกรงผลัดขน ซึ่งความกว้าง ความยาว และความสูงของกรงจะใหญ่กว่ากรงเลี้ยงธรรมดาโดยเฉพาะจะดีที่สุด หรืออาจจะไปปล่อยไว้ในกรงพักนกใหญ่ก็ได้ ในช่วงผลัดขน นกกรงหัวจุกจะไม่ร้อง ถ้ร้องก็ร้องนิดหน่อย จนกว่าจะผลัดขนหมดก็จะเริ่มร้อง ซึ่งนกหนุ่มนี้จะร้องเพลงฟังได้ เมื่อมีอายุประมาณ 1 ปี
การเลี้ยงนกกรงหัวจุกที่อ้วนผู้ เลี้ยงนกกรงหัวจุก เมื่อเริ่มเลี้ยงใหม่ๆ ก็จะให้อาหารการกินแก่นกเป็นอย่างดี กลัวนกจะหิว เพราะนกเมื่อได้มาใหม่จะผอม ด้วยเหตุนี้จึงเป็นสาเหตุให้นกอ้วนไป เพราะนกกรงหัวจุกที่อ้วน จะขี้เกียจกระโดดออกกำลังกาย และขี้เกียจร้อง ดังนั้น จึงต้องลดความอ้วนของตัวนกลง โดยการให้อาการให้น้อยลง สิ่งที่ต้องให้น้อยหรือหยุดการให้นกกิน ได้แก่ กล้วยน้ำว้า และอาหารเม็ด และหนอนนก เพราะอาหารพวกนี้จะมีโปรตีนและไขมันสูง ควรงดการให้สักระยะหนึ่งจนกว่านกจะผอมลง ต้องให้อาหารจำพวก มะละกอสุก ลูกตำลึงสุก เพื่อให้นกถ่ายอุจจาระบ่อยๆ และให้นำนกไปตากแดดมากขึ้น เพื่อให้นกได้กระโดดไปมาเป็นการออกกำลังและร้อง จนกว่านกจะผอมเป็นปกติ นกก็จะคล่องแคล่วว่องไว สดใสแข็งแรง และร้องเพลงได้ดี
ที่มา :  คู่มือนกกรงหัวจุก โดย เอกชัย พฤกษ์อำไพ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดปัตตานี
          สำนักพิมพ์ฐานเกษตรกรรม 2546

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กฏหมายเกี่ยวกับนก





ภาพประกอบจาก http://www.siamtrends.com



การแข่งขันนกกรงหัวจุก

ปัจจุบันการแข่งขันนกกรงหัวจุกมี 2 รูปแบบคือ แบบสากล กับ แบบทั่วไปหรือแบบสี่ยก



การแข่งขันแบบสากล

การ แข่งขันแบบสากลส่วนใหญ่จะเน้นที่ความงดงามสมส่วนหรือมีลีลาสง่างามหรือไม่ และสำนวนเพลงร้องของแต่ละตัวดีหรือไม่อีกทั้งการแข่งขันแต่ละครั้งจะไม่ จำกัดยกแต่จะใช้จำนวนนกที่เข้าร่วมเป็นเกณฑ์ การแข่งขันจะใช้กรรมการ 3 คนต่อชุด ทำหน้าที่คัดเลือกนกออกให้เหลือเท่าจำนวนรางวัลที่จัดเอาไว้ กรรมการทั้ง 3 คนจะยึดกฎกติกาอันเดียวกัน โดยจะเดินวนรอบๆ ราวแขวนนกระยะพอประมาณ กรรมการ 1 คนจะสังเกต 6-9 ตัว รอบแรกจะคัดเอานกตัวที่ไม่ร้องหรืออยู่นิ่งๆ ขนพองฟูออก เพราะแสดงว่าไม่มีใจสู้ ไม่มีปฏิกิริยาอะไรกับนกตัวที่อยู่รอบๆ ข้างเลย กรรมการก็จะจดหมายเลขนกตัวนั้นเอาไว้ ถ้านกตัวใดถูกกรรมการ 2-3 คนจดหมายเลยซ้ำกันถือว่าตกรอบ นกที่เหลือจะถูกยุบเข้าไปอยู่บนราวเดียวกัน เมื่อเหลือจำนวนน้อยลงไปเรื่อยๆ จะสังเกตว่ายกที่ 1-3 นั้นนกที่ตกรอบเป็นนกที่ไม่ร้องไม่โชว์ลีลาอะไร

ยก 4 กรรมการจะเน้นไปที่เสียงร้องเป็นพิเศษ นกที่ผ่านยก 1-3 มาได้ แต่ถ้าไม่มีเสียงร้องในยกที่ 4 แม้จะมีลีลาดีเพียงใดก็ต้องตกรอบไปเพราะก่อนเข้ารอบรองชนะเลิศกรรมการจะ พิจารณาเสียงเป็นหลัก พอคัดเลือกนกเหลือเท่ารางวัลกรรมการจะหยุดพัก 5 นาที ให้เวลาเจ้าของนกหรือพี่เลี้ยงทำนกให้สดชื่นตื่นตัวและคึกคักพร้อมเข้าแข่ง รอบชิงชนะเลิศ ในช่วงเวลา 5 นาทีนี้ สิ่งที่เจ้าของนกส่วนมากจะทำกันคือป้อนอาหารจำพวกเรียกพลังเช่นตักแตนหนอน ให้นกอิ่มมีพลังร้องอย่างเต็มที่ในยกต่อไป และนำอาหารนกที่เหลือในกรงออกเพื่อให้สนใจร้องอย่างเดียวไม่มัวกินอาหาร พร้อมทั้งเปลี่ยนน้ำให้นกใหม่เพราะน้ำใช้มาตั้งแต่เช้าสกปรกและร้อนเกินไป หรืออาจจะมีวิธีอื่นอีกก็แล้วแต่เจ้าของ

รอบชิงชนะเลิศกรรมการแต่ละ คนจะใช้วิธีเดินรอบสนามหรือราวนกเพื่อให้คะแนน หลายๆ รอบจนครบหมดทุกตัว ในการตัดสินรอบแรกจะดูนกที่ร้องก่อนตัวอื่นๆ โดยเดินวนตามหลังกันเว้นระยะห่างพอประมาณไปในทิศทางเดียวกัน ใช้ระยะเวลาในการเดินให้คะแนนคนละเท่าๆ กันคือ 1 นาทีต่อ 1 ล๊อก ดูนกประมาณ 3 ตัว เมื่อพบนกตัวใดร้องก็จะจัดการให้คะแนนตามแบบฟอร์มโดยจะดูลักษณะการ ร้อง(เสียงร้อง) และลีลาการร้องประกอบกัน ส่วนนกที่ไม่ร้องในการเดินรอบแรก กรรมการก็จะยังไม่ให้คะแนน แต่ในรอบที่ 2 กรรมการจะต้องให้คะแนนนกให้ครบทุกตัวแม้ว่าจะไม่ร้องก็ตาม เมื่อกรรมการแต่ละท่านตัดสินนกจนครบทุกตัวก็ถือว่าเป็นการสิ้นสุดการให้ คะแนน และสรุปผลการตัดสินต่อไป



การแข่งแบบ 4 ยก

การ แข่งขันแบบนี้ถือกำเนิดขึ้นในแถบจังหวัดชายแดนไทยมาเลเชีย ก่อนจะเริ่มเป็นที่นิยิมขึ้นมาทางภาคใต้ตอนล่าง และแพร่กระจายออกไปเรื่อยๆ จนเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป

การแข่งขันนกกรงหัวจุกประเภทนี้นิยมแข่ง การแข่งขันออกเป็น 5 ยก ให้ใช้ยกที่ 1-4 ในการคัดเลือกนกออก และในยกที่ 5 คือยกสุดท้ายเป็นช่วงเวลาในการชิงความเป็นหนึ่งในสนามแข่ง กรรมการที่ใช้ในการแข่งขันจะมีทั้งหมด 4 คน โดยมีการจัดแบ่งหน้าที่กัน โดย 2 คนทำหน้าที่ดูว่านกตัวใดร้องหรือไม่ร้องบ้าง อีก 1 คนจะคอยให้คะแนนที่ร้อง โดยถ้านกร้อง 3 พยางค์ขึ้นไปให้ 5 คะแนน ไม่ร้องให้ 4 คะแนน

ในสนาม หนึ่งๆ จะแบ่งล๊อคเป็น 2 ล๊อค กรรมการจะมี 2ชุด เริ่มเดินวนจากซ้ายสุดและขวาสุดเข้าหากัน เมื่อให้คะแนนล๊อคของตนเสร็จก็จะเปลี่ยนไปให้คะแนนในล๊อคถัดไป กรรมการแต่ละท่านจะใช้เวลาเพียง 1 นาที ในการให้คะแนนนกในล๊อคตรงหน้าของตน เมื่อครบ 1 นาที จะมีสัญญาณนกหวีดดังขึ้น การให้คะแนนวิธีนี้จึงได้รับการยกย่องว่ามีมาตรฐาน ส่วนหลักการให้คะแนนก็มีต่อไปนี้

1. นกที่ร้อง 3 พยางค์ขึ้นไปให้ 5 คะแนน ส่วนนกที่ไม่ร้องหรือร้องไม่ถึง 3 พยางค์ให้ 4 คะแนน

2. นกที่จิกกรรมการ จะให้ 6 คะแนน

3. ลีลาดี รูปร่างดี ไม่มีคะแนนให้


เมื่อ กรรมการแต่ละท่านให้คะแนนนกทุกตัวครบแล้วก็จะติดผลคะแนนบนบอร์ด ให้เจ้าของนกทราบ นกตัวใดได้ไม่ถึง 20 คะแนน ถือว่าตกรอบไปตามระเบียบ


ใน รอบชิงชนะเลิศกรรมการแต่ละคนจะดูเฉพาะนก 2 ตัว ตรงหน้าของตนเท่านั้น โดยใช้เวลา 1 นาทีเท่าเดิม ในการพิจารณาให้คะแนนเสียงร้อง การนับดอกโดยหนึ่งดอกก็นับตั้งแต่ 3 พยางค์ขึ้นไป เมื่อสิ้นสุด 1 นาที จะมีสัญญานนกหวีดดังขึ้นเหมือนเดิม จนกระทั่งสิ้นสุดการให้คะแนนของกรรมการแต่ละท่านพร้อมๆ กัน ในการสรุปคะแนนรอบชิงกรรมการนิยมนับคอกว่านกตัวใดจะมีคะแนนเยอะกว่า หรือถ้าหากตัวใดจิกต่อหน้ากรรมการก็จะตัดสินให้นกตัวนั้นชนะไปเลย แต่ก็ต้องมีการนับดอกไปจนกว่าจะหมดเวลาเพื่อไม่ให้มีการเสมอกัน ในกรณีที่มีนกจิกใส่หน้ากรรมการมากกว่า 1 ตัว กรรมการจะตัดสินโดยการนับดอกใส่เข้าไปด้วย ซึ่งการแข่งขันนกแบบ 4 ยก นี้จะไม่ค่อยเน้นในเรื่องของความสวยงามแต่จะเน้นไปในการลองน้ำเสียงเพลงร้อง มากกว่า

นอกจากนี้ยัง มีการประกวดประชันหรือโชว์กรงด้วย ว่ารูปทรงของกรงนกที่นำมาเข้าประกวดสวยงามมีลวดลาย หรือมีรูปร่างที่แปลกตา และมีราคาแพงอย่างไร

โดยนกกรงหัวจุกที่มีสุขภาพดีก็จะร้องได้ทั้งวัน ยกเว้นนกที่ป่วย แต่การจะร้องได้เป็นเพลงสั้นหรือยาวได้อย่างไรนั้น ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน อาทิ การฝึกสอน และอารมณ์ของนก นกกรงหัวจุกตัวผู้จะร้องได้เป็นเพลงยาวๆ นกกรงหัวจุกตัวเมียจะร้องได้ไม่เป็นเพลง ร้องได้เป็นคำสั้นๆ ในเวลาที่นกกรงหัวจุกร้อง จะมีลักษณะดังนี้คือ ปากจะอ้าเต็มที่ ขนคอสีขาวจะพองออกมาดูสวยงาม ขาที่จับคอนเกาะจะเหยียด ลำตัวจะตั้ง หางจะสั่นและกระดกเข้าหาคอนที่เกาะ เหล่านี้เป็นต้น




กฏหมายเกี่ยวกับนก

ตามพระ ราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 กำหนดให้นกปรอดทั้ง 36 ชนิด ที่พบในเมืองไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทนกที่ผู้ครอบครองต้องมีใบอนุญาตในการครอบครอง ส่วนการประกวดนกปรอดหัวโขนนั้นต้องปฏิบัติตามประกาศกรมป่าไม้ เรื่องการประกวดแข่งขันนกปรอดหัวโขน ลงวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 โดยอธิบดีกรมป่าไม้ที่ระบุว่า

"ผู้ใดจะ นำสัตว์ป่าคุ้มครอง ชนิดนกปรอดหัวโขน หรือสัตว์ป่าอื่นๆ เข้าประกวดแข่งขัน จะต้องนำเอกสารการแจ้งการครอบครองตามมาตรา 66 หรือ 67 ซึ่งได้จดแจ้งต่อกรมป่าไม้แล้วภายในเดือนพฤษภาคม 2535 และต้องนำเอกสารดังกล่าวติดตัวสัตว์ป่าไปด้วยทุกครั้ง และผู้ที่นำสัตว์ป่าไปเข้าประกวดแข่งขันจะต้องเป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในเอกสาร ดังกล่าวข้างต้น หรือผู้เข้าประกวดนำสัตว์ป่าคุ้มครองอื่นไปแข่งขัน หรือมีการตกลงกันซื้อขายสัตว์ป่าคุ้มครองภายในสถานที่ประกวด จะมีความผิดตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือทั้งจำทั้งปรับไม่เกินสี่ปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

เสน่ห์ของการเลี้ยงนกหัวจุก

ถ้า จะถามแต่ละคนว่า ทำอะไรถึงจะมีความสุขที่สุด แน่นอน ทุกๆ คนก็จะตอบไม่เหมือนกัน เพราะต่างจิตต่างใจกัน ความชอบก็จะไม่เหมือนกัน ผู้เขียนเองมีทีมงานกลุ่มอนุรักษ์นกกรงหัวจุกฟ้าตรัง ซึ่งตั้งขึ้นตามเจตนารมณ์ของผู้รักนกกรงหัวจุกหลายๆ ท่าน ทั้งนี้ยังรวมถึงผู้รักนกกรงหัวจุก ทั้งหลายทั่วประเทศ ซึ่งมีความรักและชื่นชมในองค์ประกอบต่างๆ ของนกกรงหัวจุก อันประกอบด้วย ความงดงามในรูปร่างลีลา เนื่องจากนกกรงหัวจุกเป็นนกขนาดเล็กที่คล่องแคล่ว ปราดเปรียว มีสีสันสวยงาม สำนวนเพลงร้อง ถ้าฟังกันให้ดี แต่ละเพลงที่นกร้องออกมา จะไม่ค่อยซ้ำกัน หมุนเวียนกันไป ทำให้ฟังไม่เบื่อ ยิ่งเมื่อนกอยู่ในกรงที่สวยงาม และกระโดดโลดเต้นไปตามลีลาอันเป็นธรรมชาติ ก็จะยิ่งน่าดู เป็นการสร้างความประทับใจและสบายใจให้กับเจ้าของอย่างมาก ได้พักผ่อน พบปะเพื่อนฝูงในวันหยุดสุดสัปดาห์ เป็นการผ่อนคลายความเครียดที่ดี อีกวิธีหนึ่ง

ยิ่งถ้ามีการแข่งขัน และนกของเราได้รับรางวัลด้วย ก็จะนำมาซึ่งความภาคภูมิใจ ทั้งนี้ยังรวมถึงแม่บ้านและลูกๆ ด้วย เพราะปัจจุบันทางภาคใต้นิยมจัดรางวัลเป็นของใช้ เช่น ตู้เย็น โทรทัศน์สี หม้อหุงข้าวไฟฟ้า พัดลม รถจักรยาน และของใช้อื่นๆ อีกมากมาย ถ้าเจ้าของนกได้รางวัลเหล่านี้กลับบ้าน ก็จะเป็นการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัวอีกด้วย

สร้างความ ภูมิใจ ในลักษณะที่เราสามารถเพาะพันธุ์ได้ เองภายในบริเวณบ้าน ข้อนี้สำคัญมาก เนื่องจากบัจจุบัน หลายๆ ท่านพยายามจะช่วยกันขยายพันธุ์นกให้มีจำนวนมากขึ้น ถ้าเราทำได้สำเร็จ ก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้อนุรักษ์นกกรงหัวจุกได้สำเร็จอย่างแท้จริง ประกอบเป็นอาชีพ ท่านที่สนใจสามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับนกได้ไม่ยาก เช่น - เพาะพันธุ์ลูกนกขาย - ขายอุปกรณ์เลี้ยงนก เช่น อาหารนก ผ้าคลุมกรง ถ้วยน้ำ และอื่นๆ - ทำกรงนกขาย สำหรับท่านที่มีฝีมือ ก็สามารถทำกรงนกขายได้ ทำให้มีเงินเก็บเป็นกอบเป็นกำโดยไม่ยากเลย เพราะปัจจุบันสะดวกกว่าสมัยก่อนมาก เนื่องจากมีชิ้นส่วน ในการทำกรงขายทุกอย่าง เราสามารถนำมาประกอบเป็นกรงแข่งขันขายได้เลย ในลักษณะโชคลาภ

มีผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุกจำนวนไม่น้อยเลย ที่ได้นกมาแล้วเลี้ยงดูอย่างดี ไม่ยอมขายหรือให้ใครไปเลย เนื่องจากเป็นการถือโชคลาง ผู้เขียนเคยคุยกับเจ้าของนกผู้มีอันจะกินหลายๆ ท่าน ถึงความเชื่อในตัวนก โดยเฉพาะนกที่มีลักษณะพิเศษกว่าตัวอื่นๆ เช่น หัวมีสีขาว ขนสีขาวทั้งตัวหรือขาวเพียงบางส่วน เจ้าของนกบอกว่า ตั้งแต่ได้นกมา ปรากฎว่ากิจการต่างๆ ที่ทำอยู่ประสบผลสำเร็จอย่างดี มีกำไรมากขึ้น ก็เลยสั่งทำกรงไม้ฝังมุกอย่างดีราคาหลายหมื่นให้นกอยู่ได้ อย่างสบาย ตอนนี้ฐานะก็ดีขึ้นเรื่อยๆ เคยมีคนมาขอซื้อเท่าไรก็ไม่ยอมขาย ซึ่งก็เป็นความเชื่อและแนวความคิดของแต่ละท่าน เรื่องนี้ต้องให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณาและใช้หลักการเหตุผลคิดเอาเองตามความ น่าจะเป็นก็แล้วกัน



ลักษณะนกที่ถือว่าเป็นที่สุดของนกกรงหัวจุก


1. โครงสร้างส่วนหัวใหญ่ ใบหน้าใหญ่ สันปากบนและล้างใหญ่

2. ฐานจุกแน่น เต็ม ขนจุกสั้นชี้ขึ้นข้างบน ราบปลายแหลมโค้งงอไปข้างหน้าเล็กน้อย จุก แข็ง ไม่ลู่ไปข้างหน้า

3. ดวงตากลมใส ดุ (นัยน์ตาคมเหมือนตาเหยี่ยว)

4. หูแดง มีขนสีแดงขึ้นเป็นกระจุกใหญ่ เต็ม

5. ขนที่คอสีขาว ฟูสวยงาม

6. หมึกดำ หรือสร้อยคอดำหรือสร้อยพระศอ หรือสร้อยสังวาล เป็นแถบดำชัดเจน ทอดยาวตั้งแต่ต้นคอจรดหน้าอก

7. หน้าอกใหญ่ สำตัวยาวเป็นรูปปลีกล้วย ]

8. ขนปีกทั้งสองข้างครบทุกชี่ ขณะยืนร้อง ปลายปีกทั้งสองข้างต้องยาวเลยบัวแดงลงไป

9. มีนิ้วเท้าสองข้างครบถ้วนข้างละ 4 นิ้ว

10. บัวแดงใต้โคนหางด้านในสี่แดงสด นูนใหญ่ ฟูปิดโคนหางสนิท

11. ขนหางเต็มจำนวน 12 ชี่ (ขนดำตลอด 4 ซี่ ขนดำปลายขนขาว 8 ซี่) จะขึ้นคู่ กัน 6 คู่ และต้องซ้อนกันเป็นมันสวยงาม ปลายหางไม่แตก หางสั้นกว่าช่วงลำตัว

12. ขณะยืนร้อง ขาทั้งสองข้างจะต้องเหยียดสุดข้อ ตัวตรง ปลายหางกดเข้าใต้คอนเปล่า เสียงร้องเต็มที่

13. ลักษณะโดยรวม ขนนกต้องเรียบเป็นมัน ไม่มีรอยของการทำร้ายตัวเอง เช่น จิกปีก จิกหาง หรือจิกขา

14. นกที่สมบูรณ์ ขณะยืนร้อง ขนปุยที่หน้าอกจะฟูปิดทับหัวปีกทั้งสองข้างดูสวยงามมาก

15. ต้องมีน้ำเสียงดี อาจจะจัดเป็นเสียงกลางเต็มหรือเสียงใหญ่

16. สำนวนเพลงร้องต้องเข้าลักษณะ เพลงร้องหลัก ๆ ต้องมีตั้งแต่ 5 - 9 พยางค์ ไม่มีเพลงเสีย



ตารางการให้อาหาร ของนกกรงหัวจุก หมุนเวียนทุกวัน


จันทร์ /กล้วยน้ำว้า(จะให้คุณค่าทางอาหารเช่นวิตามินต่างๆ)

อังคาร /มะละกอ(ช่วยในการขับถ่ายดี)

พุธ /ส้มเขียวหวาน(ช่วยทำให้แก้หวัด+เสียงจะสดใส่ดี)

พฤหัสบดี /แตงกวา(ต้องล้างให้สอาดด้วยนะครับ)

ศุกร์ /บวบ (สำคัญมากเพราะมีเส้นใยช่วยในการขับถ่ายของเสียจากตัวนก)

เสาร์ /ข้าวคุกแกงส้ม(ในส่วนผสมของพริกแกงสมจะมีสมุนไพรหลายอย่าง)

อาทิตย์ /กล้วยน้ำว้า(จะให้คุณค่าทางอาหารเช่นวิตามินต่างๆ)

การให้อาหารของคนเลี้ยงนกแต่ละท่านอาจจะไม่เหมือนกันนะครับอาจจะต่างคนต่างความคิด แล้วท่านใดหมุนเวียนให้อาหารอะไรบ้าง



ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.nokkronghuajuck.com