วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

นกกรงหัวจุก วิหกเสียงทอง

นกกรงหัวจุก วิหกเสียงทอง นกกรงหัวจุก มีชื่อเรียก เป็นทางการว่า "นกปรอดหัวโขนเคราแดง" หรือ "นกพิชหลิว" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus jocosus เป็นสัตว์คุ้มครองประเภทนก ที่เพาะพันธุ์ได้



นกกรงหัวจุก วิหกเสียงทอง
รูปภาพ นกกรงหัวจุก วิหกเสียงทอง
Click here to see a large version
รูปภาพ นกกรงหัวจุก วิหกเสียงทอง
Click here to see a large version
รูปภาพ นกกรงหัวจุก วิหกเสียงทอง
Click here to see a large version
รูปภาพ นกกรงหัวจุก วิหกเสียงทอง
นกกรงหัวจุก วิหกเสียงทอง
รูปภาพ นกกรงหัวจุก วิหกเสียงทอง
นกกรงหัวจุก วิหกเสียงทอง
รูปภาพ นกกรงหัวจุก วิหกเสียงทอง
นกกรงหัวจุก วิหกเสียงทอง
รูปภาพ นกกรงหัวจุก วิหกเสียงทอง
นกกรงหัวจุก วิหกเสียงทอง
รูปภาพ นกกรงหัวจุก วิหกเสียงทอง
นกกรงหัวจุก วิหกเสียงทอง
รูปภาพ นกกรงหัวจุก วิหกเสียงทอง
Click here to see a large version
รูปภาพ นกกรงหัวจุก วิหกเสียงทอง
นกกรงหัวจุก วิหกเสียงทอง นกกรงหัวจุก มีชื่อเรียก เป็นทางการว่า "นกปรอดหัวโขนเคราแดง" หรือ "นกพิชหลิว" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus jocosus เป็นสัตว์คุ้มครองประเภทนก ที่เพาะพันธุ์ได้

ตำนานนกกรงหัวจุก

   นก กรงหัวจุก ที่เราๆท่านๆ นำมาแข่งขันประชันเสียงกันนั้น มีตำนานเล่าสืบต่อกันมา และมีหนังสือบางเล่ม ได้เขียนเอาไว้ว่าชนชาติแรกที่นำนกปรอดหัวจุกมาเลี้ยงคือชาวจีน  เมื่อประมาณ พ.ศ.2410 คนจีนได้นำนกปรอดหัวจุกมาเลี้ยงแทนนกโรบิ้น ที่คนจีนส่วนใหญ่นิยมนำมาใส่กรงพาเดินไปตามถนนหรือนั่งร้านกาแฟ หรือไปหาเพื่อนๆ ที่รู้ใจและเลี้ยงนกเหมือนกัน และเจ้านกโรบิ้น มักจะเป็นนกที่ตกใจง่ายและตื่นคน บางครั้งตกใจมากจนถึงขั้นช๊อคตายคากรง ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้ชาวจีนกันมาเลี้ยงนกปรอดหัวจุกหรือนกหัวจุกกันอย่าง แพร่หลาย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา


           นกกรงหัวจุกมีถิ่นอาศัยอยู่ในแถบประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น ในทวีปเอเซีย พบได้ ประเทศจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม กัมพูชา ลาว ส่วนใหญ่ เราจะพบนกชนิดนี้ได้ทั่วทุกภาคของประเทศ


          นกกรงหัวจุกเป็นที่นิยมของคนภาคใต้มายาวนาน โดยได้รับอิทธิพลมาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย นั่นคือการแข่งขันประชันเสียงเพลงที่มีลีลาการร้องของสำนวนเสียง ในนกแต่ละตัวว่าใครจะเหนือกว่ากัน แต่ในสมัยก่อนของภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดสตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส กระบี่ นครศรีธรรมราช นิยมนำนกกรงหัวจุกมาชนกันหรือตีกันเหมือนกับการชนไก่ คือเอานกมาเทียบขนาดให้ใกล้เคียงกันแล้วจับใส่กรงกลางที่มีขนาดใหญ่แล้ว ปล่อยให้นกทั้งสองตัวไล่จิกตีกันภายในกรงจนกว่าจะรู้แพ้รู้ชนะ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่านกปรอดหัวจุก มีนิสัยดุร้ายและชอบไล่จิกและตีกัน ตามธรรมชาติอยู่แล้ว


         การแข่งขันนกกรงหัวจุกได้มาเปลี่ยนแปลงไปเมื่อประมาณปี พ.ศ.2515 เพราะว่าชาวจังหวัดสงขลา มีแนวความคิดที่จะเปลี่ยนจากการตีกันมาเป็นแบบแข่งขันประชันเสียง โดยเอาแบบมาจากการแข่งขันของนกเขาชวา คือนำนกป่าที่ต่อมาได้นำมาเลี้ยงและฝึกให้เกิดความเชื่องกับคนเลี้ยงหรือ เชื่องกับผู้ที่เป็นเจ้าของ พร้อมกับฝึกให้นกมีความสามารถในการร้องในลีลาต่างๆ ตามแต่ที่นกในแต่ละตัวจะทำได้ และผู้เล่นนกกรงหัวจุกก็เริ่มเปลี่ยนการละเล่นที่นำนกมาตีกัน มาเป็นอย่างเดียวกันกบนกเขาชวา คือการเล่นฟังเสียงอันไพเราะของนก จากนั้นการแข่งขันประชันเสียงของนกกรงหัวจุกก็เริ่มมีผู้นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จึงได้จัดให้มีการแข่งขันขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อปี พ.ศ. 2519 ที่สนามบริเวณหลังสถานีรถไฟเมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งในการจัดครั้งนั้นถือว่าเป็นรายการใหญ่ที่สุดในยุคนั้น และได้ยกเลิกการแข่งขันนกกรงหัวจุกในแบบตีกัน ต่อมาเมื่อประมาณ พ.ศ.2520 ทางจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้จัดให้มีการรวมกลุ่มผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุก โดยจัดตั้งขึ้นเป็นชมรม ซึ่งทำให้ทุกวันนี้มีชมรมต่างๆ เกิดขึ้นอย่างมากมาย


           กรุงเทพมหานคร ได้มีการเล่นนกกรงหัวจุก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2524 โดยมีกลุ่มคนทางภาคใต้นำเอากีฬาชนิดนี้เข้ามาเผยแพร่ให้เป็นทีรู้จักและได้ จัดให้มีการแข่งขัน ขึ้นเป็นครั้งแรกที่ตลอดสวนจตุจักร และนับแต่นั้นมากระแสความนิยมแข่งขันประชันเสียงของนกกรงหัวจุกก็ได้รับความ นิยมสืบมาจนถึงปัจจุบัน


สายพันธุ์ปรอด


            นกกรงหัวจุก มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า นกปรอดหัวโขนเคราแดง หรือนกพิชหลิว ชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Pycnomotus Jocosus เป็นนกที่มีการคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 17 ให้เป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้


           วงศ์สกุล (GENUS) ของนกปรอดมีมากมายหลายชนิด วงศ์นกปรอด (Family Pycnonotidae) เป็นนกที่มีชนิดมากที่สุด ซึ่งในแต่ละชนิดก็มีเป็นจำนวนมาก และที่ถูกค้นพบมากที่สุดคือประเทศฟิลิปปินส์ ส่วนในประเทศไทยมีรายงานการค้นพบนกปรอดทั้งหมด ประมาณ 36 ชนิด โดยที่ปรอดทั่วโลกมีประมาณ 109 ชนิด


นกปรอดหัวโขนเคราแดงชื่อสามัญ                          Red - rhiskered Bulbul
ลักษณะทั่วไป                  มีลายขาวแดงที่ข้างแก้ม



นกปรอดหัวโขนก้นเหลือง
ชื่อสามัญ                         Brown - brested Bulbulo



นกปรอดคอลายชื่อสามัญ                        Stripe - throated Bulbul


นกปรอดก้นแดง หรือปรอดคางแพะชื่อสามัญ                        Black - capped Bulbul


นกปรอดหน้านวลก้นเหลืองของตาขาวชื่อสามัญ                       Yellow - vented Bulbul


นกปรอดเหลืองหัวจุกชื่อสามัญ                       Black - crested Bulbul


นกปรอดสวนชื่อสามัญ                       Blanfords Bulbul


นกปรอดโอ่งชื่อสามัญ                      White - throated Bulbul


นกปรอดทอง
ชื่อสามัญ                     Black - headed Bulbul



               นกปรอดหัวจุกที่นิยมนำมาแข่งขันกันนั้น จะนิยมนำนกปรอดหัวโขนเคราแดง หรือที่ภาคใต้เรียกว่านกหัวจุก ภาคเหนือนิยมเรียกว่านกปริ๊จจะหลิวหรือพิชหลิว ส่วนในสายพันธุ์อื่นๆ นั้น ปัจจุบันยังไม่ปรากฏว่ามีการนำมาเลี้ยงเพื่อการแข่งขันประชันเสียงร้อง เช่นเดียวกับนกกรงหัวจุกแต่อย่างใด


ลักษณะทั่วไปของนกปรอดหัวโขนเคราแดง


              แก้มและคอจนถึงหน้าอกจะมีสีขาวและมีสีแดงเป็นเส้นอยู่ข้างหูลงมาถึงหน้าอก เหมือนเป็นเส้นแบ่งขนสีขาวกับสีดำที่มีอยู่ทั่วทั้งตัว ขนส่วนหัวจะร่วมกันเป็นเหมือนหน่อตั้งอยู่บนหัวสูงขึ้นไปเหมือนหัวโขน ใต้ท้องมีขนสีขาว


             นกปรอดหัวโขนเคราแดง หรือนกกรงหัวจุกนั้นทางภาคใต้นิยมเลี้ยงกันมายาวนานแล้ว และสืบทอดกันมาชั่วลูกหลานจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง จนเรียกได้ว่าการเลี้ยงนกกรงหัวจุกเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านหรือเป็นเกมกีฬา อย่างหนึ่งของคนภาคใต้ไปแล้ว และไม่ปรากฏหลักฐานใดๆ ว่าคนทางภาคใต้เริ่มเลี้ยงมาตั้งแต่เมื่อใด แต่มีหนังสือนกกรงหัวจุกเล่มหนึ่ง โดยมีคุณศักดา ท้าวสูงเนิน เป็นบรรณาธิการ ได้รวบรวมและเขียนเอาไว้ว่า


            การเริ่มเลี้ยงนกปรอด ประเทศสิงคโปร์ น่าจะเป็นชาติแรกที่นิยมเลี้ยงนกปรอดก่อนประเทศอื่นๆ และได้ให้ความสำคัญกับนกชนิดนี้มาถึงกับเอารูปนกปรอดหัวโขนเคราแดงมาเป็น สัญลักษณ์ในการพิมพ์ธนบัตรใช้จ่ายภายในประเทศ ดังนั้น จึงขอสันนิษฐานว่าน่าจะเลี้ยงก่อนชาติอื่นๆ


            ส่วนในประเทศไทยเริ่มมีการเลี้ยงนกกรงหัวจุกกันมานานแล้วประมาณว่าเกินกว่า 40 ปี มาจนถึงปัจจุบันนี้ ได้มีการพัฒนาการเลี้ยงและการแข่งขันประชันเสียงออกเป็นชนิดต่างๆ เช่นมีทั้งการแข่งขันประชันเสียงในประเภทนับดอก คือให้คะแนนตามที่นกร้องออกมาเป็นคำละคะแนน ประเภทสากล ประเภทเสียงทอง และในปัจจุบันก็ไม่ปรากฏว่ามีการแข่งขันประเภทตีกัน


            การ แข่งขันนกกรงหัวจุกได้รับการยอมรับว่าเป็นกีฬาชนิดหนึ่งที่มีผู้คนให้ความ สนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ มีการจัดงานแข่งขันประชันเสียงกันทั่วประเทศไม่ว่าจะเป็นในกรุงเทพฯ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ ในแต่ละสัปดาห์จะมีรายการแข่งขันทั้งประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 5 สนาม มีชมรมฯต่างๆ ที่เกี่ยวกับนกกรงหัวจุกทั่วประเทศนับเป็นร้อยๆ ชมรมฯ และสิ่งที่ยิ่งใหญ่เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ การได้รับการโปรดเกล้าพระราชทานถ้วยเป็นรางวัลแก่ผู้ที่ชนะการแข่งขัน มีตั้งแต่ถ้วยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถ้วยของพระบาทสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ซึ่งสร้างความปราบปลื้มและเป็นเกียรติยศแก่วงศ์ตระกูลของผู้ที่ได้ครอบครอง ถ้วยพระราชทาน


           วงการนกกรงหัวจุกจัดได้ว่าเป็นวงการที่ได้รับความนิยมจากคนไทยทั้งประเทศ เป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมแพร่ขยายมากขึ้น มีการจัดรายการแข่งขันติดกันและต่อเนื่องตลอดทั้งปี มีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองให้การสนับสนุนหลายท่าน ซึ่งส่งผลให้วงการกีฬานกกรงหัวจุกเป็นกีฬาที่สร้างความสนุกสนานและเป็นการ สร้างความสามัคคีให้กับคนในชาติได้เป็นอย่างดี












ต่อตอนไปแข่งชิงแชมป์จังหวัดแต่เสรือกแพ้
ต่อตอนไปแข่งชิงแชมป์จังหวัดแต่เสรือกแพ้
ทั้งหมดที่มีวะ
ทั้งหมดที่มีวะ
ตัวนี้150,000นักเลงนกมาซื้อไม่ขาย
ตัวนี้150,000นักเลงนกมาซื้อไม่ขาย

กติกาการแข่งขันนกกรงหัวจุก ประเภทเสียงทอง

กติกาการแข่งขันนกกรงหัวจุก ประเภทเสียงทอง
ประเภทเสียงทอง
http://www.ap.mju.ac.th/35y/images/stories/News/bird.jpg


การ แข่งขันประเภทเสียงทอง เป็นการอนุรักษ์เสียงร้อง เพลงที่นกกรงฯร้องออกมา ให้มีมาตราฐานเดียวกัน คือให้เพลงที่ร้องออกมาเป็นสำนวนเพลงของนก หรือเพลงแม่บท เป็นต้น

การแข่งขันประเภทเสียงทอง จะใช้ราวแขวนเป็นคู่ๆ คือคู่ในของราว แขวนเรียงไล่ไปตามจำนวนที่ผู้เข้าร่วมแข่งขันส่งแข่งขัน
เช่น มีนกส่งแข่งขัน 50 นก ก็จะเรียงไปจนถึงเบอร์ 25 แล้วยูเทริ้นกลับจากเบอร์ 26 จนมาถึงหัวราว เบอร์ 50 ก็จะคู่กับเบอร์ 1 พอดี เป็นต้น
การดู และการให้คะแนนของกรรมการนั้น สนามส่วนใหญ่มักจะดูนกครั้งละ 2 นกหรือเป็นคู่ๆ เช่น 1 กับ 2 และ 3 กับ 4
การให้คะแนนจะแบ่งเป็น 2 ช่องคะแนน คือ
ช่องคะแนน เสียง 25 คะแนน
ช่องคะแนน สำนวน 25 คะแนน
รวมเป็น 50 คะแนน
กรรมการก็จะเดินให้คะแนนจนครบทุกนก ในแต่ละคน หลังจากนั้นก็นำคะแนนมารวบรวมคะแนนกันทุกๆกรรมการ
และไล่คะแนนที่ดีที่สุด เป็นลำดับรางวัลที่จะมอบให้....
*** ในกรณีที่คะแนนรวมเท่ากัน ได้ลำดับรางวัลเท่ากัน ก็จะวัดกันที่น้ำเสียงว่านกไหนคะแนนสูงกว่ากัน เพราะการแข่งขันประเภทเสียงทองนั้นต้องมีเสียงนำ ***

ส่วนการแข่งขันประเภทเสียงทองนี้ ในงานใหญ่ๆนั้น เช่นงานแข่งขันถ้วยพระราชทานฯ งานอาเซียน มีนกเข้าร่วมแข่งขันจำนวนมาก

จึงจำเป็นต้องแบ่งออกเป็นล็อคๆ ล็อค A - ล็อค B - ล็อค C(แต่ต้องไม่เกิน 168 นก) แล้วนำคะแนนแสงสุดแต่ละล็อค นำมาชิงชัยอีกครั้งหนึ่ง

เพื่อหานกที่ได้รับรางวัลที่กำหนดต่อไป







การแข่งขันประเภทเสียงทอง กรรมการต้องใช้สมาธิในการฟังเสียงนกแต่ละตัว ที่ฟังแยกน้ำเสียง และสำนวนเพลงในการให้คะแนนแต่ละครั้ง

ในการแข่งขันประเภทเสียงทองนี้จำเป็นต้องมีมารยาทในการแข่งขัน เพื่อที่กรรมการจะให้คะแนนได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน

วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

นกกรงหัวจุก เสียงร้องอันมีมนต์ขลัง

นกกรงหัวจุก เสียงร้องอันมีมนต์ขลัง


นกกรงหัวจุก 

นกกรงหัวจุก เสียงร้องอันมีมนต์ขลัง

           เมื่อพูดถึงสัตว์ที่มีเสียงร้องอันไพเราะ แทบปฏิเสธไม่ได้ว่า นกกรงหัวจุก จัด อยู่ในอันดับต้นๆ ปัจจุบันวงการ นกกรงหัวจุก จัดได้ว่าเป็นวงการที่ได้รับความนิยมจากคนไทยเป็นจำนวนมาก มีการจัดรายการแข่งขันติดกันและต่อเนื่องตลอดทั้งปี และมีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมแพร่ขยายมากขึ้น

           นกกรงหัวจุก มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "นกปรอดหัวโขนเคราแดง" หรือ "นกพิชหลิว" มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Pycnomotus Jocosus เป็นนกที่มีการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 17 ให้เป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ นกปรอดมีมากมายหลายชนิด วงศ์นกปรอด (Family Pycnonotidae) เป็นนกที่มีชนิดมากที่สุด พบมากที่สุดคือประเทศฟิลิปปินส์ ส่วนในประเทศไทยมีรายงานการค้นพบนกปรอดประมาณ 36 ชนิด โดยที่นกปรอดทั่วโลกมีประมาณ 109 ชนิด นกกรงหัวจุก มีชื่อเรียกหลายชื่อแตกต่างกันไปตามภาค อย่างภาคใต้โดยเฉพาะ จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียกว่า "นกกรงหัวจุก" หรือ "นกกรง" ภาคเหนือเรียกว่า "นกปริ๊ดเหลว" หรือ "นกพิชหลิว" ส่วนภาคกลางเรียกว่า "นกปรอดหัวจุก" หรือ "นกปรอดหัวโขน"

           นกกรงหัวจุก เป็น นกที่มีสีสันสวยงาม ขนที่ตัวมีสีดำอมน้ำตาล มีขนจุกที่หัวตั้งตรง ปลายจุกที่ติดกับลำคอมีสีดำสนิท ที่แก้มมีขนสีขาว และมีจุดสีแดงที่ข้างตาทั้ง 2 ข้าง โคนหางล่างมีสีแดง นกกรงหัวจุก มีเสียงร้องไพเราะ คนนิยมนำมาเลี้ยงไว้ฟังเสียงร้อง และนำมาแข่งขันประชันลีลาการร้องของสำนวนเสียงว่า นกกรงหัวจุก แต่ละตัวว่าใครจะเหนือกว่ากัน

           ถิ่นอาศัยของ นกกรงหัวจุก อยู่ในแถบประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น ในทวีปเอเชียส่วนใหญ่พบ นกกรงหัวจุก ได้ในประเทศจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม กัมพูชา ลาว ในประเทศไทยเราจะพบ นกกรงหัวจุก ได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยจะพบ นกกรงหัวจุก อาศัยอยู่ตามชายป่า ทุ่งหญ้า พื้นที่เกษตรกรรม และตามแหล่งชุมชนในชนบท โดยเฉพาะทางภาคเหนือและภาคอีสานตอนบน


นกกรงหัวจุก 


           ชาติแรกที่นำนกกรงหัวจุกมาเลี้ยงคือชาวจีน เมื่อประมาณ พ.ศ. 2410 ในประเทศไทยเริ่มนิยมเลี้ยงประมาณ พ.ศ. 2504 ที่ภาคใต้ แต่ จะนำมาเล่นให้นกตีกันต่อสู้กันแบบเดียวกับไก่ชน จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2515 จึงได้คิดเล่นแบบใหม่ โดยให้แข่งขันเสียงร้อง จากนั้นจึงได้แพร่หลายมาที่ภาคกลาง ภาคเหนือ ส่วนที่ภาคอีสานมีค่อนข้างน้อย นกกรงหัวจุกเป็นที่นิยมของคนภาคใต้มายาวนาน และสืบทอดมาสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน จนเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านทางภาคใต้ จึงเห็นมีกรงนกแขวนตามบ้านเรือนประชาชนแทบทุกบ้าน และมีการตั้งเป็นชมรมทุกจังหวัด

           การแข่งขัน นกกรงหัวจุก ได้รับการยอมรับว่าเป็นกีฬาชนิดหนึ่งที่มีผู้คนให้ความสนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ มีการจัดงานแข่งขันประชันเสียง นกกรงหัวจุก กัน ทั่วประเทศไม่ว่าจะเป็นในกรุงเทพฯ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ ในแต่ละสัปดาห์จะมีรายการแข่งขันทั้งประเทศไม่ต่ำกว่า 5 สนาม มีชมรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับ นกกรงหัวจุก ทั่วประเทศนับเป็นร้อยๆ ชมรม 

           นกกรงหัวจุก ที่จะนำเข้าแข่งขันนั้นต้องเป็น นกกรงหัวจุก ตัวผู้ เพราะ นกกรงหัวจุก ตัวเมียจะร้องไม่เป็นเพลง โดย นกกรงหัวจุก ที่ เลือกมานั้นต้องมีลักษณะรูปร่างและน้ำเสียงที่ดี ตัวอย่างเช่น มีรูปร่างเหมือนปลีกล้วยขณะที่ปลียังเล็กอยู่ ปากของนกทั้งด้านบนและด้านล่างควรจะใหญ่ ซึ่งทำให้มีเสียงดังกังวาน ลำคอต้องใหญ่ หน้าอกต้องใหญ่ ซึ่งหมายถึงปอดของนกจะใหญ่ จะร้องได้ทนและนาน ลักษณะขน หางต้องสวยงามตามตำรา เป็นต้น

           การร้องของ นกกรงหัวจุก ต้องเปล่งเสียงร้องเต็มที่ เสียงเป็นเพลงเหมือนเสียงดนตรี เสียงของ นกกรงหัวจุก ที่ดีควรจะเป็นเสียงใหญ่ ถัดมาก็เสียงกลางและเสียงเล็ก ซึ่งก็แล้วแต่ถิ่นกำเนิดของ นกกรงหัวจุก นั้นๆ เพลงของนกกรงหัวจุกต้องมีคำหรือ 3 คำขึ้นไปจนถึง 7 คำ ซึ่งนกที่ร้องเพลงได้ 3 - 5 คำ เป็นนกแบบธรรมดา นกที่ร้องเพลงได้ 6 - 7 คำ จะเป็นนกที่หายาก จังหวะและคำร้องแต่ละคำต้องสม่ำเสมอและชัดเจน ในภาพรวมการร้องของ นกกรงหัวจุก คือ ขณะร้องเพลงต้องมีท่าที ลีลาสวยงามไปทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นปาก คอ อก หาง ขา หน้าตาสดชื่นแจ่มใส ดวงตาแจ่มใส ขาเหยียด ลำตัวนกตั้ง หน้าเชิด ขนอกฟู หางกระดก น้ำเสียงดังฟังชัดเป็นจังหวะจะโคนที่ดี สม่ำเสมอและต่อเนื่อง

           ลักษณะดังกล่าวนี้เองที่ทำให้ผู้เลี้ยง นกกรงหัวจุก หลงใหลในเสน่ห์ จนทำให้เกิดความรัก สนใจเลี้ยง นกกรงหัวจุก เพื่อการประกวดประชันเสียงร้องเพลง สำหรับกติกาการแข่งขัน นกกรงหัวจุก ในปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบใหญ่ๆ คือ กติกาแบบสากล และ กติกาแบบ 4 ยก สำหรับ นกกรงหัวจุก ที่ มีเสียงไพเราะหรือชนะการประกวดก็จะมีราคาแพงตั้งแต่หลักหมื่นจนถึงหลักแสน เลยทีเดียว นอกจากการประชันเสียงร้องแล้วยังมีการประกวดประชันหรือโชว์กรง นกกรงหัวจุก อีกด้วย 


คลิปนกกรงหัวจุก


เรื่องดี ๆ ของนกเขาชวา**



วันเสาร์เป็นวันหยุดน่าจะเป็นวัน ที่นอนตื่นสายๆ มีความสุขอยู่กับที่นอนออันอบอุ่น แต่ผู้เขียนกลับตื่นเช้ากว่าวันทำงานเสียอีก  ตาสว่างตั้งแต่ยังไม่ตี 5  อาจจะเพราะเคยชินกับการแต่ตื่นเช้าไปแข่งนกตลอดสิบกว่าปีมานี่  เลยทำให้ร่างกายปรับสภาพโดยอัตโนมัติ  วันเสาร์อาทิตย์ตื่นนอนโดยไม่ต้องใช้นาฬิกาปลุกช่วยเลย       วันนี้ก็เหมือนกันฟ้ายังไม่สว่างตากลับสว่างไสว    พยายามยังไงก็นนอนหลับ  เลยมานั่งเขียนต้นฉบับให้ส่งให้ บก. ดีกว่า

 มีเรื่องนึงอยากจะบอกเล่าแก่ท่านผู้อ่าน  คือเมื่อวันที่  17 ม.ค.2551    ผู้เขียนได้รับมอบหมายจากท่าน พล.ต.ต.สหัสชัย  อินทรสุขศรี  นายกสมาคมผู้เลี้ยงนกเขาชวาแห่งประเทศไทย ให้ไปเป็นอนุกรรมพิจารณายกร่างมาตรฐานฟาร์มนกเขาชวา  ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ในฐานะของตัวแทนของสมาคมฯ ในการกำหนดมาตรฐานการจัดการฟาร์มนกเขาชวาเพื่อการส่งออก  แม้ตอนนี้บางท่านอาจจะยังไม่ได้เป็นผู้เพาะพันธ์นกเขาชวาเพื่อการส่งออกไป ขายยังต่างประเทศ   แต่ไม่แน่ในอนาคตท่านอาจจะเป็นผู้ส่งออกนกเขาชวารายใหญ่ก็ได้        ทราบข้อมูลไว้ก็ไม่น่าจะเสียหาย  ผมว่าน่าจะมีประโยชน์ด้วยซ้ำไป

มีประเด็นที่น่าสนใจ  ก็คือ

 

1 ทางภาครัฐเห็นถึงความสำคัญของการส่งออกนกเขาชวาไปยังต่างประเทศ  เพราะเห็นว่านกเขาชวามีมูลค่าการส่งออกไปต่างประเทศค่อนข้างสูง และเป็นช่องทางนึงที่จะช่วยให้มีเงินตราต่างประเทศไหลเข้ามามากขึ้น   ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น  โดยเฉพาะในหมู่ผู้เพาะเลี้ยงเพื่อการค้า  และทำให้เกิดการแข่งขันในการพัฒนาฟาร์มของตนเองให้มีมาตรฐาน

2 หากมีการจัดการฟาร์มตามมาตรฐานและได้รับการรับรอง ก็เหมือนกับการยกระดับความน่าเชื่อถือของฟาร์มเพาะพันธุ์นกเขาชวา   ทั้งที่แต่ก่อนเคยทำกันแบบตามสะดวก ทำให้ที่ได้รับการรับรองเป็นฟาร์มมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ  และแน่นอนเมื่อได้รับการยอมรับแล้ว  การส่งออกและนำนกเข้าประเทศคู่ค้าย่อมทำได้ง่ายขึ้น  เงินจากต่างประเทศก็เข้ามาหมุ่นเวียนเข้าประเทศมากขึ้นเป็นผลดีกับผู้เพาะ พันธุ์

3 เป็นการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรค   ตั้งแต่มีการพบการระบาดของ  “โรคไข้หวัดนก”   ซึ่งความจริงน่าจะเรียก  ไข้หวัดไก่มากกว่า  ตั้งแต่ปี 2544   ยังไม่เคยพบว่านกเขาชวาในประเทศไทยมีการติดเชื้อไข้หวันกเลย  ถึงแม้จะไม่พบ  การเฝ้าระวังป้องกันจึงน่าจะเป็นเรื่องที่ดี  การจัดการฟาร์มให้มีมาตรฐานในการป้องกันโรคจะช่วยให้หลายฝ่ายมั่นใจในความ ปลอดภัย   และทำให้นกในฟาร์มอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี  นกเขาชวาก็มีสุขภาพและคุณภาพที่ดีตามไปด้วย   ทำให้ประเทศคู่ค้ามีความมั่นใจว่านกจากฟาร์มที่ได้รับรองมาตรฐานของไทยจะ ปราศจากโรค  ซึ่งเป็นสิ่งที่เขากลัวอย่างมาก




การเข้าร่วมโครงการนี้ให้เป็นไปโดยสมัครใจของฟาร์มที่เพาะ เลี้ยงโดยไม่มีการบังคับ  หากฟาร์มใดจัดการฟาร์มได้ตามมาตรฐานก็จะได้รับการรับรอง  และขึ้นทะเบียนจากสำนักมาตรฐานสินค้าเกษตร  ทำให้ภาครัฐของประเทศคู่ค้ามั่นใจและยอมรับ  เหมือนกับเป็นใบเบิกทางการส่งออกนกเขาชวาสู่ตลาดอาเซียนได้อย่าสะดวกโยธิน  ผลประโยชน์ก็จะตกอยู่กับเกษตรกรเอง เพราะนกเขาชวาจากไทย  เป็นสายพันธุ์ที่เขายอมรับกันอยู่แล้วในเรื่องคุณภาพของเสียง  มีความคืบหน้าอย่างไรจะมาเล่าสู่กันฟังอีกครั้งหนึ่ง

กลับมาโม้เรื่องของนกเขาชวากันต่อดีกว่าครับ

เราเลี้ยงนกเขาชวาเลี้ยงนกเขาชวาไว้เพื่ออะไร

อาจจะเป็นคำถามที่ดู  ธรรมด๊า  ธรรมดา ถามไปทำไมก็ไม่รู้   ที่ตั้งหัวเรื่องไว้อย่างนี้ก็เพราะว่า  อยากจะบอกแก่ผู้ที่คิดจะเลี้ยง  การเลี้ยงนกเขาชวาของแต่ละท่านอาจจะมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน บางท่านต้องการเลี้ยงเพื่อฟังเล่น  บางท่านเลี้ยงเพื่อต้องการนำไปแข่งขันเพื่อความมีชื่อเสียง    แต่บางท่านต้องการเลี้ยงเพื่อการค้าอันนี้ก็แล้วแต่วัตถุประสงค์ของแต่ละคน  แต่คนเลี้ยงนกเขาชวาส่วนใหญ่เลี้ยงนกเขาชวาเพื่อฟังเสียงเป็นอันดับแรก   รองลงมาก็เลี้ยงเพื่อการแข่งขัน และจนกระทั่งคิดเพาะพันธ์ทำฟาร์มนกเขาชวา  ขนาดเล็กใหญ่  ตามกำลังที่มี




เลี้ยงนกเขาชวาแล้วได้ประโยชน์อะไรล่ะ

เคยมีคนถามผู้เขียนว่า  ทำไมถึงชอบเลี้ยงนกเขาชวา  มันมีเสน่ห์ตรงไหนเหรอ   ผู้ขียนก็เลยตอบไปว่า  ความสุขของการเลี้ยงนกเขาชวาอยู่ที่เลี้ยงแล้วมีความสุข   ความสุขเกิดจากอะไร  ก็เกิดจากการได้มีเวลาผ่อนคลายอารมย์จากเสียงขันเพราะๆ  ของนกที่ขันให้เราฟัง   ได้ออกกำลังกาย  ได้เคลื่อนไหวร่างกายในการทำกิจกรรม      อาจจะผิดกับบางท่านที่ชอบตีกอล์ฟบ้าง    ทำสวนปลูกต้นไม้   เลี้ยงปลาสวยงามบ้าง   มันเป็นความชอบเฉพาะบุคคล  แต่ทำแล้วมีความสุข  ไม่เป็นทีเดือนร้อนของใครก็เอาเถิด 

“ซื้อนกเขาชวาราคาแพงๆ  เป็นหมื่นเป็นแสน  ไม่กลัวมันตายเหรอ “  หรือ  “ถ้ามันตายจะทำยังไง”  คำถามนี้ก็ได้ยินอยู่เป็นประจำ  

“พ่อผม  แพงกว่านี้อีก  ยังตายเลย”    ????    นี่เป็นคำตอบที่อาจจะดูกวนๆ     แต่ก็แฝงไปด้วยปรัญชาและสัจจธรรม    ถ้าเลี้ยงแล้วมัวกังวลว่ามันจะตาย  ผู้เขียนว่าอย่างเลี้ยงเลยดีกว่า  แทนที่จะมีความสุขกลับเป็นทุกกังวล  หมดสนุกกัน  ลองรวบรวมข้อดีของการเลี้ยงนกเขาชวาแล้วสรุปได้เป็นข้อๆ  ดังนี้

1. ผ่อนคลายอารมย์ 

ในภาวะที่เศรษฐกิจ  มีปัญหา  ผู้คนมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหารอบด้าน    ธุรกิจที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงกลับมีการเติบโตสวนกระแส  เป็นเพราะว่าคนเราห่างไกลธรรมชาติมากขึ้น จึงโหยหาที่จะหาความสุขและอยู่ใกล้ชิดธรรมชาติมากขึ้น  หนีจากเรื่องจากเครียดๆ   จากภาระกิจการงานที่ต้องรับผิดชอบอยู่ทุกวัน  การได้มานั่งฟังเสียงนกเขาชวาซึ่งเป็นเสียงที่ธรรมชาติรังสรรค์ไว้ให้  กลับทำให้มีอารมย์แจ่มใสสดชื่นขึ้น  มีเรี่ยวแรงที่จะต่อสู้กับภาระต่างๆ  ได้ 

2. มนุษย์สัมพันธ์

การเลี้ยงนกเขาชวาโดยเฉพาะการเลี้ยงเพื่อการแข่งขัน  เป็นกิจกรรมที่มิได้ทำเพียงลำพังคนเดียว  แต่จะมีคนอื่นที่ชื่นชอบนกเขาชวาเหมือนกัน  มาร่วมกันทำกิจกรรม  ไม่ว่าจะเป็นการซ้อม   การแข่งขัน  การมีเวลาพบปะพูดคุยกัน  ทำให้รู้จักกับคนมากขึ้น  และคนเลี้ยงนกเขาชวามีหลายระดับชั้น   ทั้งนักธุรกิจ  พ่อค้า  ข้าราชการ  ลูกจ้างคนกินเงินเดือน  บางครั้งการรู้จักกันในวงนกเขาชวา  ยังเชื่อมโยงไปถึงเรื่องของธุรกิจการงาน  จากความสัมพันธ์เป็นการส่วนตัว  มีส่วนช่วยเหลือเกื้อกูลกันในเรื่องต่างๆ  ทั้งเรื่องหน้าที่การงาน  ธุรกิจ     และเรื่องส่วนตัว  ความมีน้ำใจของคนนกเขา  ช่วยเหลือเกื้อกูลกันมีให้เห็นอยู่เสมอ          

3. เป็นการฝึกนิสัย

การเลี้ยงนกเขาชวาแม้จะไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยาก  แต่ก็ต้องมีวิธีการเลี้ยงที่ถูกวิธี        ต้องฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ   ผู้เลี้ยงต้องมีวินัยในการเลี้ยง   กว่าจะมีนกเขาชวาที่มีความพร้อมสำหรับการแข่งขันต้องใช้เวลา  และความอดทนในการเลี้ยงดู   ฝึกซ้อม  

3.1 ความมีวินัย

ความสม่ำเสมอในการดูแลนกเขาชวาเ ป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง  เนื่องจากการเลี้ยงมีรูปแบบวิธีการ  ถึงแม้ผู้เลี้ยงแต่ละคนจะมีเทคนิคในรายละเอียดที่ต่างกันก็ตาม

เช่น  ต้องนำนกออกตากแดดทุกวัน   ฝึกขึ้นรอกและเอานกลงจารอกตามเวลา

มีการป้อนถั่วเขียวบำรุง  เปลี่ยนอาหารทำความสะอาดกรง  ตามเวลา  ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยฝึกให้ผู้เลียงเป็นคนที่มีความรับผิดชอบ และมีวินัย 

3.2 ช่างสังเกตุ

การเลี้ยงนกเขาชวาที่ถูกต้อง ต้องมีการสังเกตุพฤติกรรมของนก  นกแต่ละนกมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน    ชอบกินอะไร  ไม่ชอบ อะไร    กินอะไรเลี้ยงอย่างไง  แล้วเปิดเสียงดี   อย่างนี้เป็นต้น  ผู้เลี้ยงจะเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับนกมากกว่าผู้อื่นต้องรู้จักสังเกตุนก ของตน  เพื่อประโยชน์ในการแต่งนกให้มีความพร้อมที่สุดสำหรับการแข่งขัน  หรือแม้กระทั่งการจับคู่เพื่อเพาะพันธุ์ 

3.3 มีความอดทน

นกเขาชวาคงจะไม่เหมาะกับคนที่ใจร้อน  เพราะบางทีนกที่ได้มาเป็นนกที่ยังไม่ได้อายุ   ต้องมีการประคบประหงมดูแล  ให้มีพัฒนาการไปตามวัย  หรือแม้แต่นกใหญ่บางนก  ต้องใช้เวลาในการฝึกฝน  กว่าจะเป็นนกที่ดีพร้อม  ต้องมีการปรุงแต่ง  บางคนใจร้อนนกยังไม่ได้อายุทนรอไม่ไหว  มีการเปลี่ยนมือ    คนที่ใจเย็นนำไปเลี้ยงเมื่อถึงเวลา   ได้อายุกลายเป็นนกที่เก่ง  โด่งดังก็มีหลายนก  เจ้าขงเก่าได้แต่เสียดายนกไปดีอยู่ในมือคนอื่นเสียแล้ว




เริ่มต้นอย่างไรดีก่อนเริ่มเลี้ยงนกเขาชวา 

นกเขาชวาเป็นสัตว์ตัวเล็กๆ  ที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างถูกต้อง  ตามธรรมชาติ  มีชีวิตจิตใจ  ต้องการความรักเช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงอื่นๆ    ก่อนที่จะเลี้ยงต้องคำนึงถึงความพร้อมของผู้เลี้ยงก่อนเป็นอันดับแรก  ถามตัวเองก่อนว่าต้องการเลี้ยงนกเขาชวาเพื่ออะไร   มีความพร้อมแค่ไหน  และคุณมีเวลาที่จะดูแลเอาใจใส่เขาอย่างดีหรือไม่   คุณรักนกเขาชวาจริงหรือไม่  โดยเฉพาะองค์ประกอบอันหลัง   หากคุณไม่ได้มีความรักในนกเขาชวาอย่างจริงจัง ในช่วงแรกนกเขาชวาจะทำให้คุณเพลิดเพลินและมีความสุขที่ได้เลี้ยง  ดูแล  แต่เมื่อไรที่คุณเริ่มเบื่อ  คุณอาจจะมองว่ามันเป็นภาระแทนที่จะเป็นความสุข  ที่หยิบยกขึ้นมาก็เพราะไม่อยากให้คนที่คิดจะเลี้ยง  เลี้ยงเพราะเป็นแฟชั่น  หรือเลี้ยงเพราะแค่ความอยาก  เมื่อเบื่อก็ทิ้งไม่ดูแลเอาใจใส   ปล่อยให้อดๆ  อยากๆ  กรงไม่ได้ทำความสะอาด  แดดไม่ได้รับ   เป็นการทรมานมันเปล่าๆ 



 ฉบับนี้โควต้าหน้ากระดาษหมดซะแล้ว  ฉบับหน้าจะนำเรื่องการเตรียมตัวในการเลี้ยงนกเขาชวา

มาฝาก  และอย่าลืม  ดูแลนกเขาชวาของคุณให้ดี   ส่วนผู้เขียนขอเอานกออกไปตากแดด  และพานกไป

ซ้อมรอกที่สนามก่อน  ฟิตไว้เตรียมลุ้นรางวัลอาทิตย์หน้า   แล้วพบกันฉบับหน้านะครับ    

 

เคล็ดเซียน นกเขาใหญ่

 

ก็ต้องกล่าวคำว่าสวัสดีบรรดา สาวก นกเขาใหญ่คารมอีกเหมือนเคยครับ  เอ๊าท์!!!..... “สวัสดีคร๊าบ..พี่น้อง” มาอีกแว้วว..ว    [ดอยปุย]  เจ้าเก่าเจ้าเดิม  พอดีเรื่องงานส่วนตัวมันเยอะมากๆ เลยทำให้ฉบับที่ 3 เขียนได้น้อยนิดครับ  มาเจอกันฉบับนี้ก็เลือดตาแทบกระเด็นอีกเช่นเคย รีบพิมพ์ต้นฉบับส่งจนนิ้วหงิกงอทีเดียว....แต่ถึงจะรีบ  เรื่องราวต่างๆที่ผมนำมาเสนอก็ยังเต็มไปด้วยสาระอย่างเต็มเปี่ยมเหมือนเดิม ครับ

จากฉบับที่แล้วที่ผมยังค้างเรื่องราวของศาสตร์แห่งคารมเอาไว้ ฉบับที่ 4 นี้เรามาว่ากันต่อเลยครับ  เพื่อไม่เป็นการเสียเวลา เริ่มเรื่องกันเลย

ยกตัวอย่างเพื่อเปรียบเทียบให้เข้าใจกันได้ง่ายขึ้นก็คือ

คำขันเรียก  ถือว่าเป็นการ ชักชวน เชื้อเชิญหรือเรียกนกอีกฝ่ายให้มาต่อสู้กัน ( ชวนตีก็ว่าได้ครับ )

คำขันหนุน  เป็นกริยาของการย้ำหรือเน้นเพื่อให้นกอีกตัวเกิดความกลัว

คำขันคู  เป็นการย้ำอีก ขู่อย่างรุนแรงด้วยอารมณ์โกรธแบบสุดๆหรือแสดงอาการของความยิ่งใหญ่เพื่อปก ป้องอานาเขตของตน      ( ถ้าเป็นนกกรงหัวจุกก็เปรียบเหมือนนก ริก นั่นเอง )………..]  ( ความเดิมตอนที่แล้ว... )




 ทางด้านของเรื่อง คารม นั้น มีผู้สนใจที่ได้ติดตามอ่านและเกิดความสงสัยติดต่อมาถามกันมากเกี่ยวกับ เรื่องนี้  ไม่แปลกครับที่เราจะรู้สึก งง “อะไรกันเนี้ย เรียก หนุน คู อะไรก็ไม่รู้ ฟังไม่เห็นจะออก”  อย่างที่บอกกล่าวกันไป ว่า คารม ไม่ใช่เรื่องหมูๆเลย  ต้องใช้เวลาพอสมควรกว่าจะเริ่มเข้าใจ  งั้นมาฉบับนี้ผมจะขอยกตัวอย่างเพิ่มเติมเพื่อให้เพื่อนๆพี่ๆชาว “เจาะสนามนก”เข้าใจในเรื่องคารมชัดเจนขึ้น

ขันอย่างไรกรรมการถึงจะให้คะแนน  มาดูจากตัวอย่างนี้กัน

1. นกขัน  เรียก  (/)  เรียก  (/)  เรียก  (/)  นกที่ขันแบบนี้เป็นนกที่ไม่มีคารม  แต่จะบอกว่าเป็นนกป่า 100% ไม่ได้ครับ นกลูกผสมที่ออกมาขันไม่มีคารมเลย  คือมีแต่คำ เรียก  (/)  แข่งติดอันดับมาแล้วก็เคยมีให้เห็นกันอยู่บ้างครับ แต่จะติดอยู่ในอันดับท้ายๆ

2. นกขัน  เรียก  (/)  หนุน  (-)  เรียก  (/)  หนุน  (-)  เรียก  (/)  เป็นนกที่ขันไม่เต็มตับหรือตับขาดนั่นเองคือขาดคำคู  ในการให้คะแนน นกตัวนี้ขัน 1 พยางค์เท่ากับ 2 คำ ได้คะแนนเพียงแค่ 1 คะแนน

3. นกขัน  เรียก  (/)  คู  (.)  เรียก  (/)  คู  (.)  เรียก  (/)  แบบนี้ก็ตับขาด คารมไม่สมบูรณ์ ขาดคำขันหนุน ขัน 5 พยางค์เท่ากับ 2 คำ ได้คะแนนที่คำคู 2 คะแนน นกแบบนี้จะดีกว่านกในข้อที่ 2 หนึ่งเท่าตัว ถ้ามีความถี่ดีมากๆ นกขันตับสลับหลายๆชั้นก็กินได้ยากเหมือนกันนะครับ

4. นกขัน  เรียก  (/)  หนุน  (-)  คู  (.)  เรียก  (/)  หนุน  (-)  คู  (.)  เรียก  (/)  เป็นนกขันเต็มตับสมบูรณ์ โดยมีตับสั้น คารมสั้นอยู่ในเกณฑ์ดี เพราะจะทำให้เพิ่มประโยชน์ในการเพิ่มคะแนนตับ อีก 2 คะแนน ในการให้คะแนนนกที่ขันเต็มตับ คือ คำหนุน 1 คะแนน  คำคู 2 คะแนน  เพิ่มพิเศษขันเต็มตับอีก 2 คะแนน รวมตับนี้นกขัน 3 คำ ได้ 5 คะแนน

5. นกขัน  เรียก  (/)  หนุน  (-)  คู  (.)  หนุน  (-)  เรียก  (/)  หรือ  เรียก  (/)  คู  (.)  หนุน  (-)  คู  (.)  เรียก  (/)  คำหนุนในวรรคแรกกับคำคูในวรรคที่ 2 เป็นคำเสริมตับสลับ 1 ชั้น แต่ได้รับประโยชน์ต่างกันนิดหน่อย คือ คำขันหนุนท้ายวรรคแรกจะได้คะแนนประจำคำ 1 คะแนน ได้คะแนนตับสลับอีก 2 คะแนน รวมเป็น 3 คะแนน  ส่วนวรรคที่ 2 คำขันคูสุดท้ายเป็นเป็นตับสลับคู จะได้คะแนนประจำคำ 2 คะแนน เพิ่มตับสลับอีก 2 คะแนน รวมเป็น 4  ผลต่างที่เห็นกันก็คือ นกที่ขันคูจะเหนือกว่านกขันหนุน อย่างเจ้านก [ดอยปุย] นั่นเอง 555+ ขันคูเยอะจัดจนบางทีไม่มีคำหนุนในตับ  เลยกลายเป็นนกขันตับขาดซะงั้นเลย  เอิ๊กๆๆ

6. นกขัน  เรียก  (/)  หนุน  (-)  คู  (.)  หนุน  (-)  คู  (.)  หนุน  (-)  เรียก  (/)  หรือ  เรียก  (/)  คู  (.)  หนุน  (-)  คู  (.)  หนุน  (-)  เรียก  (/)   วรรคแรกคำหนุนที่ 2 เป็นตับสลับ 1 ชั้น คำคูข้างหลังเป็นตับสลับ 2 ชั้น  และในแบบเดียวกัน วรรคที่ 2 คำคูคำที่ 2 ของวรรคเป็นตับสลับ 1 ชั้น คำหนุนต่อท้ายเป็นตับสลับชั้นที่ 2 การขันแบบนี้นกทั้งสองดีเท่ากัน

7. นกขัน  เรียก  (/)  หนุน  (-)  คู  (.)  หนุน  (-)  คู  (.)  หนุน  (-)  เรียก  (/)  หรือ  เรียก  (/)  คู  (.)  หนุน  (-)  คู  (.)  หนุน  (-)  เรียก(/)   คำหนุนสุดท้ายของวรรคแรกและคำคูสุดท้ายของวรรคที่สอง ไม่นับเป็นตับสลับ แต่จะได้ประโยชน์ของการให้คะแนนประจำคำ  คำหนุน 1 คะแนน  คำคู 2 คะแนน  การขั้นตับสลับตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไปจะต้องมีคำหนุนต่อด้วยคำคู หรือ คำคูแล้วต่อด้วยคำหนุน ควบไปเสมอ  ถ้าขาดคำใดคำหนึ่งไป คือคำคูเดี่ยว  หรือ คำหนุนเดี่ยว  ตามกติกาในการแข่งขันถือว่าเป็นการขันไม่สลับตับ




และแล้วก็มึนงงกันไปทั้งคนเขียนและผู้อ่าน  ฮ่าๆ  ล้อเล่นครับ  พยายามอ่านและทำความเข้าใจเมื่อตัวเรารู้สึกว่าเริ่มฟังออก  ในช่วงแรกๆแม้แต่ผมเองก็ยังไม่อยากจะอ่านเรื่องราวของคารมเลย.... “อะไรวะเนี้ย!! ตับสลับเอย  เสียงร้องเอย งงเป็นบ้า...” แต่เมื่อถึงวันที่เราเริ่มคลุกคลีกับนกมากขึ้น กลับมาลองอ่านทำความเข้าใจใหม่ คราวนี้รู้เรื่องแล้วเรา

สุดท้ายของเรื่องราวของ คารม  ผมอยากจะฝากบอกไว้ว่า การเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับ คารม ของนกเขาใหญ่ไม่ใช่เรื่องที่เราจะทำความเข้าใจกันได้ในเวลาอันรวดเร็วนัก แต่ถ้าหมั่นฝึกฝนและทดลองฟังจากนกหลายๆตัว(ยิ่งเจอนกมาก็ยิ่งมีประสบการณ์ มาก) ก็สามารถจะทำให้มือใหม่พัฒนาฝีมือในการฟังได้อย่างชำนาญโดยใช้เวลาไม่มากเลย ทีเดียวครับ  ยิ่งในยุดสมัยนี้มีเทคโนโลยีใหม่ๆเกิดขึ้นจึงทำให้เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ ในการแยกเสียงของนกได้

เช่น การใช้โปรแกรม Nero Wave Edit  เพื่อดูรูปคลื่นเสียงขัน อย่างนี้เป็นต้น ฉะนั้น  จริงๆแล้วผู้เลี้ยงมือใหม่สมัยนี้จะเรียนรู้ได้เร็ว  มากกว่าผู้เลี้ยงในสมัยก่อนซะด้วยซ้ำ เพียงแต่เราต้องรู้จักนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ควบคู่กับการเลี้ยงนกของเรา เพื่อจะได้เป็นการช่วยกันพัฒนาวงการ “นกเขาใหญ่คารม” ให้คงอยู่กับลูกหลานและทัดเทียมกับวงการนกแข่งขันอื่น ให้จนได้.......

หลังจากหมดเรื่องคารมที่แสนจะวุ่นวายไปเรียบร้อย ทีนี้ก็มาถึงเวลาในการหานกเจ๋งๆมาอยู่ในครอบครองกันซะที  แล้วเราจะต้องดูจากอะไร??  ในการหาซื้อหรือจะด้วยวิธีไหนก็ตามครับ ( ห้ามหานกโดนการทำผิดกฎหมายเด็ดขาดนะครับ ) ดักคอไว้ซักเล็กน้อย  ในการจะหานกมาเลี้ยงซักตัวเพื่อหวังว่านกของเราจะได้ไปติดรางวัลกับเค้าบ้าง ก็ไม่ใช่เรื่องยากเย็น  เอาเป็นว่าผมจะเล่าถึงวิธีการเลือกนกในแบบของผมก็แล้วกันนะครับ...






เลือกนกเขาใหญ่อย่างไร  ในแบบฉบับ [ดอยปุย]



 ในการเลือกและตระเวนหานกที่ดี มีแววทำได้โดยแบ่งเป็น 2 แบบใหญ่ๆ

1. ขอแบ่งนกแข่งดีๆจากบรรดาท่านผู้อาวุโสหรือผู้ที่แข่งขันอยู่ในวงการ ณ ที่สนามแข่งขัน  โดยเราต้องไปนั่งดู ในขณะที่นกทำการขึ้นตะขอแข่งขันเลยครับ สังเกตดูว่าเราชอบนกตัวไหน สไตล์อย่างไรเช่น ชอบนกที่ได้อายุ( เป็นนกที่มีประสบการณ์ในการแข่งขันมากๆ ) นกพวกนี้จะรู้งานเหมือนสั่งได้อะไรแบบนั้นเลยครับ และอีกอย่างก็คืออายุมาก เก๋าเกมส์กว่านกอายุน้อยๆ ส่วนใหญ่นกกลุ่มนี้จะมีราคาค่อนข้างสูง (แต่ก็คุ้มกับการที่เราจะต้องพรากความผูกผันระหว่างเจ้านกกับผู้เลี้ยงไป)  หลังจากดูสไตล์การสู้ของนกแล้วทีนี้ก็ลองดูคะแนนที่ได้ว่าเราพอใจมากน้อยแค่ ไหนครับ พอตกลงใจว่าชอบตัวไหนแล้วทีนี้ก็อยู่ที่ความสามารถของเราเองแล้ว ว่าจะทำอย่างไรที่จะขอความกรุณาจากเจ้าของนกตัวนั้น....แบ่งมาให้มือใหม่ๆ ได้ลองเลี้ยงและได้สัมผัสกับ “นกเขาใหญ่คารมที่แท้จริง”  แต่มีสิ่งหนึ่งที่ ผมอยากจะฝากไว้ก็คือค่าของเงินทองไม่สามารถจะแลกเปลี่ยนเป็น เจ้านกเขาใหญ่คารมที่เจ้าของสุดแสนจะรักได้ซะเสมอไปนะครับ บางทีเราก็ต้องพกความจริงใจติดตัวไปด้วยครับ

2. หานกกระดูกอ่อน (พวกนกที่ยังมีอายุน้อย) การหานกเด็กๆมาเลี้ยง ฟูมฟัก เพื่อให้เป็นนกแข่งที่เก่งในวันข้างหน้าแบบนี้ ต้องใช้ประสบการณ์ค่อนข้างมากเพื่อคัดเลือกลูกนกที่มีแวว มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากลูกนกตัวอื่นๆ วิธีการนี้ผมขอแนะนำสำหรับมือใหม่ทุกๆท่านเลยครับ เพราะใช้ทุนในกระเป๋าไม่มากนัก แต่ต้องใช้ความอดทนสูง และเป็นการพิสูจน์ตัวเองด้วยว่า ตอนนี้ตัวเรารู้จักกับนกเขาใหญ่คารมดีมากพอหรือยัง






[ เทคนิคและเคล็ดลับต่างๆในการเลือกนกเขาใหญ่คารมอย่างเซียน ]

1. เราต้องสอบถามประวัติ ที่มาที่ไปของลูกนกซะก่อนว่า ต้นตระกูลเป็นมาอย่างไรบ้าง พ่อเป็นใคร แม่มาจากไหน ยิ่งรู้ประวัติของนกที่เราสนใจมากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งเลือกได้ง่ายขึ้นครับ

2. หลังจากจับลูกนกขึ้นมาจากกรงบินใหญ่มาใส่กรงเลี้ยงแล้วเจ้าลูกนกมีอาการ เป็นอย่างไร บางตัวตกใจกลัวมากจนเกินเหตุแต่บางตัวไม่มีอาการตกใจเลยแถมร้องให้เราได้ยิน กันซะอีก แบบนี้ก็แสดงว่าลูกนกตัวที่ไม่ตกใจจะต้องมีใจที่ดีกว่าอีกตัวแน่นอน

หลังจากได้ยินน้ำเสียงแล้วก็ลองฟังดูว่าน้ำเสียงดีมากน้อยเพียงใด ขันเข้าตับแล้วเป็นอย่างไร และที่สำคัญเราต้องทราบถึงอายุที่แน่นอนของลูกนกด้วย( ตรงนี้สำคัญครับ ) อย่างที่ผู้เขียนอย่างผมพบเจอมากับตัวเอง  ก็คือเจ้าลูกนกตัวที่เก่งๆก็มักจะฉายแววออกมาตั้งแต่อายุน้อยๆเลย  เช่น  เจ้าลูกนกอายุได้แค่ 2 เดือนเศษ ก็เริ่มขันโยนได้แล้ว และที่ทำให้ตกตะลึงที่สุดที่เคยเห็น ลูกนกอายุได้เพียงแค่ 3 เดือน 15 วัน เกาะคอนไม้ ขันเข้าตับอย่างไม่หยุดหย่อน แถมด้วยเมื่อจับมาเลี้ยงในกรงเลี้ยง อกอีแป้นจะแตก!!

ออกอาการสู้นกเหมือนกับนกที่แข่งติดมาแล้วอย่างไม่เกรงกลัว 

3. การคัดเลือกโดยการสังเกตนิสัยของนก

การเลือกนกเขาใหญ่คารมที่เก่งหรือแข่งติดบ่อยครั้งต้องสังเกตลักษณะนิสัยของ นก ว่ามีนิสัยที่เป็นประโยชน์กับกฏกติกาการแข่งขันหรือไม่ เช่น มีนิสัยชอบขันเข้าตับยาวๆ ไม่ค่อยกลัวคน นกพวกนี้จะคุ้นเคยกับเจ้าของเร็วมาก ฯลฯ

4. นกที่มีน้ำเสียง-แกนเสียงที่แตกต่างจากนกทั่วๆไปแต่ต้องแตกต่างไปนทางที่ ดีนะครับ เช่น น้ำเสียงฟังแล้วรู้สึกแทงหูมากๆ โทนเสียงตวาดหนักแน่น ใส ลอยไกล ฯลฯ นกกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เมื่อขึ้นแข่งคู่แข่งจะกลัว ตกใจ ไม่นานนักก็สามารถกดคู่ต่อสู้อีกตัวอยู่หมัดเลยทีเดียว

5. ฟังนกขันอย่าฟังคนขายนกขัน

6. นกที่จะเป็นนกแข่งที่ดีควรจะสู้ในทุกสถานะการและทุกสถานที่ ราคาต้องไม่สูงมากจนเกินไป แต่การซื้อขายนั้นก็อยู่ที่คนทั้งสองฝ่ายถ้าต่างพอใจก็รีบเอานกกลับบ้านเลย ทีเดียวเชียว




สิ่งหนึ่งในการคัดเลือกลูกนกก็คือ อย่ารีบร้อนและอย่าเพิ่งไปสนใจกับคำว่า”คารม”มากนักเพราะนกอายุยังไม่ มาก(ประมาณ4-12เดือน)เมื่อนกโตขึ้นทั้งคารม น้ำเสียง ความถี่ จะสามารถพัฒนาไปได้อีก เบื้องต้นก็ให้สืบประวัติ ฟังน้ำเสียง สังเกตนิสัยของนก ดูความกล้า ความดุดันว่าเหมาะกับกฎกติกาการแข่งขันในสมัยนี้รึเปล่าแค่นั้นก็เพียงพอ ครับ ที่เหลือก็อยู่ที่น้ำเลี้ยงของเราเอง ว่าจะสามารถปั้นแต่งลูกนกที่มีแววให้เป็นนกแข่งที่เก่งได้มากแค่ไหนนั่นเอง ครับ สำหรับนกเขาใหญ่คารมที่เป็นนกแข่งติดอันดับแล้วบางตัวได้รับรางวัลตอนมัน อายุอยู่ในช่วง 6 - 10เดือนก็มีให้เห็นมากมายนัก อย่างลูกนกเสียงใหญ่ของผมก็สามารถแข่งติด ตอนอายุเพียง 10 เดือน เมื่อไหร่ที่สังเกตุเห็นลูกนกมีอาการณ์แบบในเบื้องต้นที่พูดมาเราก็สันนิฐาน ได้ก่อนเลยว่าเจ้าลูกนกแบบนี้จะต้องเป็นนกที่สุดยอดในวันข้างหน้าอย่างแน่ นอน( แบบว่าฉายแวววว....ว )  เท่าที่ผมทดลองใช้วิธีการสังเกตดูลูกนกที่อยู่ในกรงรวมใหญ่แบบนี้ ได้ผลดีเกินคาดครับ (แต่ยังไงหลายๆท่านก็ลองหาวิธีการของตัวเองหรือลองทำแบบผมดูก็ไม่หวงเลย)  ในการสังเกตก็ต้องใช้อีกหลายๆอย่างประกอบกันไปด้วยครับ ไว้ถ้านึกออกจะนำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับต่อๆไป  อีกอย่างที่สำคัญครับ เราจะต้องหาที่ปรึกษา ที่มีประสบการณ์ ไว้เป็นที่ปรึกษาซักคนจึงจะประสบความสำเร็จได้ โดยใช้เวลาไม่มากจนเกินไปและเดินบนเส้นทางสายนี้ได้อย่างถูกต้อง





ดินดำสำคัญอย่างไรกับนกเขาใหญ่คารม

 ดิน  หิน  ทราย  มีความสำคัญมากสำหรับสัตว์ปีกอยู่แล้ว เพราะสัตว์ปีกต้องใช้ ดิน ทรายเพื่อช่วยในการย่อยอาหารที่มันกินเข้าไป ยิ่งนกเขากินเมล็ดพืชต่างๆเป็นอาหาร อธิเช่น ข้าวเปลือก ข้าวฝ้าง มิลเล็ต ถั่วเขียว  ฯลฯ เนื่องจากเมล็ดพืชมีความแข็ง  กระเพาะอาหารอย่างเดียวจึงไม่สามารถทำหน้าที่ย่อย อาหารจำพวกนี้ได้หมด  และนกก็ไม่มีฟัน เพื่อทำหน้าที่ช่วยในการย่อยอาหารในขั้นแรกแบบมนุษย์เรา ฉะนั้นกระบวนการย่อยและดูดซึมสารอาหารของสัตว์ปีกจึงต้องใช้เศษหินเศษดิน ทราย มาช่วยแบ่งเบาการทำหน้าที่ของกระเพาะ   นี่แหละคือสาเหตุว่าทำไมเราต้องใส่ดิน หรือทรายไว้ให้นกเขากินควบคู่ไปด้วย แต่นั่นก็เป็นเพียงประโยชน์ข้อแรกของดินดำเท่านั้น  ส่วนประโยชน์ข้อต่อไปก็สำคัญไม่แพ้กันครับ

 ประโยชน์ของดินดำอีกข้อหนึ่งก็คือ ทำให้นกเขาที่เรานำมาใส่กรงเลี้ยง( ผิดธรรมชาติ ) ถ่ายท้องได้ดี ท้องไม่ผูก ขี้นกก็จะไม่แข็ง เพราะในส่วนผสมของดินดำที่เราทำให้นกเขาของเรา มีสมุนไพรหลายชนิดที่มีสัพคุณทางยาเป็นยาระบาย เช่น ใบชุมเห็ด

พริกป่น มะขามเปียก  ฯลฯ  ส่วนผสมเกือบทั้งหมดที่ผสมลงไปในดินดำ มีจุดประสงค์หลักคือ ช่วยทำให้นกเขาขับถ่ายสะดวก  ท้องไม่ผูก หลายๆท่านคงสงสัยขึ้นมาแล้วซิว่า แค่ท้องผูก ขี้แข็ง เนี้ยมันสำคัญมากเชียวหรือ ? ผมตอบได้เลยครับว่าสำคัญสุดๆ!!

ไหนๆก็พูดเรื่องนี้มาแล้ว ก็เอาให้กระจ่างกันไปเลยแล้วกันครับ ถือว่าชดเชยให้ในฉบับที่ 3

 ธรรมชาติของนกเขาใหญ่ นกประเภทนี้จะไม่ค่อยแสดงอาการใดๆให้เราเห็นกัน ไม่ว่าจะเป็นเวลาเจ้านกไม่สบายก็ตาม ไม่เหมือนพวกนกกรงหัวจุกที่จะแสดงอาการออกมาให้ผู้เลี้ยงได้เห็นและรักษาได้ ทันเวลา  แต่ส่วนใหญ่นกเขาก็จะไม่ค่อยป่วยหรือตายง่ายๆ รียกได้ว่า โค-ตะ-ระ อึดเลย เพียงแต่เจ้านกเขาที่เรานำมาเลี้ยงมักจะมีปัญหาในเรื่องระบบการย่อยอาหาร ทำให้มีอาการท้องผูกอยู่เสมอๆ  สิ่งสำคัญอีกอย่างที่เราจะสังเกตเห็นได้บ่อยๆว่าเมื่อเจ้านกเกิดอาการกลัว สิ่งใดมากๆจะส่งผลไปถึงระบบการขับถ่ายได้ทันที เช่น ขี้เขียว  อันนี้ใครที่เลี้ยงนกแข่งจะทราบกันดี เพราะลูกนกของหลายท่านที่ปั้นขึ้นมาแข่งขันใหม่ๆส่วนมากจะโดนนกแก่ๆอัดซะ ขี้เขียวกลับบ้านไปตามๆกันจริงมั้ยครับ 555+ นกผมยังเคยเลย  วิธีการสังเกต ดูจากขี้นกที่ขับถ่ายออกมาว่ามีลักษณะเป็นก้อนแข็งหรือไม่ ถ้าใช่นั่นแหละครับท้องผูกไปเรียบร้อยแล้ว ปกติขี้ของนกที่มีสุขภาพดีจะแหลวงแบบมีน้ำออกมาปนกับส่วนของมูลนกอยู่ด้วย

 นกท้องผูกส่งผลอย่างไร

1. นกที่เคยแข่งขันติดอันดับมาแล้วบ่อยครั้งก็จะไม่ติด หรืออันดับลดลงอย่างเห็นได้ชัด ถ้าปล่อยไว้นานอาจถึงขั้นแข่งไม่ติดไปเลยก็มี

2. นกที่เคยขันได้ทั้งวันก็กลับเป็นนกที่ขันน้อยหรืออาจจะขันโยนมันทั้งวันโดยไม่เข้าตับ

3. สรุปง่ายๆก็คือ นกของเราจะดรอปลงในทุกๆเรื่อง ทีนี้เห็นรึยังครับว่าสำคัญขนาดไหน




การทำดินดำ

 การทำดินดำให้นกเป็นอะไรที่ใช้เวลานานเป็นวันๆครับ เอาเป็นว่าถ้าวันไหนตั้งใจจะทำดินดำวันนั้นทั้งวันไม่ต้องอะไรกันแล้ว! บางครั้งที่ทำ 1 วันไม่เสร็จก็มี แต่ที่เคยเจอกับตัวเองครั้งที่หัดทำครั้งแรกๆ หลังทำเสร็จก็นำดินที่ได้มาใช้ปกติ ใช้ได้ 2 วันราขึ้น!!! น้ำตาแทบไหล  เหตุการณ์นั้นทำให้ผมต้องจดจำมาจนถึงวันนี้ว่า เมื่อไหร่ที่ทำดินดำจะต้องห้ามรีบร้อนเด็ดขาด!! เพราะอะไรราถึงขั้นดินดำ ก็เพราะตอนขั้วดินให้แห้งจะต้องใช้ไฟอ่อนๆค่อยๆขั้วดินที่มีน้ำส่วนผสมท้วม อยู่จนกว่าดินจะแห้งสนิทไม่อย่างนั้นก็จะประสบเหตุการณ์ที่ผมพบเจอ  การเสียเวลาทำดินดำนั้น สำหรับผู้เลี้ยงนกเขาใหญ่คารมเก่งๆดีๆหลายคนก็พร้อมที่จะยอมเสียเวลาในการทำ เพราะมันคุ้มค่าจริงๆ

ส่วนผสมที่จะใช้ทำดำดิน(มันเป็นสูตรของเซียนแต่ละคนที่ไม่ค่อยจะยอมเปิดเผยซักเท่าไหร่นัก)

 แต่วันนี้นาย[ดอยปุย] ยอมเสี่ยงตายไปล้วงคองูเห่าจากเซียนเก่าแก่ท่านหนึ่ง เพื่อนำสูตรลับมาฝากเพื่อนๆสมาชิก “เจาะสนามนก” และเพื่อสุขภาพที่ดีของเจ้านกเขาใหญ่ทุกๆตัวเล๊ย..

สิ่งที่เราต้องใช้มีอะไรบ้างมาดูเลยครับ

 1. น้ำยาขนมจีนทั้งน้ำยากะทิและน้ำยาป่า

 2. เนื้อปลาช่อน

 3. น้ำมะขามเปียก

 4. ใบชุมเห็ด (สำคัญมากๆ)

 5. พริกป่น

 6. น้ำปลาอย่างดี

 7. น้ำผึ้งป่าแท้ๆ(ต้องแท้นะครับ)

 8. ดินจอมปลวกเผา(อันนี้ก็สำคัญมาก)

เมื่อทำเสร็จที่เนี้ย........จัดการเทให้นกกินโล๊ดด.... สังเกตดูขี้นกหลังจากที่มันกินเข้าไปแล้ว ขี้จะต้องเป็นสีดำและเหลวอย่างที่คุยไว้รึเปล่า แล้วอย่าตะลึง!! “นกของเราทำไมเปลี่ยนไป”

 และแล้วกระผมก็พิมพ์ไม่ไหวซะแล้วครับสำหรับฉบับที่ 4 ฉบับนี้ เหนื่อยจริงๆ แต่ก็เพื่อบรรดาสาวกนกเขาใหญ่คารมทุกท่าน แล้วในฉบับต่อไปจะยิ่งมีเนื้อหาสาระที่เข้มข้น ไม่มีใครเคยเปิดเผย  จะเอามาเล่าสู่กันฟังเหมือนเคย โดยผมนาย[ดอยปุย] (ถ้ายังไม่โดนลุง เซียนนกเขาคนนั้นฆ่าผมไปซะก่อนหากแกรู้ว่าผมแอบนำสูตรที่แกหวงนักหวงหนามา เขียนลงนิตยสาร)  ท้ายเรื่องก็ต้องขอขอบพระคุณทุกคนที่ติดตามครับ

เทคนิกการเตรียมตัวนกและเจ้าของนกก่อนการแข่งขัน**


เทคนิกการเตรียมตัวนกและเจ้าของนกก่อนการแข่งขัน**



Publication1.jpg



Publication2.jpg



Publication3.jpg



Publication4.jpg

เลือกซื้อนกหัวจุกอย่างไรให้ได้นกตรงกับความต้องการ*


เลือกซื้อนกหัวจุกอย่างไรให้ได้นกตรงกับความต้องการ*



Jorsanamnok1.jpg



Jorsanamnok2.jpg





Jorsanamnok3.jpg





มาลองทำกรงนกหัวจุกใช้เองกันดีกว่า*

มาลองทำกรงนกหัวจุกใช้เองกันดีกว่า*




Ong1.jpg



Ong2.jpg



Ong3.jpg







Ong4.jpg







Ong5.jpg







Ong6.jpg



นกสวนผึ้ง ป่าละอู ระนอง ทับสะแก กาญจนบุรี มีดีที่ตรงไหน?


นกสวนผึ้ง ป่าละอู ระนอง ทับสะแก กาญจนบุรี มีดีที่ตรงไหน?



Publication1.jpg







Publication2.jpg



Publication3.jpg







Publication4.jpg








นกเริ่มจะบิดคอจะทำอย่างไรดี

ผมคิดว่า สาเหตุหลักอาจมากจากสองประการครับ



ประการแรก

เกิดจากนิสัยของนกเอง การเกิดอาการด้วยสาเหตุนี้ โอกาสแก้ไขให้หายเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย ไม่ว่านกจะเปรียวหรือเป็นนกใหม่หรือเป็นนกเชื่องหรือเป็นกที่แข่งขันได้แล้ว ครับ โดยเฉพาะนกที่มาจากป่าแถบเทือกเขาตระนาวศรี นกตัวเล็ก ๆ ส่วนมากเป็นอาการแบบนี้กว่า ร้อยละ 30 ผมแนะนำว่าหากจะเลี้ยงและนกมีความดีที่เราต้องการเช่น นกมาจากป่าที่เค้าว่ากันว่าเป็นนกใจดี หรือ ลุกนกโตมามีเสียงดี หรือ ลุกนกโตขึ้นมาแล้วสู้นกแข่งขันกับเขาได้ เรื่องนกบิดคอให้ลืมไปเสียครับ เพราะว่าการให้คะแนนของกรรมการ เอานกร้องเป็นหลัก นกบิดคอตีลังกาหากร้องก็ได้คะแนน ดีกว่านกที่ไม่มีลักษณะดังกล่าวแต่ไม่ร้อง มีปากเหมือนไม่มีครับ



ประการที่สอง

เกิดจากลักษณะการเลี้ยงไม่ถูกต้อง เช่น การวางห่วง วางถ้วย วางคอนข้าง ในกรงเอื้ออำนวยกับการกระโดด ขึ้นลงของนก ทำให้นกขึ้นขอบกรง ขึ้นไปชนกับขอบมุมกรงด้านบน ทำให้หาที่กระโดดหรือจังหวะการลงเกาะที่คอนลำบาก ต้องม้วนตัวก่อนถึงจะลงมาได้ หรือ ลักษณะกรงมีหลังคาที่โค้งเป็นจั่วร่มเล็กน้อย จะทำให้นกที่ไม่คุ้นเคย หลงฟ้า หลงคอน ได้ครับ เป็นสาเหตุหลักที่อาจทำให้นกตีลังกาบิดคอได้



การเปลี่ยนกรงก็มีส่วนช่วยในการให้นกเริ่มปรับตัวปรับนิสัยได้ตามสมควรครับ แต่องค์ประกอบอื่น ๆ ในกรงตามที่กล่าวมาก็มีผลกับลูกนกเช่นกัน โดยปกติหากนกเริ่มเกิดอาการนี้ ท่านต้องหากรงที่ไม่สูงมาก เตี้ย ๆ หน่อยใส่นกประเภทนี้ ถึงแม้นกจะเปรียวแต่หากได้กรงที่เอาไว้ฝึกลูกนกได้ เช่น หลังคาต้องเป็นหลังคาตรง และ กรงทรงไม่สูงมากนัก ระยะความสูงระหว่างคอนกลางและหลังคาไม่มากนัก ก็จะทำให้อาการดังกล่าวทุเลาลงได้ครับ



......................................................



โดย...... jong

ครับ..นกบิดคอ..เกิดจากอาการเครียดเป็นหลักครับ..ระแวง..และส่วนมากนกที่มี อาการอย่างนี้มักเป็นนกที่เปรียวอยู่..เปลี่ยนจากกรงปกติให้ไปอยู่กรงพักที่ ใหญ่ ๆ หน่อยก็ดีครับ..แล้วอีกอย่างหนึ่งก็คือพยายามอย่าตั้งหรือแขวนนกไว้ในที่ต่ำ จนเกินไป..เพราะธรรมชาติของนกหัวจุกจะมองสูงและบินขึ้นข้างบนอย่างเดียว... สำหรับยาแก้เครียด..อย่างที่ท่านเอกซ่าแนะนำ..ก็เป็นสิ่งที่ช่วยได้อย่าง หนึ่งครับ..แต่พยายามอย่าให้เขากินบ่อยหรือเป็นไปได้อย่าให้กินเลยจะดีมาก ครับเพราะขึ้นชื่อว่ายายังไงก็ย่อมมีสารตกค้างพอกพูนอยู่เสมอ...อีกอย่าง หนึ่งพยายามให้เขาเลิกระแวงได้จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดครับ...แนะนำกันครับ..





................................................................



โดย.......Eakza

ใช่ครับ เปลี่ยนใส่กรงใหญ่เลยครับ นกบิดคอหรือตีตังกา อาจจะเกิดจากอาการ นกเครียดครับ ลองเอายาแก้เครียดใส่ให่กินดูนะครับ แต่อย่าให้กินติดต่อกันนานเกินไปนะครับ มันอาจจะมีผมข้างเคียงกับนกได้ หรือไม่ก้อ ลองใส่กรงใหญ่ๆๆๆ เลยครับซัก 2-3 เดือน อาการน่าจะดีขึ้นครับ



...........................................





โดย......kopi

เอานกไปอยูที่กรงกว้างๆ (กรงใหญ่)เขาแนะนำมา ตอนนี้นกผมก็แก้ไขแบบนี้เหมือนกัน

ข้อพึงระวังในการเลี้ยงนกหัวจุก สำหรับมือใหม่

1..กรงโหล ก่อนนำนกเข้าไปใส่ให้เอากระดาษทรายเก็บรายละเอียด ส่วนมากกรงโหลราคาเบาๆ

จะไม่ค่อยเรียนร้อยบางใบมีลูกเม๊กแทงทะลุเนื้อไม้ออกมานกดินมาก อันตรายครับ

2..ถาดลองขี้ที่เป็นแผ่นฟิวร์เจอร์บอส ตอนล้างกรงให้สบัดน้ำออกจากร่องให้หมดแล้วนำไปตากแดดให้แห้งยอมเสียเวลานิดๆหน่อยๆ

ไม่มงั้นท่านจะสมาชิคใหม่มาอยู่เป้นเพื่อนนกของท่าน นั้นก็ คือ มดละเอียดตัวเล็กๆ

เวลาบี้ตัวมดแล้วจะมีกลิ่นสาปๆเพราะในร่องไม่แห้งสนิท

3..กล้วยน้ำหว้า เลือกแบบที่ลบเหลี่ยมแล้วแล้ว จะเป็นกล้วยแก่จากต้น เวลาซื้อมาจากร้านให้สังเกตุที่กล้วยแต่ละลูก

ถ้ามีคราบขาวๆรอบๆลูกกล้วยแน่นอนครับ พ่อค้าเขาแร่งด้วยแก็สก้อนแน่นอน

สุกเหมือนกันแต่แกนในจะมีกลิ่นนกจะไม่ชอบจิกกิน

4..การเก็บกล้วย อยากให้มดละเอียดขึ้นกล้วยเด็ดขาดเพราะกลิ่นสาบจะติดผิวกล้วย นกก้ไม่ชอบเช่นกัน

ผมใช้วิธี ห่อผ้าใส่ใว้ในกระป๋องแล้ววางในถาดเอาน้ำหล่อใว้กันมดขึ้นก้วลได้ผลดี

5..หนอนนกช่วงราคาแพงมาก วิธีการเก็บหนอนใว้ใช้นานๆ ให้ใส่ถาดพาสติกขนาดกำลังดีไม่ให้หนอนอืดอัดแล้วแข่ในตู่เย็น อ่อ เอากล้วยใส่ใว้ในถาดที่ใส่หนอนแล้วนำไปเก็บใว้

ในตู้เย็น หนอนจะหยุดการเจริญเติบโต และจะไม่ตายและจะไม่ขยายตัวออกเป็นดักแด้

เก็บได้เป็นเวลานานๆ

6ให้รีบเก็บ ถ้าเป็นน้ำให้รีบเช็ด 55555

7..นกใหม่อาหารที่กะตุ้นนก เช่นสุตร์ นกริก ยังไม่จำเป็นรีบแร่งนก

8..นกเล่นห่วง หรือนกวิ่งรบๆๆกรง ไม่สมควรบังคับนกโดยการเอากรงใบเล็กๆๆใส่เขา

นกวิ่งแล้วร้อง มีแววเป็นที่จะเล่นสากลได้

9..ดุขนาดของตัวนกรูปร่างนกใหญ่ หรือเล็กแต่งต่างกัน คอยสังเกตุ นกตัวใหญ่ใส่กรง15 เวลานกสวิงตัวหางนกจะปับคอนยืนหรือไม่ก้ ที่วางถ้วย แนะนำให้ใช้กรง17ซี่จะเข้ากับขนาดของนก

10..นกนี่ไม่ชอบใส่กรงจะดีมักๆ นกแต่ละนกจะเล่นไม่เหมือนกัน

ต้องคอยสังเกตุว่านกขอบเล่นแบบใหน

11..การเปิดเพลงนกด้วย CD ให้นกใหม่ หรือลูกใบ้แก้มขาวฟังเป็นเวลานานๆ จะทำให้นกมีอาการเคลียด

เพราะเพลงนกจากCD จะร้องไม่เว้นช่องไฟและมักจะเป็นเพลงซ้ำๆเสียงไม่ธรรมชาคิ

จะทำให้จิกหาง เล่นหลังกรง บิดคอ เพราะเขาหาตัวเจ้าของเสียงไม่เจอ

12..เป็นวันแม่แห่งชาติ ผ่านมาแล้วท่านใดพลาดไม่มีโอกาศ ไม่กราบแทบเท้าคุณแม่รอปีหน้าครับ

13..พอแค่นี้ก่อน เมื่อยนิ้ว ว่างๆจะหาข้อมลูไม่ดีแบบนี้มาฝากอีก ขอบคุณและขอโทษที่ทำให้ผู้สนใจกะทู้ผม

ต้องเสียเวลามานั่งอ่าน

วิธีการดูแลลุกนกหัวจุกที่ได้มาใหม่ทำอย่างไรดี

หายไปช่วยงานเลือกตั้ง สอบจ.หลายวัน สำหรับสมาชิกที่โทรมาถามเรื่อง ได้ลูกนกหัวจุกมาเรื่องและป่วย หลังจากนั้น 2 - 3 วันก็ตาย ขอเรียนแนะนำดังนี้ครับ



1. ลูกนกที่ได้มาอายุยังน้อยการดูแลตัวเองยังไม่ดีพอครับ โดนฝนโดนลมโกรกเข้า ส่วนใหญ่จะป่วยแล้วตายในที่สุด ควรหาวัสดุกันลมและฝนให้ลูกนกเหล่านี้ด้วย ผมถือว่าเป็นความรับผิดชอบที่ท่านเอาเขามาจากพ่อแม่นกตั้งแต่เล็กๆนะครับ ดูทิศทางลมและฝนมาทางไหนก็กันลมให้เขาบ้าง ถ้าต้องเอาเข้าบ้านก็ต้องเอาเข้าไป จะมาบอกว่ากลัวลูกติดหวัดจากนกไม่ได้ เพราะยามฝนและลมแรง พ่อแม่นกเขาเอาตัวบังลมและฝนให้ลูกนกนะครับ ลูกใครๆก็รัก ใครก็ห่วง ควรดูความพร้อมของตัวท่านเองเป็นหลักก่อนนำลูกนกมาเลี้ยงครับ ทางที่ดีควรให้ลูกนกตัวเป็นลูกใบ้หย่าจากพ่อแม่ก่อน จะดีกว่าไปพรากลูกนกจากพ่อแม่นกในช่วงนี้ครับ



2. ยาไบโอบี 12 ใช้ได้ทั้งป้องกันและรักษาครับ ควรละลายน้ำอย่างเจือจางไว้ให้ลูกนกจิบกินบ้างครับ อย่าปล่อยให้ป่วยแล้วมารักษาเกี่ยงว่าจะไม่ทันครับ เนื่องจากนกตัวเล็กๆความต้านทานต่ำครับ



3. การนำนกมาเลี้ยงรวมกันหลายตัวนั้น ผมอยากจะเรียนว่าไม่ควรทำ เพราะช่วงนี้นกจับคู่แล้วและมีหลายๆตัวเป็นสัดพร้อมกัน การต่อสู้จิกตีกันจะเกิดขึ้นเมื่อมีตัวต้องการเข้าคู่แต่มีนกตัวเมียหรือตัว ผู้ไม่พอในกรงรวม หรือว่ามีพอแต่นกไม่ยอมเข้าคู่แบบคลุมถุงชนเหมือนคน ก็จะจิกตีกันจนตายภายในกรงหรือฝ่ายที่สู้ไม่ได้ก็จะถูกไล่จิกตีไปจนบินชนกรง คอหักตาย หรือบาดเจ็บได้นะครับ ต้องแยกเป็นคู่ให้เขาด้วย หรือแยกเป็นกรงแขวนเดี่ยวไว้ก่อนจึงจะปลอดภัยดีครับ



4. อาหารสำหรับลูกนกช่วงแรกๆเน้นที่หนอนนกก่อนครับ มะละกอสุกและตำลึงสุกๆด้วยครับ สำหรับกล้วยนั้นเน้นต้องสุกงอมๆจึงจะดีสำหรับลูกนกครับ



ประมวลปัญหาจากมวลสมาชิกคนรักนกหัวจุกครับ ขอบคุณครับที่คิดถึงกันอยู่ ตอนนี้ผมเข้ามาช่วยลงกระทู้ให้ 3 เวปครับ คือ นกสยาม , นกหัวจุก และสมาพันธ์นกกรงหัวจุกภาคเหนือครับ

สายฝนและสายลมทำให้นกป่วย

จาการที่ผมได้รับสายโทรศัพท์คุยกับ สมาชิกที่โทรเข้ามาคุยกัน บ่อยครั้งที่ได้ทราบว่านกป่วยและจะทอย่างไรดี จึงขอแนะนำวิธีป้องกันมาเล่าสู่กันฟังครับ สำหรับสมาชิกที่ยังประสบการณ์น้อยๆและหัดเลี้ยงใหม่ดังนี้ ครับ



1. ในช่วงฤดูฝนนั้นควรแขวนนกในที่ที่ไม่เปียกฝน โดยเฉพาะละอองฝนจะทำให้นกป่วยเป็นไข้หวัดและตายได้ภายใน 2 - 3 วัน ถ้าจะไปธุระนอกบ้านหรือไปทำงานควรแขวนกรงนกในบ้านจะดีกว่าครับ เพราะบางที่กับมาไม่ทันถึงบ้านนกก็อาบน้ำฝนไปหลายๆรอบ จนตัวสั่นไปหมดเนื่องจากโดนฝนครับ



2.การแขวนกรงนกควรดูทิศทางของลมด้วย ไม่ควรไปแขวนทางช่องลมผ่าน เนื่องจากลมแรงทำให้นกป่วยได้ครับ และบางครั้งถ้ากรงมีน้ำหนักเบา เวลาเรากลับจากทำงานจะเห็นกรงตกลงมาที่พื่น ถ้าโชคดีก็กรงแตกหัก เสียหายอย่างเดียว แต่ถ้าโชคร้ายกรงแตกหรือประตูกรงเปิดจะไม่เสียแต่กรง จะรวมไปถึงนกในกรงหลุดหลายไป หรืออาจบาดเจ็บได้ ควรระวังในจุดนี้ด้วย



3.ควรใช้ผ้าคลุมกรงนกในช่วงกลางคืนที่อากาศเย็น และมีฝนตกหนักครับ นกจะได้อบอุ่นและไม่ตกใจง่ายด้วยครับ เวลามีสิ่งมารบกวนเช่น จิ้งจก และจะปลอดภัยจากตุ๊กแกด้วยครับ เพราะบางบ้านบอกว่ากลัวตุ๊กแกกินนก มากกว่างูอีก เนื่องจากบางบ้านนั้นมีตุ๊กแกเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านด้วยครับ

การทำสีกรงนกหัวจุก

เรื่องการทำสีกรง....ว่าควรทำอย่างไร?..ใช้สีเคลือบของอะไร?ดี

ยี่ห้อไหนคงทนถาวร...หรือใช้ได้นาน ๆ การทา ๆ ด้วยแปรงดีไหม?..หรือการพ่นด้วยปั๊มลมด้วยกาพ่น ???

สำหรับผมแล้ว..การทำสีกรงที่ผมทำขึ้นมาใช้เอง..มักจะพิถีพิถันสักหน่อยหนึ่งเพราะต้องการที่อยากให้ได้

คุณภาพการใช้งานให้คงทนหรือยืนยาวซักหน่อยหนึ่ง.....วันนี้เรามาทำความเข้าใจกับการทำสีกรง

กันดีกว่าครับ...ว่าเราจะเริ่มทำอย่างไรกับกรงที่จะต้องทำสี...สีที่เราใช้เราจะต้องใช้สีอะไร ? ที่ดูดีและ

เหมาะสมกับงานกับไม้กรงที่เราทำมา.....และการทำสีมีอยู่สองวิธีที่มักจะทำกันก็คือ...หนึ่ง.การทาด้วย

แปรงขนอ่อน..ทาด้วยมือ.....อีกอย่างก็คือการพ่น....ด้วยการใช้ปั๊มลมและกาพ่นสี.....

เรามาดูการทาด้วยแปรงกันก่อนนะครับว่าเราต้องเตรียมอุปกรณ์อะไร?บ้างดังนี้คือ.................................

1. แปรงขนอ่อนขนาด 2 เซ็นต์และขนาด 4 เซ็นต์

2. สีเคลือบที่จะต้องใช้สำหรับเคลือบ

3. ทินเนอร์หรือส่วนผสมของสีเฉพาะนั้น ๆ

4. กระดาษทรายละเอียด

5. ถ้วยหรือกระป๋องสำหรับผสม

6. กาวร้อน

เริ่มแรกเลยนะครับถ้าเป็นการทาด้วยแปรงสีที่ใช้ส่วนมากแล้วมักจะใช้มักเป็น ยูนิเทรนจะเป็นอย่างขวดหรือ

อย่างกระป๋องก็ได้ครับและก็อีกอย่างคือทินเนอร์...ก่อนที่จะทำการทาสีกรงเริ่มทำสีเราต้องขัดกรงให้เรียบร้อย

ดีก่อนโดยพยายามเก็บรายละเอียดส่วนต่าง ๆ ให้เรียบและเสมอดีแล้วขัดเสร็จก็หาเศษผ้ามาลูบเพื่อปัดเอาเศษฝุ่นหรือเศษผง ของไม้ออกให้หมดไป หลังจากนั้นก็ผสมทินเนอร์กับยูนิเทรนโดยใช้อัตราส่วนสองต่อหนึ่ง....... คือ..ยูนิเทรนหนึ่งส่วนและทินเนอร์สองส่วน...คนให้เข้ากันโดยใช้เศษไม้คน แล้วจึงเริ่มทำการทาสีกรง.....

(กรง...ถ้าประกอบเสร็จและใส่ซี่เรียบร้อยแล้วมักจะทำการทาสียากสักหน่อยถ้า ทำสีโดยการทาควรจะเว้นการใส่ซี่ไว้บ้างเพื่อที่จะสอดมือเข้าไปทำข้างใน ได้....)การทาสีสมควรทาสีดังนี้คือ..ทาครั้งแรกเสร็จแล้วให้ปล่อยทิ้งไว้ให้ แห้งดีหมายถึงแห้งจริง ๆ แล้วจึงทำการขัดด้วยกระดาษทรายละเอียดอีก..ขัดให้เรียบแล้วเช็ดเศษฝุ่นที่ ติดอยู่ด้วยผ้าแล้วจึงทำการทาสีครั้งที่สอง...และก็ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้งอีก ครั้งหนึ่งแล้วทำการขัดเหมือนกับครั้งแรกแล้วจึงทาสีอีกทีหนึ่งเป็นอัน เสร็จ....หมายเหตุ...การทำสีกรงสมควรทำตอนที่อากาศดี..มีแดด..อย่าทำตอน อากาศชื้น ๆ หรือฝนตกหรือตอนกลางคืนเพราะจะทำให้ทินเนอร์ซึ่งเป็นส่วนผสมจะขุ่นขาวติด เนื้อไม้ได้สีไม่เงาแวว...และการทำให้แห้ง...อย่าทำสีเสร็จแล้วนำไปตาก แดด..เพราะจะทำให้แลคเกอร์หรือยูริเทรนที่ทาไว้แตกเป็นลายเส้นตามเนื้อไม้.. ควรเก็บไว้ในที่ร่มไม่โดนแดดแล้วปล่อยให้แห้งเองซึ่งการทำสีกรงอาจใช้เวลา นิดหนึ่ง.อีกอย่างหนึ่งที่เป็นจะต้องใช้ของดี ๆ หน่อยก็คือแปรงทาสีขนอ่อน...ควรหาซื้อแปรงที่มีคุณภาพหน่อยหลังจากซื้อมา แล้วสมควรหยอดกาวร้อนที่โคนของขนแปรงและทิ้งไว้ให้แห้งก่อน...เป็นการ ป้องกันไม่ให้ขนแปรงหลุดและติดกับกรงขณะที่เราทำสี...ถ้าซื้อแปรงที่มี คุณภาพต่ำขนแปรงจะหลุดง่ายทำให้งานล่าช้าและต้องมาดึงมาเก็บขนแปรงแล้วจะทำ ให้เป็นรอยนี้วมือได้......

การทำสีกรงโดยการพ่นด้วยกาพ่นและปั๊มลมเป่า......

การทำสีอย่างนี้เป็นที่นิยมใช้กันเพราะเป็นการทำที่ถาวรดี...สีที่ออกมาจะเรียบและเสมอกันดูมีความมันแวววาว

แต่ขั้นตอนและอุปกรณ์มักจะต้องลงทุนสูงสักหน่อย..เรามาดูกันครับว่าจะต้องเตรียมอะไรบ้าง....




การพ่นสีด้วยลมหรือปั๊มลมอุปกรณ์ที่จะต้องมีก็คือ.......

1. ปั๊มลม...(ขาดไม่ได้แน่นอน....อาจจะหาปั๊มขนาดกลางหรือเล็กก็ได้.)

2. กาพ่น..(สมควรใช้กาพ่นขนาดเล็กหรือที่เรียกกันว่าแอร์บัตเพราะสามารถสอดเข้าพ่นด้านในได้)

3. ทินเนอร์...(เตรียมไว้สำหรับล้างกาพ่น..หลังจากใช้งานเสร็จเรียบร้อยแล้ว)

4. สีและส่วนผสม..(เป็นสีเคลือบเงาของรถยนต์ใช้ได้ทุกยี่ห้อ)

5. กระดาษทรายละเอียด....(เอาไว้สำหรับขัดหรือลูบกรงหลังจากที่เราพ่นครั้งแรก ๆ ให้เรียบ)

6. กระป๋องหรือถ้วยสำหรับผสมสีอาจจะเป็นภาชนะที่หาได้ใกล้ ๆ มือ......




ครับ...เมื่อมีสิ่งของอุปกรณ์พร้อมแล้วก็เริ่มโดยการนำกรง ที่จะทำสีซึ่งขัดเกลาและเก็บรายละเอียดเรียบร้อยแล้วหาเหล็กเส้นยาวสัก 50 เซ็นต์ทำเป็นตะขอทั้งสองด้านแล้วก็หาที่ ๆ สามารถแขวนกรงให้อยู่ในระดับที่สามารถพ่นได้สะดวก...อย่าพ่นกรงโดยการตั้ง ไว้กับพื้นเพราะจะทำให้เม็ดฝุ่นหรือทรายปลิวตามแรงลมของปั๊มเกาะติดกับกรง ได้..ให้พยายามหาที่แขวนและเราจะสามารถหมุนกรงได้โดยรอบได้ง่าย...เริ่มจาก การผสมสี...สีที่ผมใช้อยู่จะเป็นสีเคลือบเงาของรถยนต์..ผมใช้ของยี่ห้อ Plan 8009 และอีกกระป๋องหนึ่งจะเป็น Plan8099ซึ่งสองกระป๋องนี้จะเป็นชุดขายรวมกันราคาอยู่ที่ 400 บาทต่อหนึ่งชุด...นำมาผสมกันในอัตราส่วนผสม 1 ต่อ 3 โดยใช้กระป๋องใหญ่สามส่วนและกระป๋องเล็กหนึ่งส่วน..ผสมในภาชนะที่เตรียมไว้ คนด้วยเศษไม้..การคนอย่าคนนานจนเกิดเป็นฟอง..คนเพียงเพื่อให้เข้ากันเป็น พอ....เสร็จแล้วนำมาเทใส่กาพ่น......สำหรับกาพ่น..สมควรซื้อกาเล็กหรือที่ เรียกกันว่ากาแอร์บัต...เพราะสามารถสอดเข้าไปพ่นด้านในกรงได้สะดวกกว่ากา ใหญ่ ๆ ที่เราเห็นเขาใช้กันโดยทั่วไป....ผมจะพ่นกรงโดยรวมทั้งหมด..สี่ครั้ง...คือ ครั้งแรกพ่นกรงเสร็จแล้วก็จะปล่อยให้แห้งโดยธรรมชาติคือไม่นำไปตากแดดปล่อย ให้แห้งเองอาจใช้เวลานิดหนึ่ง..เมื่อกรงแห้งดีแล้วก็จะนำกรงมาขัดด้วยกระดาษ ทรายละเอียดให้เรียบทุกด้าน..หลังจากนั้นก็เช็ดปัดฝุ่นด้วยผ้าแล้วทำการพ่น ครั้งที่สอง...และก็จะใช้กรรมวิธีเหมือนกับตอนแรกทุกอย่าง...หลังจากนั้นก็ เริ่มพ่นครั้งที่สามพ่นครั้งนี้ให้พ่นบาง ๆ ให้เรียบและเสมอกันแล้วปล่อยให้แห้งโดยไม่ต้องขัดกระดาษราย...แล้วจึงมาพ่น ครั้งที่สี่หรือครั้งสุดท้ายอีกทีหนึ่ง...สีที่ออกมาจะแววและเงามันดี มากอนึ่ง...การพ่นสีให้พ่นหรือทำสีตอนที่อากาศดี ๆ มีแดด....อย่าทำตอนกลางคืนหรืออากาศชื้นเย็นเพราะจะทำให้สีที่พ่นหม่นหรือ ขึ้นขาวได้....และทุกครั้งที่พ่นเสร็จอย่านำไปตากแดดเพราะแดดจะทำให้สีที่ เคลือบแตกเป็นลายจะลำบากในการพ่นครั้งต่อ ๆ ไปได้....

ข้อคิดและข้อควรระวัง....จากประสพการณ์ของตัวเองที่เกิดขึ้น.

การพ่นสี...สีที่พ่นมักจะฟุ้งกระจายไปโดยรอบหรือทั่ว ๆ ไป ให้ควรระวังโดยการหาผ้ามาปิดปากเพื่อป้องกัน

อันตรายจากการสูดกลิ่นของทินเนอร์เข้าไป ถ้าพ่นหรือทำสีในบริเวณบ้านก็ต้องดูแลเรื่องนกที่เราเลี้ยงดูอยู่..

ให้เก็บหรือย้ายให้พ้นจากกลิ่นหรือกลุ่มควันของสีที่พ่น...เพราะนกของเราอาจจะแพ้กลิ่นหรือสารพิษเหล่านี้

แล้วล้มหายตายจากได้.....ซึ่งก็เป็นประสพการณ์ของผมโดยตรงคือพ่นสีกรงแต่ไม่ได้ระวัง...นกกระรางสองตัว

ซึ่งอยู่ในกรงใหญ่ข้างบ้านได้รับสารพิษเหล่านี้เข้าก็ล้มตายลง...ให้เป็นข้อเตือนใจกันครับ.....อีกอย่างหนึ่งเป็น

เรื่องสำคัญมาก ๆ กับบ้านข้าง ๆ หรือที่เราเรียกว่าบ้านใกล้เรือนเคียงกันนะแหละครับ....เพราะการพ่นสีด้วย ปั๊มลมเสียงของปั๊มลมมักจะดังเมื่อแรงลมอ่อนปั๊มก็จะทำงานอาจเป็นการรบกวน บ้านข้าง ๆ ยามพักผ่อน...สิ่งนี้ก็สมควรถ้อยทีถ้อยอาศัยกันหาเวลาให้เหมาะกับเหตุการณ์ เป็นสิ่งที่ดีเพราะเมื่อพ่นเสียงดังยังมีกลิ่นเหม็นและกลุ่มควันฟุ้งกระจาย ไปโดยรอบอย่างที่บอกแต่แรกครับ.....อืม..เกือบลืมไปอีกอย่างหนึ่งที่สมควรทำ ทุกครั้งหลังจากพ่นสีกรงแล้วก็คือ..การล้างกาพ่น..ให้ล้างกาพ่นสีทุกครั้ง หลังจากเสร็จจากการพ่นสีกรงโดยการเททินเนอร์ใส่ลงในกากพ่นแล้วก็พ่น ทิ้ง.....ทำซักสองครั้งและควรถอดหัวกาพ่นแยกเก็บจากสายลมเป่าทุกครั้งเพราะ ส่วนผสมของสีอาจหลงเหลือและติดอยู่ภายในของท่อสายลมตรงกาจะทำให้เป็นเม็ด หรืออุดตันได้ง่าย...ย้ำ..การพ่นทุกครั้งแรงลมที่พ่นจะต้องเต็มอยู่ เสมอ..อย่าพ่นกรงขณะที่ปั๊มลมทำงานเติมลมหรือแรงลมต่ำ..เพราะจะทำให้สีที่ พ่นออกมาเป็นฟองหรือกระจายไม่เท่ากันทำให้เป็นเม็ดตามมาได้.....

การทำสีกรงอีกวิธีหนึ่ง....ที่นิยมทำกันอยู่ในตอนนี้ก็คือ

การนำกรงที่ทำเสร็จแล้วใหม่ ๆ เอี่ยมอ่องของเรา...นำไปที่อู่ซ่อมรถมอเตอร์ไซค์หรือร้านพ่นสีรถยนต์ที่มี อยู่ทั่วไปแล้วก็จัดการว่าจ้างช่างให้พ่นกรงให้...อัตราค่าจ้างก็แล้วแต่ละ ร้านจะคิดราคาเอา...แต่ขอเตือนไว้อยู่อย่างหนึ่งครับว่า..การพากรงไปให้ร้าน เหล่านี้พ่นมักจะพ่นออกมาไม่ค่อยดี..สีจะย้อยบ้างไหลบ้างเพราะช่างทำสีมักจะ ไม่ค่อยขัดให้กับเรา..เราต้องไปนั่งเฝ้าและบอกกับช่างหรือคอยกำกับด้วย.. หรือบางทีช่างอาจจะหงุดหงิดเอาก็เป็นได้ถ้าเราไปจุกจิกจู้จี้กับช่าง....ถ้า เป็นไปได้..ให้ไปหาช่างหรือมีเพื่อนเป็นช่างทำด้านสีอยู่ก็จะเป็นการดีมาก ถ้าสนิทกับช่างหรือรู้จักกับช่างก็เป็นทางเลือกที่ดีเหมือนกันครับคือเราไป ซื้อสีมาแล้วก็ไหว้วานให้ช่างพ่นให้ขาพ่นให้แล้วเราก็เอามาขัดเองแล้วก็จ่าย ค่าแรงให้กับช่างก็เป็นวิธีที่ดีทีเดียวเช่นกันครับ.......

***************************************

เลี้ยงนกถ่ายขนให้นกกลับมาเก่งเหมือนเดิม

ธรรมชาติของนกหัวจุกหรือนกทุกชนิดต้องมีการผลัดขน หรือ เซียนนกเรียกว่าถ่ายขน เพื่อเปลี่ยนขนเก่าที่หมดอายุการใช้งาน

ออกให้หมดแล้วงอกขนใหม่ที่พร้อมใช้งานไปอีก 1 ปี อย่างมีประสิทธิภาพ ขนที่ดีมีไว้ใช้งานเพื่อการบิน การทางตัว ความอบอุ่น

ป้องกันสัตว์ร้าย และบ่งบอกลักษณะความพร้อมทางเพศ และบ่งบอกเพศ




เหตุมดนกถึงต้องผลัดขนช่วงฤดูฝนเป็นส่วนมาก โดยเแพาะนกที่สมบูรณ์หรือนกที่อยู่ในธรรมชาติ เกือบร้องทั้งร้อย

ถ่ายขนช่วงหน้าฝน ก็เนื่องมากจากหลังจากหน้าฝนแล้วเข้าสู่หน้านาว นกต้องใช้ประโยชน์จากคนเพื่อป้องกันความหนาวเย็น

จากธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ธรรมชาติจึงบังคับให้นกทั้งหลายรวมถึงนกหัวจุก ถ่ายขนในช่วงฤดูฝน ก่อนฤดูหนาวมาถึง




สิ่งที่นักเลี้ยงนกหัวจุกมือใหม่กังวลคือ

 - เมื่อไร่มันจะถ่ายขนสุด

 - เมื่อไร่นกจะถ่ายขนหมดไว ๆ

 - ทำอย่างไรจะให้นกถ่ายขนได้หมดทั้งตัวเป็นขนใหม่หมด

 - ถ่ายขนสุดแล้วทำไงจะทำให้ฟอร์มการเล่นกลับมาเหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิม

 - นกจะอ้วนไหมถ้าให้อาหารเพียบ ๆ ให้นกสมบูรณ์

 - ช่วงนกถ่ายขน หิ้วนกไปแข่งไปซ้อมนกจะยังเป็นปกติหรือไม่




คำถามเหล่านี้มีคำตอบเป็นแนวทางในการตัดสินใจทำอย่างหนึ่งอย่างใดกับนกของท่าน อย่างถูกต้องตามประสบการณ์และ

หลักการที่ผ่านการกลั่นกรองมาแล้ว ด้านล่างนี้ครับ...




นกถ่ายขนแบ่งเป็นสามช่วงง่าย ๆ คือ

ช่วงเริ่มถ่าย (ขนเริ่มหลุด)

ช่วงเริ่มถ่ายนี้ นกส่วนมากจะทิ้งขนตัว(ขนอุย)ก่อนเป็นอันดับแรก ขนตัวจะร่วงมากติดก้นกรงผิดสังเกตุ ในช่วง กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน

ของแต่ละปี แต่ไม่ทุกตัวนะครับที่ถ่ายขนช่วงนี้แต่ 95% จะถ่ายขนช่วงนี้ครับ พอขนตัวร่วงไปซักระยะ ขนหางและขนที่ปีก ก็จะเริ่มร่วงตาม ๆ กันมา

ช่วงนี้นกต้องการพลังงานและการพักผ่อนมาก ๆ อาหารที่ควรให้ควรเป็นผลไม้เป็นหลัก และห้ามให้อาหารสำเร็จรูปในช่วงที่เริ่มถ่ายขนเด็ดขาด

ถ้าให้อาหารสำเร็จรูปช่วงนี้ นกร่างการจะสมบูรณ์ขึ้น ช่วงที่ทิ้งขนก็จะยาวนานออกไป ช่วงนี้เป็นไปได้ให้กล้วยและมะละกอยืนพื้น นักเลี้ยงนกจำนวนหนึ่ง

มักเชื่อว่า เมื่อนกเริ่มทิ้งขนแรกนี้ให้เอาผ้าคลุมกรง กลุมให้มิด นกจะถ่ายขนเร็ว สุดไว แต่ในทัศนของผู้เขียนเห็นว่า การทำแบบนั้นนกจะเสียสุขภาพจิต

และเสียสมดุลย์ในร่างกายอย่างมากและรวดเร็วเกินไป เมื่อนกถ่ายขึ้นมาแล้วจะไม่เก่งหรือไม่สมบูรณ์เหมือนเก่า สิ่งที่ผู้เขียนแนะนำคือ แยกนกตัวดังกล่าว

ไปแขวนในที่ ที่ไม่มีสิ่งที่รบกวนมัน เช่นคนไม่พลุกพล่าน ไม่มีหมาแมวกวน ไม่มีนกรบหรือท้ามันหรืออัดกับมัน ปล่อยให้มันมีอารมณ์คงที่ นกจะเริ่มทะยอยผลัดขน

ตามเวลาของธรรมชาติแต่ละตัว ช่วงนีร้ใช้เวลาประมาณ 3 - 6 สัปดาห์




ช่วงกำลังถ่าย (ขนหลักหลุดรุ่ย)

ช่วงนี้เป็นช่วงที่ขนหลักของนกกำลังร่วงเละเทะ สิ่งที่ทำได้ช่วงนี้คือใหนกอยู่เงียบ ๆ และไม่ต้องอาบน้ำนห ถ้าเอานกไปอาบน้ำช่วงนี้ การถ่ายขนใหญ่จะหยุดชะงักและ

เป็นเหตุให้ถ่ายไม่หมด หรือนกหยุดถ่ายขนได้ ช่วงนี้นกจะอ่อนแอที่สุดในช่วงทั้งสามช่งถ่ายขน ห้ามนกนกไปเทียบนก หรือเอานกไปเที่ยวนกอบ้านช่วงนี้ เพราะนกบางตัว

อาจจะถอดใจ หรือ หักหงิกไปได้ในช่วงนี้ถ้าถูกอัดจัด ๆ ได้ ช่วงนี้ควรดูและด้วยการให้อาหารผลไม้ เริ่มให้อาหารเม็ดได้ในช่วงนี้และให้วันละนิด อย่าให้แบบทิ้งไว้เต็ม

ถ้วยอาหาร นกจะเบื่ออาหารสำเร็จ และอาจทำให้อาหารสำเร็จดังกล่าวขึ้นราได้




อาจจะทำอาหารสำเร็จให้นกกินเองในช่วงนี้ได้ โดยการเอาอาหารสำเร็จไม่ว่าจะเป็นอาหารถ้วยทอง(แท้), อาหารซูปเปอร์900, เบอร์8 หรือยี่ห้ออื่น ๆ ที่เม็นเม็ดเล็ก ๆขนาดไล่เลี่ยกัน

มาประมาณ 4 ช้อนโต๊ะ แล้วเอาน้ำมันตับปลา ชนิดเม็ดเหลือง ๆ มาบีบเอาแต่น้ำ ใช้น้ำมันตับปลาประมาณ 6 เม็ด ต่ออาหาร 4 ช้อนโต๊ะพูน ๆ จากนั้นเขย่าให้ถ่วง อาจใช้เวลาเขย่า

ประมาณ 5-10 นาที เพื่อให้เข้ากันแล้วทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นวันรุ่งขึ้น ให้เอาผงชมพู ที่ให้นกพิราบ(หาซื้อได้ตามร้านขายอาหารนก) กิโลกรัมละ 150 บาท เป็นผงฝุ่นสีชมพู โรยทั่ว ๆ บาง ๆ

นิดหน่อย ไม่ต้องเยอะมาก แล้วเข่าให้ผลติดที่เม็ดอาหาร ทั่ว ๆ แล้ว เอาให้นกกินได้ เฉพาะนกที่ถ่ายขนช่วงนี้ นกจะขนร่วงดี และเมื่อถ่ายเต็มแล้ว นกจะขนขึ้นมันเร็วและ พร้อมแข่งเร็วกว่านกที่คลุมผ้า

ไม่เห็นเดือนเห็นตะวันมากมายนัก




ช่วงขนกำลังขึ้น (ขนเริ่มขึ้นแต่ยังไม่ขึ้นมันที่ขน)

ช่วงนี้เป็นช่วงสุดท้ายของการผลัดขนของนกแล้ว นกเริ่มคึกคัก เพราะขนใหม่เริ่มขึ้น ให้นำอาหารที่ผสมดังกล่าวที่บอกด้านบน ให้นกกินเรื่อย ๆ วันละนิดวันละหน่อย แต่ไม่จำเป็นต้องให้ทุกวัน

นกจะเริ่มมีขนที่สมบูรณ์งอกขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นสีเข้ม ช่วงนี้หากจะพานกออกไปเที่ยวนอกบ้านบ้างก็เป็นการดี แต่อย่าเอาเข้าราวรบนกเด็ดขาดเพราะว่า นกกำลังมีระบัด(หนามแหลม)

ขึ้นตามร่างกาย นกจะระคายตัวและเข็ดการร้องเมื่อถ่ายขนสุดแล้ว เอานกออกไปเที่ยวนอกบ้านอาจจะไปบ้านเพื่อ หรือไปสนาม เอานกแขวนไว้ในที่ห่าง ๆ ระวังอย่าให้โดนนกอื่นอัดได้ นกจะค่อย ๆ

เพิ่มความคึกคักให้กับตัวเอาตามความสมบูรณ์ของนกที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ




ส่วนที่นกถ่ายขนสุดช้าที่สุด คือจุกและแก้มสีแดง แก้มแดงของนกเห็นเล็ก ๆ แบบนั้นประกอบด้วยขนเล้ก ๆ หลายสิบเส้นมาก ๆ ครับ และจุกก็จะเป็นส่วนสุดท้ายที่นกถ่ายขนสุด และเมื่อนกถ่ายขนจนสุดหมดแล้ว

ประเมินจากสายตาเราก็ได้ว่านกสุดดีแล้ว ก็ยังไม่ควรเอานกเข้าราวซ้อมหรือนกนกเข้าแข่งขัน ถ้าหากจะเลี้ยงนกตัวนี้ให้เก่งและสดชื่อไปอีกนาน ๆ ให้ทิ้งระยะเวลาไปอีก 1 เดือน นับแต่วันที่เราเห็นด้วยสายตา

ว่านกถ่ายเต็มแล้ว เนื่องจากว่านกนั้นแท้ที่จริงแล้วยังถ่ายไม่สุด ยังมีหนามเล้ก ๆ ตามร่างการซึ่งตาเรามองไม่เห็น แทงแซมตามรูขุมขนเล้ก ๆ ตามร่างกายอีกมาก ดังนั้น เราควรนกนกเข้าราวซ้อม

เมื่อเห็นว่านกถ่ายสุดไปแล้วประมาณ 1 เดือน ช่วงนี้ควรให้นกอาบน้ำบ่อย ๆ นกจะถ่ายขนสุดเร็วอย่างมากด้วยครับ




ข้อพึงระวังในการเลี้ยงนกถ่ายขน

* อย่าให้นกโดนอัดช่วงถ่ายขน

* อย่างเอาไปไปซ้อมในราว

* อย่าเอานกอาบน้ำช่วงเวลาที่บอกด้านบน

* อย่าเอานกคลุมผ้าไม่เห็นเดือนเห็นตะวัน




เลี้ยงนกต้องเข้าใจธรรมชาตินก นกจะเข้าใจธรรมชาติการเลี้ยงของเจ้าของเช่นกัน พบกันใหม่เล่มต่อไปครับ เล่มนี้หมดพลังยุทธแต่เพียงเท่านี้

เจอกันเล่มที่หน้าเล่มต่อไปครับ

กรงนั้นสำคัญไฉน*



กรงนกหัวจุกนั้นมีหลากหลายแบบหลายสไตล์ ตามแต่ผู้ซื้อจะสามารถเลือกหาเอามาใส่นกเจ้าตัวรักตัวโปรดหรือตัวไม่โปรดของ เราได้หลากหลายมากจริง ๆ

แต่สิ่งที่ควรพิจารณาในการซื้อกรงมาใส่นกเรานี่นมีมากมายหลายประการ ที่จะนำมาบอกเล่าเก่าสิบกันนี้ก้อเป็นาสวนหนึ่งของการนำมาพิจารณาเท่านั้น

หากท่านจะนำไปประกอบการพิจารณาในการเลือกซื้อกรงใหม่ให้นกท่าน หรือ พิจารณาในการหากรงที่เหมาสมกับของของท่าน ของติดตามอ่านดูครับ




1. กรงต้องเหมาสมกับสรีระของนก

   หมายถึง การเลือกกรงซักใบมาใส่นก ต้องให้เหมาสมกับขนาดของตัวนก เนื่องจากนกมีหลายขนาด ใหฐา กลาง เล็ก นกขนาดใหญ่ที่มาจากทางภาคเหนือ

กรงก็ควรเป็นกรงที่ใหญ่กว้าง อาจเป็นกรงที่เป็น 17 ซี่ หรือ เป็นกรงที่มีด้านในกว้างซักหน่อย เพื่อให้เวลานกโดดเกาะห่วงหรือโดดเกาะคอนกลางคอนข้าง

หางจะได้ไม่ไปพาด กับห่วงอื่นหรือคอนอันอื่นได้ จะทำให้นกเสียความมั่นใจและพะวงกับหางเวลาเจอนกอื่น และหางไม่กดคอนเพราะไปพาดอยู่กับางอื่น

เนื่องจากความกว้างของกรงไม่พอ หรือ นกที่มีตัวหรือรูปร่างค่อนข้างเล็ก ส่วนมากเป็นนกที่มาจากป่าแถบประจวบ ทับสะแก ราชบุรี กาญขนบุรี นกเหล่านี้เป็นนก

ที่มีขนาดกลาง ถึง ขนาดเล็ก การเอากรงใหญ่ ๆ มาใส่มันก้อจะทำให้นกดูเป็นนกแคระไปและไม่เหมา ควรหากรงสปอร์คมาใส่ หรือ กรง 15 ซี่ที่มีหัวกรง

แคบหน่อย ก็จะเหมาะสมกับนกนั้น ๆ




2. กรงต้องเหมาะสมกับสไตล์การเล่นของนก
  หมายถึง ต้องเลือกกรงให้เหมาะกับสไตล์การเล่นของนกเขา เช่น นกเขาเป็นนกวิ่งสี่ห่วง เป็นนกวิ่งร้อง เราต้องหากรงนกที่ไม่กว้างมากนัก อาจะเป็นกรง 15 ซี่

แล้วจัดกระเบียบกรงภายในให้ดี เช่นห่วง ต้องวางห่วงให้เสมอกัน นกจะวิ่งไหล ถ้าจัดห่วงแบบสูงบ้างต่ำบ้าง นกจะเสียแรงโดยเปล่าประโวชน์และอาจะเสียจังหวะ

ในการวิ่งร้องได้ ทำให้นกเสียความเชื่อมั่นเวลารบนก หรือนกเราเป็นนกที่นั่งร้อง หรือชอบร้องที่คอนข้าง หรือบางท่านเรียกเท่ห์ ๆ ว่าคอนปืน เราก้อควรหา

กรงที่คอนข้างใหญ่ เหมาะกับการเกาะที่มั่นของนก คอนต้องเต็มขานก เวลานกกำขาจะกำเต็มเท้าและมั่นใจเวลาร้อง ส่วนกรงตั้งแต่ 17 ซี่ขึ้นไป ผมว่าแล้วแต่คนชอบและ

แล้วแต่นกชอบนะครับ นกบางตัวชอบอยู่ที่กว่างหน่อย วื่งบินสนุกก้อตามแต่อัธยาศัยครับ




3. กรงต้องแข็งแรงน้ำหนักดี

  สำหรับกรงแข่งหรือกรงแขวนเลี้ยงตามบ้านทั่ว ๆ ไป โดยเฉพาะกรงแข่ง ควรเลือกรงที่มีน้ำหนักดี คือหนัก ๆ หน่อย เพราะว่าเวลาเราเอานกไปแข่งในสนามบนราว เจอสภาพลมแรง.

กรงเบา ๆ มักปลิวโอนไปเอนมา ทำให้นกต้องเกร็จขอเพื่อเกาะคอนให้แน่น พร้อมกับโน้มตัวไปข้างหน้า ทำให้เสียจังหวะในการร้องหนือเล่น ทำให้นกอาจะถูกจดตกได้ หรือถ้ากรงแกว่ง

มาก นกอาจเสียการทรงตัวและตั้งตัวขึ้นมาเล่นใหม่ได้ช้า ก้อเป็นเหตุให้นกถูกจดตกได้เช่นกัน กรงนกที่ดีเมื่อโดนลมพัดเบา ๆ นิดหน่อยต้องไม่แกวางมากทไให้นกเสียสมาธิ

และการแกว่างของกรงต้องไม่หมุน เด๋วนี้เค้ามีอุปกรณ์เสริมใส่ที่ตะขอกรง จะทำให้กรงไม่หมุนได้อันละ 10 บาทไปหาซื้อมาใส่กันซะสำหรับกรงนกแข่งที่หมุนไปมา




4. กรงต้องไม่มีเสี้ยน

  เสี้ยนในที่นี้หมายถึงการเหลา ซี่กรง หรือ การเหล่าที่ตัวโครงกรงไม่ละเอียด ที่คอนกลางหรือคอนข้าง กระดาษทรายลูบไม่สนิท ทำให้มีเสี้ยนจากไม้ เสี้ยนเหล่านี้อาจทำอันตรายต่อ

ขาและปีกหรือปากของนกได้ โดยอาการที่แสดงส่วนมาก นกจะยืนกำขา หรือเวลาโดดไปมาในกรง จะแหยง ๆ เท้านก

5. ตะขอกรงนกหัวจุก




ตะขอกรงนกหัวจุกแบ่งตามประเภทการใช้งานใหญ่ ๆ อยู่สองแบบ คือ ตะขอกรงนกที่ไม่ได้ใส่กรงนกเพื่อแข่งขัน กับตะขอกรงนกที่ใช้ใส่กับกรงนกเพื่อแข่งขัน



ตะขอกรงนกที่ไม่ได้ใส่นกแข่งขัน คงไม่ต้องพิถีพิถันอะไรมากนักเพียงแต่ ตะขอของกรงนกหัวจุก ส่วนมาก ปากจะกว้างเพื่อสามารถแขวนกับกิ่งไม้หรือแขวนกับราว

ผ้าใหญ่ ๆ ได้ แต่ถ้าให้ดีใช้เป็นสแตนเลส จะดีกว่าชนิดที่หล่อจากตะกั่ว เนื่องจากตะกั่วเปราะบาง ใช้ไปนาน ๆ เมื่อตะขอกรอบ จะหักและทำให้กรงตกหรือหล่นได้




ตะขอกรงนกที่ใส่นกเพื่อแข่งขัน เป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้นกตกรอบหรือเข้ารอบได้ เมื่อมีลมมาแรง ๆ ขณะแข่งขัน กรรมการเข้าพอดี ตะขอที่ไม่มีเครื่องป้องกันการแกว่งตัว จะทำให้นกเกร็งตัว

และจะไม่ร้อง ตัวจะลู่ลมไปตามแรงลม แล้วกรรมการเข้าพอดี ถือว่านกโชคไม่ดีไปครับ ตะขอสำหรับกรงนกที่ใส่นกเพื่อแข่งขัน ควรมีขนาดใหญ่ หรือบากให้มีร่อง หรือมีอุปกรณ์

ที่ใส่เพื่อป้องกันแรงลมกรรโชคได้ จะทำให้นกมั่นใจและกรงไม่แกว่งจนนกที่กำลังมีสมาธิดี ๆ เสียสมาธิและโดนจดตกไปได้นะครับ




6. หลังคากรง



หลังคากรงนกหัวจุกมีหลายแบบ แต่ละแบบล้วนแต่มีความสำคัญกับนก และนิสัยนกมากครับ หลังคาแบ่งได้ตามทรงได้หลายแบบ เวลาเราจะเลือกกรงมาใส่นกเราต้องดูนิสัยของนกเราด้วยว่า

เป็นนกแบบไหน เล่นแบบไหน หรือชอบขึ้นหลังคามากน้อยขนาดไหน เนื่องจากหลังคาอาจมีส่วนทำให้นกเสียสูญ กลายเป็นนกตีลังกาแบะบิดคอได้

หากเจ้าของรู้เท่าไม่ถึงการครับ




สำหรับนกใหม่ ๆ ที่ยังเปรียวอยู่ ไม่ควรหากรงหลังคาโค้ง ๆ ใส่นกเนื่องจากจะทำให้ นกเสียนิสัย ขี้ตื่นจนกลายเป็นนกบิดคอ ตีลังกา หรือแหงนคอได้ ควรใส่กรงหลังคาเรียบ หลังคาทรงโดมสูง ๆ

ควรหลีกเลี่ยงดีที่สุด สำหรับนกที่แข่งขันหรือเลี้ยงไว้ซักระยะหนึ่งแล้ว หากนกมีอาการขึ้นหลังคาเกาะแล้วตีลงมา หากใส่กรงที่เป็นทรงหลังคาโค้ง นกจะมีนิสัยตีลังกา และกลายเป็นนกตีลังกาในที่สุด

เนื่องจากนิสัยนกชอบขึ้นหลังคา พอขึ้นไปไม่มีอะไรให้เกาะเพราะเป็นหลังคาโค้ง นกก็จะตีลังกาลงมาเท่ากับฝึกให้เป็นนกตีลังกาไปในตัว ควรหลีกเลี่ยงครับ กรงแข่งขันที่ดี ส่วนมากหลังคาจะเป็นซี่หนา หรือเสริมซี่เพื่อ

ป้องกันแสงแดดอันร้องแรง และทำให้นกเล่นแบบสดชื่น(ถ้านกมันเล่นจริงนะครับ) การเลือกกรงเพื่อใส่นก หลังคากรงก็เป็นส่วนสำคัญไม่น้อยครับ




7. ที่รองขี้นก



ที่รองขี้นกควรเป็นสีทึบ ๆ ไม่เป็นวัสดุที่ใส สามารถมองผ่านได้ หากเรานำวัสดุที่ใส หรือ มองผ่านทะลุได้มาทำที่รองเป็นที่รองขี้นก จะทำให้นกระแวง มองแต่ที่พื้นกรง และนกจะไม่เชื่อง

และกลายเป็นนกที่เสียจิตประสาทไปได้ในระยะเวลาอันไม่นาน หลีกเลี่ยงการเอาพลาสติดใส มาทำที่รองขี้นก จริง ๆ สีที่ดีที่สุดควรเป็นสีเทาหรือสีน้ำเงิน เหมาะสมที่สุดครับ




เล่มหน้าว่ากันต่อนะครับ จะเป็นเรื่องอะไรคอยติดตามครับ