วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กฏหมายเกี่ยวกับนก





ภาพประกอบจาก http://www.siamtrends.com



การแข่งขันนกกรงหัวจุก

ปัจจุบันการแข่งขันนกกรงหัวจุกมี 2 รูปแบบคือ แบบสากล กับ แบบทั่วไปหรือแบบสี่ยก



การแข่งขันแบบสากล

การ แข่งขันแบบสากลส่วนใหญ่จะเน้นที่ความงดงามสมส่วนหรือมีลีลาสง่างามหรือไม่ และสำนวนเพลงร้องของแต่ละตัวดีหรือไม่อีกทั้งการแข่งขันแต่ละครั้งจะไม่ จำกัดยกแต่จะใช้จำนวนนกที่เข้าร่วมเป็นเกณฑ์ การแข่งขันจะใช้กรรมการ 3 คนต่อชุด ทำหน้าที่คัดเลือกนกออกให้เหลือเท่าจำนวนรางวัลที่จัดเอาไว้ กรรมการทั้ง 3 คนจะยึดกฎกติกาอันเดียวกัน โดยจะเดินวนรอบๆ ราวแขวนนกระยะพอประมาณ กรรมการ 1 คนจะสังเกต 6-9 ตัว รอบแรกจะคัดเอานกตัวที่ไม่ร้องหรืออยู่นิ่งๆ ขนพองฟูออก เพราะแสดงว่าไม่มีใจสู้ ไม่มีปฏิกิริยาอะไรกับนกตัวที่อยู่รอบๆ ข้างเลย กรรมการก็จะจดหมายเลขนกตัวนั้นเอาไว้ ถ้านกตัวใดถูกกรรมการ 2-3 คนจดหมายเลยซ้ำกันถือว่าตกรอบ นกที่เหลือจะถูกยุบเข้าไปอยู่บนราวเดียวกัน เมื่อเหลือจำนวนน้อยลงไปเรื่อยๆ จะสังเกตว่ายกที่ 1-3 นั้นนกที่ตกรอบเป็นนกที่ไม่ร้องไม่โชว์ลีลาอะไร

ยก 4 กรรมการจะเน้นไปที่เสียงร้องเป็นพิเศษ นกที่ผ่านยก 1-3 มาได้ แต่ถ้าไม่มีเสียงร้องในยกที่ 4 แม้จะมีลีลาดีเพียงใดก็ต้องตกรอบไปเพราะก่อนเข้ารอบรองชนะเลิศกรรมการจะ พิจารณาเสียงเป็นหลัก พอคัดเลือกนกเหลือเท่ารางวัลกรรมการจะหยุดพัก 5 นาที ให้เวลาเจ้าของนกหรือพี่เลี้ยงทำนกให้สดชื่นตื่นตัวและคึกคักพร้อมเข้าแข่ง รอบชิงชนะเลิศ ในช่วงเวลา 5 นาทีนี้ สิ่งที่เจ้าของนกส่วนมากจะทำกันคือป้อนอาหารจำพวกเรียกพลังเช่นตักแตนหนอน ให้นกอิ่มมีพลังร้องอย่างเต็มที่ในยกต่อไป และนำอาหารนกที่เหลือในกรงออกเพื่อให้สนใจร้องอย่างเดียวไม่มัวกินอาหาร พร้อมทั้งเปลี่ยนน้ำให้นกใหม่เพราะน้ำใช้มาตั้งแต่เช้าสกปรกและร้อนเกินไป หรืออาจจะมีวิธีอื่นอีกก็แล้วแต่เจ้าของ

รอบชิงชนะเลิศกรรมการแต่ละ คนจะใช้วิธีเดินรอบสนามหรือราวนกเพื่อให้คะแนน หลายๆ รอบจนครบหมดทุกตัว ในการตัดสินรอบแรกจะดูนกที่ร้องก่อนตัวอื่นๆ โดยเดินวนตามหลังกันเว้นระยะห่างพอประมาณไปในทิศทางเดียวกัน ใช้ระยะเวลาในการเดินให้คะแนนคนละเท่าๆ กันคือ 1 นาทีต่อ 1 ล๊อก ดูนกประมาณ 3 ตัว เมื่อพบนกตัวใดร้องก็จะจัดการให้คะแนนตามแบบฟอร์มโดยจะดูลักษณะการ ร้อง(เสียงร้อง) และลีลาการร้องประกอบกัน ส่วนนกที่ไม่ร้องในการเดินรอบแรก กรรมการก็จะยังไม่ให้คะแนน แต่ในรอบที่ 2 กรรมการจะต้องให้คะแนนนกให้ครบทุกตัวแม้ว่าจะไม่ร้องก็ตาม เมื่อกรรมการแต่ละท่านตัดสินนกจนครบทุกตัวก็ถือว่าเป็นการสิ้นสุดการให้ คะแนน และสรุปผลการตัดสินต่อไป



การแข่งแบบ 4 ยก

การ แข่งขันแบบนี้ถือกำเนิดขึ้นในแถบจังหวัดชายแดนไทยมาเลเชีย ก่อนจะเริ่มเป็นที่นิยิมขึ้นมาทางภาคใต้ตอนล่าง และแพร่กระจายออกไปเรื่อยๆ จนเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป

การแข่งขันนกกรงหัวจุกประเภทนี้นิยมแข่ง การแข่งขันออกเป็น 5 ยก ให้ใช้ยกที่ 1-4 ในการคัดเลือกนกออก และในยกที่ 5 คือยกสุดท้ายเป็นช่วงเวลาในการชิงความเป็นหนึ่งในสนามแข่ง กรรมการที่ใช้ในการแข่งขันจะมีทั้งหมด 4 คน โดยมีการจัดแบ่งหน้าที่กัน โดย 2 คนทำหน้าที่ดูว่านกตัวใดร้องหรือไม่ร้องบ้าง อีก 1 คนจะคอยให้คะแนนที่ร้อง โดยถ้านกร้อง 3 พยางค์ขึ้นไปให้ 5 คะแนน ไม่ร้องให้ 4 คะแนน

ในสนาม หนึ่งๆ จะแบ่งล๊อคเป็น 2 ล๊อค กรรมการจะมี 2ชุด เริ่มเดินวนจากซ้ายสุดและขวาสุดเข้าหากัน เมื่อให้คะแนนล๊อคของตนเสร็จก็จะเปลี่ยนไปให้คะแนนในล๊อคถัดไป กรรมการแต่ละท่านจะใช้เวลาเพียง 1 นาที ในการให้คะแนนนกในล๊อคตรงหน้าของตน เมื่อครบ 1 นาที จะมีสัญญาณนกหวีดดังขึ้น การให้คะแนนวิธีนี้จึงได้รับการยกย่องว่ามีมาตรฐาน ส่วนหลักการให้คะแนนก็มีต่อไปนี้

1. นกที่ร้อง 3 พยางค์ขึ้นไปให้ 5 คะแนน ส่วนนกที่ไม่ร้องหรือร้องไม่ถึง 3 พยางค์ให้ 4 คะแนน

2. นกที่จิกกรรมการ จะให้ 6 คะแนน

3. ลีลาดี รูปร่างดี ไม่มีคะแนนให้


เมื่อ กรรมการแต่ละท่านให้คะแนนนกทุกตัวครบแล้วก็จะติดผลคะแนนบนบอร์ด ให้เจ้าของนกทราบ นกตัวใดได้ไม่ถึง 20 คะแนน ถือว่าตกรอบไปตามระเบียบ


ใน รอบชิงชนะเลิศกรรมการแต่ละคนจะดูเฉพาะนก 2 ตัว ตรงหน้าของตนเท่านั้น โดยใช้เวลา 1 นาทีเท่าเดิม ในการพิจารณาให้คะแนนเสียงร้อง การนับดอกโดยหนึ่งดอกก็นับตั้งแต่ 3 พยางค์ขึ้นไป เมื่อสิ้นสุด 1 นาที จะมีสัญญานนกหวีดดังขึ้นเหมือนเดิม จนกระทั่งสิ้นสุดการให้คะแนนของกรรมการแต่ละท่านพร้อมๆ กัน ในการสรุปคะแนนรอบชิงกรรมการนิยมนับคอกว่านกตัวใดจะมีคะแนนเยอะกว่า หรือถ้าหากตัวใดจิกต่อหน้ากรรมการก็จะตัดสินให้นกตัวนั้นชนะไปเลย แต่ก็ต้องมีการนับดอกไปจนกว่าจะหมดเวลาเพื่อไม่ให้มีการเสมอกัน ในกรณีที่มีนกจิกใส่หน้ากรรมการมากกว่า 1 ตัว กรรมการจะตัดสินโดยการนับดอกใส่เข้าไปด้วย ซึ่งการแข่งขันนกแบบ 4 ยก นี้จะไม่ค่อยเน้นในเรื่องของความสวยงามแต่จะเน้นไปในการลองน้ำเสียงเพลงร้อง มากกว่า

นอกจากนี้ยัง มีการประกวดประชันหรือโชว์กรงด้วย ว่ารูปทรงของกรงนกที่นำมาเข้าประกวดสวยงามมีลวดลาย หรือมีรูปร่างที่แปลกตา และมีราคาแพงอย่างไร

โดยนกกรงหัวจุกที่มีสุขภาพดีก็จะร้องได้ทั้งวัน ยกเว้นนกที่ป่วย แต่การจะร้องได้เป็นเพลงสั้นหรือยาวได้อย่างไรนั้น ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน อาทิ การฝึกสอน และอารมณ์ของนก นกกรงหัวจุกตัวผู้จะร้องได้เป็นเพลงยาวๆ นกกรงหัวจุกตัวเมียจะร้องได้ไม่เป็นเพลง ร้องได้เป็นคำสั้นๆ ในเวลาที่นกกรงหัวจุกร้อง จะมีลักษณะดังนี้คือ ปากจะอ้าเต็มที่ ขนคอสีขาวจะพองออกมาดูสวยงาม ขาที่จับคอนเกาะจะเหยียด ลำตัวจะตั้ง หางจะสั่นและกระดกเข้าหาคอนที่เกาะ เหล่านี้เป็นต้น




กฏหมายเกี่ยวกับนก

ตามพระ ราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 กำหนดให้นกปรอดทั้ง 36 ชนิด ที่พบในเมืองไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทนกที่ผู้ครอบครองต้องมีใบอนุญาตในการครอบครอง ส่วนการประกวดนกปรอดหัวโขนนั้นต้องปฏิบัติตามประกาศกรมป่าไม้ เรื่องการประกวดแข่งขันนกปรอดหัวโขน ลงวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 โดยอธิบดีกรมป่าไม้ที่ระบุว่า

"ผู้ใดจะ นำสัตว์ป่าคุ้มครอง ชนิดนกปรอดหัวโขน หรือสัตว์ป่าอื่นๆ เข้าประกวดแข่งขัน จะต้องนำเอกสารการแจ้งการครอบครองตามมาตรา 66 หรือ 67 ซึ่งได้จดแจ้งต่อกรมป่าไม้แล้วภายในเดือนพฤษภาคม 2535 และต้องนำเอกสารดังกล่าวติดตัวสัตว์ป่าไปด้วยทุกครั้ง และผู้ที่นำสัตว์ป่าไปเข้าประกวดแข่งขันจะต้องเป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในเอกสาร ดังกล่าวข้างต้น หรือผู้เข้าประกวดนำสัตว์ป่าคุ้มครองอื่นไปแข่งขัน หรือมีการตกลงกันซื้อขายสัตว์ป่าคุ้มครองภายในสถานที่ประกวด จะมีความผิดตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือทั้งจำทั้งปรับไม่เกินสี่ปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

เสน่ห์ของการเลี้ยงนกหัวจุก

ถ้า จะถามแต่ละคนว่า ทำอะไรถึงจะมีความสุขที่สุด แน่นอน ทุกๆ คนก็จะตอบไม่เหมือนกัน เพราะต่างจิตต่างใจกัน ความชอบก็จะไม่เหมือนกัน ผู้เขียนเองมีทีมงานกลุ่มอนุรักษ์นกกรงหัวจุกฟ้าตรัง ซึ่งตั้งขึ้นตามเจตนารมณ์ของผู้รักนกกรงหัวจุกหลายๆ ท่าน ทั้งนี้ยังรวมถึงผู้รักนกกรงหัวจุก ทั้งหลายทั่วประเทศ ซึ่งมีความรักและชื่นชมในองค์ประกอบต่างๆ ของนกกรงหัวจุก อันประกอบด้วย ความงดงามในรูปร่างลีลา เนื่องจากนกกรงหัวจุกเป็นนกขนาดเล็กที่คล่องแคล่ว ปราดเปรียว มีสีสันสวยงาม สำนวนเพลงร้อง ถ้าฟังกันให้ดี แต่ละเพลงที่นกร้องออกมา จะไม่ค่อยซ้ำกัน หมุนเวียนกันไป ทำให้ฟังไม่เบื่อ ยิ่งเมื่อนกอยู่ในกรงที่สวยงาม และกระโดดโลดเต้นไปตามลีลาอันเป็นธรรมชาติ ก็จะยิ่งน่าดู เป็นการสร้างความประทับใจและสบายใจให้กับเจ้าของอย่างมาก ได้พักผ่อน พบปะเพื่อนฝูงในวันหยุดสุดสัปดาห์ เป็นการผ่อนคลายความเครียดที่ดี อีกวิธีหนึ่ง

ยิ่งถ้ามีการแข่งขัน และนกของเราได้รับรางวัลด้วย ก็จะนำมาซึ่งความภาคภูมิใจ ทั้งนี้ยังรวมถึงแม่บ้านและลูกๆ ด้วย เพราะปัจจุบันทางภาคใต้นิยมจัดรางวัลเป็นของใช้ เช่น ตู้เย็น โทรทัศน์สี หม้อหุงข้าวไฟฟ้า พัดลม รถจักรยาน และของใช้อื่นๆ อีกมากมาย ถ้าเจ้าของนกได้รางวัลเหล่านี้กลับบ้าน ก็จะเป็นการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัวอีกด้วย

สร้างความ ภูมิใจ ในลักษณะที่เราสามารถเพาะพันธุ์ได้ เองภายในบริเวณบ้าน ข้อนี้สำคัญมาก เนื่องจากบัจจุบัน หลายๆ ท่านพยายามจะช่วยกันขยายพันธุ์นกให้มีจำนวนมากขึ้น ถ้าเราทำได้สำเร็จ ก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้อนุรักษ์นกกรงหัวจุกได้สำเร็จอย่างแท้จริง ประกอบเป็นอาชีพ ท่านที่สนใจสามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับนกได้ไม่ยาก เช่น - เพาะพันธุ์ลูกนกขาย - ขายอุปกรณ์เลี้ยงนก เช่น อาหารนก ผ้าคลุมกรง ถ้วยน้ำ และอื่นๆ - ทำกรงนกขาย สำหรับท่านที่มีฝีมือ ก็สามารถทำกรงนกขายได้ ทำให้มีเงินเก็บเป็นกอบเป็นกำโดยไม่ยากเลย เพราะปัจจุบันสะดวกกว่าสมัยก่อนมาก เนื่องจากมีชิ้นส่วน ในการทำกรงขายทุกอย่าง เราสามารถนำมาประกอบเป็นกรงแข่งขันขายได้เลย ในลักษณะโชคลาภ

มีผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุกจำนวนไม่น้อยเลย ที่ได้นกมาแล้วเลี้ยงดูอย่างดี ไม่ยอมขายหรือให้ใครไปเลย เนื่องจากเป็นการถือโชคลาง ผู้เขียนเคยคุยกับเจ้าของนกผู้มีอันจะกินหลายๆ ท่าน ถึงความเชื่อในตัวนก โดยเฉพาะนกที่มีลักษณะพิเศษกว่าตัวอื่นๆ เช่น หัวมีสีขาว ขนสีขาวทั้งตัวหรือขาวเพียงบางส่วน เจ้าของนกบอกว่า ตั้งแต่ได้นกมา ปรากฎว่ากิจการต่างๆ ที่ทำอยู่ประสบผลสำเร็จอย่างดี มีกำไรมากขึ้น ก็เลยสั่งทำกรงไม้ฝังมุกอย่างดีราคาหลายหมื่นให้นกอยู่ได้ อย่างสบาย ตอนนี้ฐานะก็ดีขึ้นเรื่อยๆ เคยมีคนมาขอซื้อเท่าไรก็ไม่ยอมขาย ซึ่งก็เป็นความเชื่อและแนวความคิดของแต่ละท่าน เรื่องนี้ต้องให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณาและใช้หลักการเหตุผลคิดเอาเองตามความ น่าจะเป็นก็แล้วกัน



ลักษณะนกที่ถือว่าเป็นที่สุดของนกกรงหัวจุก


1. โครงสร้างส่วนหัวใหญ่ ใบหน้าใหญ่ สันปากบนและล้างใหญ่

2. ฐานจุกแน่น เต็ม ขนจุกสั้นชี้ขึ้นข้างบน ราบปลายแหลมโค้งงอไปข้างหน้าเล็กน้อย จุก แข็ง ไม่ลู่ไปข้างหน้า

3. ดวงตากลมใส ดุ (นัยน์ตาคมเหมือนตาเหยี่ยว)

4. หูแดง มีขนสีแดงขึ้นเป็นกระจุกใหญ่ เต็ม

5. ขนที่คอสีขาว ฟูสวยงาม

6. หมึกดำ หรือสร้อยคอดำหรือสร้อยพระศอ หรือสร้อยสังวาล เป็นแถบดำชัดเจน ทอดยาวตั้งแต่ต้นคอจรดหน้าอก

7. หน้าอกใหญ่ สำตัวยาวเป็นรูปปลีกล้วย ]

8. ขนปีกทั้งสองข้างครบทุกชี่ ขณะยืนร้อง ปลายปีกทั้งสองข้างต้องยาวเลยบัวแดงลงไป

9. มีนิ้วเท้าสองข้างครบถ้วนข้างละ 4 นิ้ว

10. บัวแดงใต้โคนหางด้านในสี่แดงสด นูนใหญ่ ฟูปิดโคนหางสนิท

11. ขนหางเต็มจำนวน 12 ชี่ (ขนดำตลอด 4 ซี่ ขนดำปลายขนขาว 8 ซี่) จะขึ้นคู่ กัน 6 คู่ และต้องซ้อนกันเป็นมันสวยงาม ปลายหางไม่แตก หางสั้นกว่าช่วงลำตัว

12. ขณะยืนร้อง ขาทั้งสองข้างจะต้องเหยียดสุดข้อ ตัวตรง ปลายหางกดเข้าใต้คอนเปล่า เสียงร้องเต็มที่

13. ลักษณะโดยรวม ขนนกต้องเรียบเป็นมัน ไม่มีรอยของการทำร้ายตัวเอง เช่น จิกปีก จิกหาง หรือจิกขา

14. นกที่สมบูรณ์ ขณะยืนร้อง ขนปุยที่หน้าอกจะฟูปิดทับหัวปีกทั้งสองข้างดูสวยงามมาก

15. ต้องมีน้ำเสียงดี อาจจะจัดเป็นเสียงกลางเต็มหรือเสียงใหญ่

16. สำนวนเพลงร้องต้องเข้าลักษณะ เพลงร้องหลัก ๆ ต้องมีตั้งแต่ 5 - 9 พยางค์ ไม่มีเพลงเสีย



ตารางการให้อาหาร ของนกกรงหัวจุก หมุนเวียนทุกวัน


จันทร์ /กล้วยน้ำว้า(จะให้คุณค่าทางอาหารเช่นวิตามินต่างๆ)

อังคาร /มะละกอ(ช่วยในการขับถ่ายดี)

พุธ /ส้มเขียวหวาน(ช่วยทำให้แก้หวัด+เสียงจะสดใส่ดี)

พฤหัสบดี /แตงกวา(ต้องล้างให้สอาดด้วยนะครับ)

ศุกร์ /บวบ (สำคัญมากเพราะมีเส้นใยช่วยในการขับถ่ายของเสียจากตัวนก)

เสาร์ /ข้าวคุกแกงส้ม(ในส่วนผสมของพริกแกงสมจะมีสมุนไพรหลายอย่าง)

อาทิตย์ /กล้วยน้ำว้า(จะให้คุณค่าทางอาหารเช่นวิตามินต่างๆ)

การให้อาหารของคนเลี้ยงนกแต่ละท่านอาจจะไม่เหมือนกันนะครับอาจจะต่างคนต่างความคิด แล้วท่านใดหมุนเวียนให้อาหารอะไรบ้าง



ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.nokkronghuajuck.com

การฝึกนกกรงหัวจุกเพื่อเข้าแข่งขัน








วิธีการดูแลนกกรงหัวจุก



อาหาร


ใน ตอนเช้า เปิดผ้าคลุมกรงนกออก แล้วเปลี่ยนอาหารให้นกกินใหม่ โดยการผ่ากล้วยน้ำว้าสุก มะละกอสุก มะเขือเทศสุก ลูกตำลึงสุก แตงกวา บวบ ออกเป็นครึ่งลูก หรือทำเป็นชิ้น ๆ ถ้าเป็นลูกตำลึงลุกก็ให้ทั้งลูกเลย การให้อาหารควรจะสลับกันไปวันละ 2 ชนิด เพื่อกันไม่ให้นกเบื่ออาหาร สำหรับอาหารเม็ดก็ใส่ไว้ในถ้วยอาหาร อาจจะไม่ต้องให้ทุกวัน


สังเกตดูขี้นก  ในตอนเช้า เมื่อเปิดกรงนกหัวจุก ให้สังเกตดูขี้นก หากขี้นกเป็นแบบขี้จิ้งจก คือเป็นเม็ดสีขาวดำ แสดงว่านกเป็นปกติ แต่ถ้าขี้นกเป็นขี้เหลว หรือขี้เป็นน้ำ ก็แสดงว่านกเป็นโรคต้องรีบรักษาทันที

น้ำ  ให้เอาน้ำเก่าทิ้งไป แล้วเอาน้ำใหม่ใส่ให้เกือบเต็มถ้วย เพราะน้ำเก่าอาจจะสกปรก



นำนกกรงหัวจุกไปตากแดด

ใน ตอนเช้าผู้ที่เลี้ยงนกกรงหัวจุกจะต้องรู้วิธีการยกกรงนกไปแขวน โดยมีวิธีการยกคือ มือหนึ่งจะต้องหิ้วที่ตะขอกรงนก เมื่อไปถึงชายคาบ้าน หรือราวที่จะแขวนกรงนก หรือกิ่งไม้ หรือราวที่ฝึกซ้อม และราวที่จะแขวนนกประกวดแข่งขันแล้ว ก็ใช้มือข้างที่ถนัดจับที่มุมกรงมุมใดมุมหนึ่งที่เป็นเสากรง เพราะซี่ลูกกรงจะบอบบางไม่แข็งแรงและหัดได้ จากนั้นก็ยกกรงนกขึ้นชู โดยดูที่ตะขอแขวนนกว่าตรงกับที่แขวนหรือราวแล้วหรือยัง ถ้าตรงกบที่แขวนและราวแล้ว ก็ให้ปล่อยมือลง

ข้อควรระวัง
อย่า แขวนนกที่มีอายุน้อยใกล้กับนกที่มีอายุมาก ซึ่งนกที่มีอายุมากจะข่มขู่นกที่มีอายุน้อยกว่า เพราะนกสามารถจะจำเสียงได้ และจะตื่นแล้วการที่จะนำนกไปแขวนไว้นี้ เพื่อให้นกได้กระโดดไปมาออกกำลังกาย และเพื่อให้นกร้อง จนถึงตอนบ่าย จึงจะเก็บนกไว้ในที่ร่มต่อไป ถ้าเป็นลูกนกและนกหนุ่ม ค่อย ๆ เพิ่มเวลาแขวนตากแดดวันละ 1 ชั่วโมง เป็นวันละ 2 ชั่วโมง และตากแดดไว้นานขึ้นจนนกเคยชิน เพราะเวลานำนกกรงหัวจุกเข้าประกวดแข่งขันต้องใช้เวลา 5-6 ชั่วโมง กว่าจะประกวดเสร็จ เพราะนกต้องตากแดดตลอดเวลาการประกวด



เก็บนกไว้ในที่ร่ม


หลังจากให้นกตากแดดตั้งแต่ตอนเช้าจนถึงตอนบ่าย ก็ให้เก็บนกและกรงนกไว้ในที่ร่ม ให้ทำความสะอาดกรง และอื่นๆ ดังนี้

1. ทำความสะอาดกรงนก โดย เปลี่ยนตัวนกกรงหัวจุกไปไว้กรงอื่นเป็นการสอนนกไม่ให้เลือกกรงและเคยชิน ต่อการเปลี่ยนกรง จากนั้นก็ให้ทำความสะอาดกรงนกที่เห็นว่าสกปรก ถ้ากรงนกสะอาดดีแล้วก็ไม่ต้องทำความสะอาด

2. ทำความสะอาดตะขอที่เกี่ยวอาหาร

3. ทำความสะอาดถ้วยใส่น้ำ

4. ทำความสะอาดถ้วยใส่อาหารเม็ด

5. ล้างถาดรองขี้นกใต้กรง

6. ให้อาหารและน้ำนกเหมือนเดิม

7. ให้นกอาบน้ำ
เมื่อนำนกไปเก็บไว้ในที่ร่ม ก็ให้นำกล่องพลาสติกหรือขันอาบน้ำใส่ไว้ในกรง ใส่น้ำลงไป นกก็จะอาบน้ำเอง ถ้านก ตัวไหนไม่ชอบอาบน้ำ ก็จะใช้ขวดแบบสเปรย์ฉีดน้ำเป็นฝอยให้ทั่วตัวนก จากนั้นนกก็จะเคยชินและอาบน้ำเองได้ เมื่อนกอาบน้ำเสร็จก็จะไซร้ขน เพื่อทำให้ขนสะอาดและแห้งไม่คันตัว แล้วก็เทน้ำที่ขันอาบน้ำนกทิ้งไป แล้วคว่ำขันลง ทิ้งขันอาบน้ำนี้ไว้ในกรง นกเมื่อได้อาบน้ำแล้วจะมีความสุข มีอารมณ์ดีแจ่มใส และร้องเพลงได้ดีเหมือนคนคือถ้าได้อาบน้ำก็จะรู้สึกสบายตัว

8. ให้นำนกไปแขวนไว้ที่ชายคาบ้าน หรือราว หรือกิ่งไม้ไว้เหมือนเดิม
ในช่วงเวลาประมาณ 15.00-16.00 น. ซึ่งจะเป็นแดดอ่อน ๆ ไม่แรงมากนัก ให้นกได้ตากแดดในช่วงเข้าและช่วงเย็น เพราะแสดงแดดมีวิตามินดีทำให้กระดูกของนกแข็งแรง และเพื่อให้นกขนแห้งสนิทเมื่อได้ตากแดดขนก็จะฟูสวยงามเป็นเงาและไม่คันตัว กรงนกก็จะแห้งและไม่ขึ้นรา อายุการใช้งานของกรงก็นานขึ้น



การฝึกนกกรงหัวจุกเพื่อเข้าแข่งขัน

หลัง จากที่เลี้ยงและฟูมฟักดูแลรักษานกมาเป็นอย่างดีแล้วควรเริ่มซ้อม แต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป ไม่ก้าวกระโดด เมื่อแขวนนกแล้วลองสังเกตว่านกเริ่มสู้แล้วหรือยัง ถ้ายังไม่สู้ให้ยกนกออกไปจากราวไปแขวนไว้ที่อื่นห่างออกไปแขวนไว้ที่อื่น ห่างออกไปก่อน เพราะหากยังแขวนไว้จะทำให้นกแพ้และไม่สู้นกตัวอื่นอีกเลย ต้องขยันหิ้วนกไปเที่ยวและต้องซ้อมบ่อยๆโดยซ้อมสัปดาห์ละ1-2 วัน ช่วงเวลาการซ้อมเพียงเล็กน้อย เพื่อให้เกิดความเคยชินกับสนามแล้วจึงแยกออกไปแขวนห่างๆ เพื่อให้นกเกิดความคึกคะนองก่อนจะนำนกไปเที่ยวหรือไปสนามซ้อม ต้องใช้ผ้าคลุมกรงนกทุกครั้ง เพื่อให้นกตื่นตกใจน้อยที่สุด

ควร เปลี่ยนกรงนกบ่อยๆ เพื่อให้นกคุ้นเคยกับการเปลี่ยนที่อยู่ใหม่ ป้องกันการตื่นตกใจกลัวเนื่องจากความไม่ชินกับสภาพกรงที่ผิดแผกไปจากเดิม ทำให้นกมีความพร้อมอยู่ตลอดเวลาในวันปกติให้แขวนนกแต่ละตัวให้ห่างกัน เพื่อไม่ให้เห็นกัน ให้ได้ยินแค่เสียงร้องก็พอ เพื่อนกจะได้คึกคัก

ให้ นกอาบน้ำในเวลาบ่ายหรือยามเย็นประมาณ 15.00-17.00 น แต่งตัวและตากขนให้แห้งสนิทก่อนจะเก็บไว้ทุกวัน เพื่อเพิ่มความสวยงามและปลอดโปร่งสบายให้แก่นก เพราะนกกรงหัวจุกชอบความสะอาดดูแลความเรียบร้อยของตังเองอยู่เสมอต้อง เปลี่ยนน้ำกินและน้ำอาบทุกวัน ล้างถาดรองขี้นกทุกวัน กรงสะอาดจะทำให้นกสดชื่นคึกคัก ให้ลองสังเกตดูว่าหากนกไม่ได้อาบน้ำและไม่ล้างทำความสะอาดหลายๆวันนกจะสลัด ขนอ่อนบนลำตัวออกและมีอาการซึม

ขณะที่แขวนนกตัวที่มีท่าทีว่าจะคึก ให้หมั่นเอานกล่อนกที่ไม่สู้ หรือไม่คึกไปเทียบบ่อยๆ ให้ห่างกันเล็กน้อย เพื่อให้นกมีอาการคึกคักพร้อมจะสู้และสร้างความมั่นใจว่าตังเองขู่ตัวอื่น ได้ นกจะมีความมั่นใจและเก่งมากขึ้น เมื่อนำไปแขวนที่ราวซ้อมนกจะพร้อมต่อสู้กับตัวอื่นตลอดเวลาโดยไม่กลัว เนื่องจากนกมีลักษณะนิสัยที่แตกต่างกันเพื่อเป็นการเรียนรู้นิสัยของนก เราจึงต้องสังเกตและเอาใจใส่เพื่อจะได้รู้จักนกของเราอย่างแท้จริง เช่น ชอบกระโดดเกาะหรือชอบวิ่งถ้วย ซึ่งจะมีผลอย่างมากเมื่อนำนกไปแข่ง นกจะพร้อมสู้ตลอดเวลาไม่เบื่อหน้ากันให้ใช้ผ้าคลุมกรงนกเพื่อให้นกพักผ่อน ได้เต็มที่

ก่อนถึงวันแข่งขัน1-2วันให้เปลี่ยนกรงนกที่เป็นกรงแข่งมี ลวดลายสวยงาม ซึ่งเตรียมไว้เฉพาะเพื่อความคุ้นเคย วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้เริ่มเลี้ยง ซึ่งเตรียมไว้เฉพาะเพื่อความคุ้นเคย วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้เริ่มเลี้ยง ซึ่งยังไม่มีนกที่ดีและเก่งพอที่จะเป็นนกครูฝึกได้

ครบเครื่องเรื่องนกกรงหัวจุก

ครบเครื่องเรื่องนกกรงหัวจุก






ตำนานนกกรงหัวจุก


นกกรงหัวจุก ที่เราๆ ท่านๆ นำมาแข่งขันประชันเสียงกันนั้น มีตำนานเล่าสืบต่อกันมา และมีหนังสือบางเล่มได้เขียนเอาไว้ว่าชนชาติแรกที่นำนกปรอดหัวจุกมาเลี้ยง คือ ชาวจีน เมื่อประมาณ พ.ศ.2410 คนจีนได้นำนกปรอดหัวจุกมาเลี้ยงแทนนกโรบิ้น ที่คนจีนส่วนใหญ่นิยมนำมาใส่กรงพาเดินตามถนนหรือนั่งร้านกาแฟ หรือไปหาเพื่อนๆ ที่รู้ใจและเลี้ยงนกเหมือนกัน และเจ้านกโรบิน มักจะเป็นนกที่ตกใจง่ายและตื่นคน บางครั้งตำใจมากจนถึงขั้นช็อคตายคากรง ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้ชาวจีนหันมาเลี้ยงนกปรอดหัวจุกหรือนกหัวจุกกันอย่าง แพร่หลาย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

นกกรงหัวจุก
เป็นที่นิยมของคน ภาคใต้ มายาวนาน โดยได้รับอิทธิพลมาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย โดยจะมีการนำนกกรงหัวจุกมาแข่งขันประชันเสียงเพลงซึ่งดูที่ลีลาการร้องของ สำนวนเสียงในนกแต่ละตัวว่าใครจะเหนือกว่ากัน แต่ในสมัยก่อนของภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดสตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส กระบี่ นครศรีธรรมราช นิยมนำนกกรงหัวจุกมาชนกันหรือตีกันเหมือนกับการชนไก่ คือเอานกมาเทียบขนาดให้ใกล้เคียงกันแล้วจับใส่กรงกลางที่มีขนาดใหญ่แล้ว ปล่อยให้นกทั้งสองตัวไล่จิกตีกันภายในกรงจนกว่าจะรู้แพ้รู้ชนะ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่านกปรอดหัวจุก มีนิสัยดุร้ายและชอบไล่จิกและตีกันตามธรรมชาติอยู่แล้ว




รู้จักกับนกกรงหัวจุก


นก กรงหัวจุกมีถิ่นอาศัยอยู่ในแถบประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น จะกระจายพันธุ์อยู่ทางตอนใต้ของทวีปเอเซีย โดยพบได้ตั้งแต่ประเทศอินเดีย บังคลาเทศ พม่า ไทย และอิน โดจีน และเนื่องด้วยนกชนิดนี้เป็นนกที่มีสีสวยงามและเสียงไพเราะ จึงมีผู้นำไปเลี้ยงในเคหะสถานบ้านช่อง อีกทั้งยังเป็นนกที่มีการคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 17 ให้เป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้


ถิ่นอาศัยของนกชนิดนี้ใน ประเทศไทยจะพบอาศัยอยู่ตามชายป่า ทุ่งหญ้า พื้นที่เกษตรกรรม และตามแหล่งชุมชน ในชนบท โดยเฉพาะทางภาคเหนือและภาคอีสานตอนบน

นก ปรอดหัวโขนเป็นนกในวงศ์นกปรอด (Pycnonotidac) ซึ่งนกในวงศ์นี้พบอาศัยอยู่ตั้งแต่ละแวกบ้านจนไปถึงบนยอดดอยสูงและตามป่าที่ ราบต่ำ มีอยู่ด้วยกัน 36 ชนิด แต่ทั่วโลกมีประมาณ 109 ชนิด โดยนกปรอดหัวโขนจัดอยู่ในสกุล Pycnonotus ซึ่งเป็นสกุลของนกปรอดสวเพราะนกในสกุลนี้หลายชนิดมักพบอาศัยใกล้ชุมชน หรือตามพื้นที่เกษตรกรรมนกปรอดหัวโขนมีชื่อเรียกหลายชื่อ แต่คนไม่ค่อยคุ้นหูนัก โดยจะมีการเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามภาค อย่างภาคใต้เรียกว่านกกรงหัวจุก ภาคเหนือเรียกว่นกปริ๊ดเหลวหรือพิชหลิว ส่วนภาคกลางเรียกว่านกปรอทหัวจุกหรือปรอทหัวโขน



ลักษณะทั่วไปของนกกรงหัวจุก


แก้ม และคอจนถึงหน้าอกจะมีสีขาวและมีสีแดงเป็นเส้นอยู่ข้างหูลงมาถึงหน้าอกเหมือน เป็นเส้นแบ่งขนสีขาวกับสีดำที่มีอยู่ทั่วทั้งตัวขนส่วนหัวจะร่วมกัน เป็นเหมือนหน่อตั้งอยู่บนหัวสูงขึ้นไปเหมือนหัวโขนใต้ท้องมีขนสีขาว



วิธีการดูเพศของนกกรงหัวจุก


นกกรงหัวจุกตัวผู้

จุกที่หัว
- ขนจุกบนหัวใหญ่จุกที่อยู่บนหัวมีโคนจุกใหญ่แล้วเริ่มเล็กเรียวขึ้นไปปลายจุกแหลมและปลายจุกจะชี้ไปทางหัวของนก

หัว - มีหัวและใบหน้าใหญ่

ปาก - มีสีดำเป็นมันและปลายปากงอเล็กน้อย

ตา
- ดวงตากลมและใส สีดำ

ขนแดงใต้ตา - เป็นสีแดงฟูเป็นกระจุกใต้ตา

ขนแก้ม
- เป็นกระจุกสีขาวฟูใหญ่กว่าขนแดงใต้ตา

คอ - ขนาดของคอตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมียทำให้ร้องเสียงดี และร้องได้นานกว่าตัวเมีย จึงสามารถร้องเป็นเพลงได้หลายคำ

ขนคอด้านบน
- จะเป็นขนสีดำเรียบ

ขนคอด้านล่าง - เป็นขนสีขาวสะอาดและขนฟูเป็นปุยเหมือนสำลีนูนออกมา

สร้อยคอ - จะมีสีดำเป็นแถบจากคอพาดลงมาที่หน้าอก ที่ปลายสร้อยคอมองดูแล้วจะมีลักษณะออกแหลมแต่ไม่ค่อยเด่นชัดนัก

อก - มีอกใหญ่ขนหน้าอกมีมากกว่าตัวเมียโดยใช้ปากเป่าอกดูขนหน้าอก]

ขนที่หัวปีก - มีขนที่หัวปีกสีน้ำตาลดำ มีขนหางจำนวน 12 เส้น

หาง - ขนหางมีสีน้ำตาลดำ มีขนหางจำนวน 12 เส้น

เสียงร้อง - เสียงร้องจะใหญ่และดังกังวานร้องได้ 3-7 พยางค์




นกกรงหัวจุกตัวเมีย


จุกที่หัว - ขนบนจุกจะเล็กกว่าตัวผู้จุกที่อยู่บนหัวมีโคนจุกเล็กกว่าตัวแล้ว เริ่มเรียวขึ้นไปปลายจุกแหลมแต่ปลายจุกจะชี้มาทางด้านหลัง

หัว - มีหัวและใบหน้าเล็กกว่าตัวผู้

ปาก - มีปากสีดำเป็นมันและปลายปากงอเล็กน้อย

ตา - ดวงตากลมและใสสีดำ

ขนแดงใต้ตา - เป็นขนสีแดงฟูเป็นกระจุกใต้ตา

ขนแก้ม - เป็นกระจุกฟูใหญ่กว่าขนแดงใต้ตา

คอ - ขนาดของคอเล็กกว่าตัวผู้ทำให้ร้องเสียงไม่ดี ร้องได้ไม่นาน จึงทำให้ร้องไม่เป็นเพลง

ขนคอด้านบน - จะเป็นขนสีดำเรียบ

ขนคอด้านล่าง - เป็นขนสีขาวสะอาดและขนฟูเป็นปุยเหมือนสำลีนูนออกมา

สร้อยคอ - จะมีสีดำเป็นแถบจากคอพาดลงมาที่หน้าอก ที่ปลายสร้อยคอมองดูแล้วจะมีลักษณะไม่แหลม

อก - มีอกเล็กกว่าตัวผู้ และขนหน้าอกจะมีน้อยกว่าตัวผู้ โดยใช้ปากเป่าดูขนหน้าอก หนังที่อกของตัวเมียจะเนียนละเอียดเกลี้ยงกว่าตัวผู้

ขนที่หัวปีก - ขนที่หัวปีกไม่มีสีแดงทั้ง 2 ข้าง

หาง - ขนหางมีสีน้ำตาลดำ มีขนหางจำนวน 9-10 เส้น

เสียงร้อง - ขนหางมีสีน้ำตาลดำ มีขนหางจำนวน 9-10 เส้น

ตารางการให้อาหาร ของนกกรงหัวจุก หมุนเวียนทุกวัน

ตารางการให้อาหาร ของนกกรงหัวจุก หมุนเวียนทุกวัน 

http://www.ruammitra.0fees.net/im-pet-jecosus.jpg

จันทร์ /กล้วยน้ำว้า(จะให้คุณค่าทางอาหารเช่นวิตามินต่างๆ)

อังคาร /มะละกอ(ช่วยในการขับถ่ายดี)

พุธ /ส้มเขียวหวาน(ช่วยทำให้แก้หวัด+เสียงจะสดใส่ดี)

พฤหัสบดี /แตงกวา(ต้องล้างให้สอาดด้วยนะครับ)

ศุกร์ /บวบ (สำคัญมากเพราะมีเส้นใยช่วยในการขับถ่ายของเสียจากตัวนก)

เสาร์ /ข้าวคุกแกงส้ม(ในส่วนผสมของพริกแกงสมจะมีสมุนไพรหลายอย่าง)

อาทิตย์ /กล้วยน้ำว้า(จะให้คุณค่าทางอาหารเช่นวิตามินต่างๆ)

การให้อาหารของคนเลี้ยงนกแต่ละท่านอาจจะไม่เหมือนกันนะครับอาจจะต่างคนต่างความคิด แล้วท่านใดหมุนเวียนให้อาหารอะไรบ้าง

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิธีการเลี้ยงนกกรงหัวจุก

วิธีการเลี้ยงนกกรงหัวจุก
8888
    เริ่มตั้งแต่เช้าตรู่ เมื่อเราตื่นนอนตอนเช้า อากาศสดชื่น เย็นสบาย นกก็สดชื่น
     เรา ทำการเปลี่ยนอาหารใหม่ ตามปกติจะประกอบด้วย กล้วยครึ่งผล มะละกอสุก 1 ชิ้น หรือแตงกวา 1 ซีก (สำหรับแตงกวาอาจมีความเสี่ยงอยู่บ้าง เพราะปัจจุบันมีการใช้สารเคมีฝังใต้ดิน เพื่อกำจัดหนอนแมลงกันมาก ยาก็จะดูดซึมเข้าไปอยู่ในผลแตงกวาด้วย เมื่อนกกินเข้าไป อาจทำให้นกตายได้ เรื่องนี้ ผู้เขียนเคยประสบมาแล้ว)
     หลัง จากนั้นเอากรงนกไปแขวนในที่ที่เตรียมเอาไว้ อาจจะเป็นชายคาบ้านหรือกิ่งไม้ที่แข็งแรงพอ นกก็จะเริ่มส่งเสียงร้องออกมา ถ้าเป็นนกที่กำลังคึกคักก็จะร้องตลอดเวลา ไม่หยุด พร้อมทั้งออกลีลาเต็มที่
     ต่อ จากนั้นเมื่อถึงเวลาที่ผู้เลี้ยงต้องออกไปทำงาน ก็ให้เก็บนกไว้ในบ้านในที่ที่ปลอดภัยที่สุด (จากงูเขียว หนู ขโมย) ต้องเป็นที่ที่มีแสงสว่างพอสมควร อย่าให้มืดเกินไป
     สำหรับ ผู้ที่ประกอบธุรกิจส่วนตัวอยู่กับบ้าน มีเวลาเลี้ยงนกมาก ก็ให้จัดเตรียมสนามซ้อมหรือราวเอาไว้เพื่อให้นกได้ตากแดด เป็นการเสริมวิตามินดีจากธรรมชาติ และสร้างความสดชื่นให้กับนก วิธีการตากแดดมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ
     1. นกที่ยังไม่พร้อมจะเข้าแข่งขัน หมายถึง นกใหม่ที่เราที่เพิ่งได้มา ยังไม่คึกคักเท่าที่ควรหรือนกวัยรุ่นที่ยังไม่มีความพร้อม ให้ตากแดดปกติ ไม่ต้อมโหมหนักมากเกินไป เพราะธรรมชาติของนก เมื่อเจอแดดร้อนก็จะเข้าไปแอบในร่มไม้เพื่อพักผ่อน นกกลุ่มนี้ให้ตากแดดช่วงเช้าตรู่ จนถึงประมาณ 09:00 - 10:00 ก็พอเพียง เก็บเข้าที่ร่มให้ห่างกันพอสมควร เพราะนกบางตัวอาจเกิดอาการกลัวนกตัวอื่น จึงไม่กล้าร้อง
     2. นกที่พร้อมจะเข้าแข่งขันหรือแข่งอยู่แล้ว นกกลุ่มนี้ต้องการความพร้อมสูงในการเตรียมตัวเข้าแข่งขัน โดยเฉพาะต้องตากแดด เพื่อให้นกแข็งแรง ทดแดดทนร้อนได้ ปกติจะเริ่มตากประมาณ 09:00 - 13:00 โดยตากไว้ตลอด ไม่มีการยกเข้าพักในที่ร่ม ให้นกได้กระโดดและร้องไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงเวลาเก็บ สถานที่ตากแดดก็เหมือนกัน คือ ต้องแข็งแรง ปลอดภัย และแต่ละตัวแขวนให้ห่างกันพอสมควร อย่าให้ใกล้กันเหมือนตอนแข่งหรือตอนซ้อม เพราะนกจะต่อสู้กันทุกวันจนเบื่อ
     หลัง จากผ่านการตากแดดมาแล้ว เก็บเข้าที่ร่ม ไม่มืดทึบ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก นกก็จะได้พักผ่อนส่วนตัว ไม่ต้องร้อง บางตัวก็จะร้องเล่นๆ เบาๆ เพื่อผ่อนคลายอิริยาบถจนถึงเวลาประมาณ 15:00 - 16:00 ก็ยกนกออกไปแขวนข้างนอก แล้วทำความสะอาดกรงนก โดยการเริ่มล้างถ้วยน้ำ ถ้วยอาหารให้สะอาด จากนั้นจัดการล้างซี่กรงด้านล่าง (ท้องกรง) โดยใช้น้ำฉีดให้ทั่ว ใช้ฟองน้ำหรือแปรงสีฟันขัดให้สะอาด และล้างถาดรองขี้นกให้สะอาดเช่นกัน แล้วหงายขันอาบน้ำ เติมน้ำให้เต็ม นำกรงนกขึ้นแขวนในที่ร่ม นกก็จะลงอาบน้ำเองอย่างสนุกสนาน เปียกทั่วตัว (กรณีที่นกบางตัวไม่ยอมอาบน้ำ ให้ใช้กระบอกฉีดน้ำปรับให้เป็นฝอย ฉีดให้ทั่วตัวบ่อยๆ นกก็จะลงอาบน้ำเอง) เมื่อนกอาบน้ำเสร็จและเริ่มแต่งตัว (โดยการใช้ปากไซ้ขนทั่วตัวเพื่อทำความสะอาดและให้ขนแห้ง) เราก็คว่ำขัน และยกกรงนกไปตากแดดอ่อนๆ เพื่อ
     - ทำให้ขนนกแห้ง เป็นการสร้างความสวยงามให้นก เพราะขนนกจะฟูสวยงาม และนกจะไม่คันในขณะทำการแข่งขัน
     - ทำให้กรงนกแห้ง เป็นการยืดอายุการใช้งานของกรงนกออกไปอีก เพราะเมื่อกรงเปียก ไม้ก็จะพอง ข้อต่อต่างๆ ก็จะหลวมและเผยอออก ซี่กรงก็อาจขึ้นราได้

 4444
     วิธีการเลี้ยงนกกรงหัวจุกที่อายุมาก (มากกว่า 10 ปีขึ้นไป) ต้องใช้วิธีการที่พิเศษออกไปกว่าการเลี้ยงนกหนุ่มทั่วๆ ไป คือ ต้องทำกรงพักขนาดใหญ่พอสมควร กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร สูง 1.50 เมตร โดยใช้ลวดตาข่ายล้อมเป็นกรงสี่เหลี่ยมหรือทรงกลมก็ได้ วางลงให้ติดกับพื้นดิน มีกิ่งไม้แห้งให้เกาะได้สะดวก ถ้วยน้ำ ถ้วยอาหาร ถ้วยน้ำอาบ พร้อมตลอดเวลา มีหลังคากันฝนเล็กน้อย จากนั้นก็ปล่อยนกที่อายุมากเข้าไป ให้นกได้บินมาอย่างสบาย นกก็จะสดชื่น แข็งแรงขึ้น เมื่อนกสมบูรณ์พร้อมทั้งกาย - ใจ เราก็สามารถเอานกตัวนั้นไปเข้าแข่งขันได้อีกครั้งหนึ่ง
     วิธีการเลี้ยงนกที่อ้วนเกินไป ปกตินกกรงหัวจุกธรรมชาติจะมีรูปร่างปราดเปรียว คล่องแคล่ว เมื่อนำมาเลี้ยงในกรง ผู้เลี้ยงให้กินอาหารอย่างเต็มที่ เพื่อให้นกสมบูรณ์ แข็งแรง และมักจะให้กินอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดด้วย นกก็จะกินจนอิ่ม แต่ได้ออกกำลังกายน้อยมาก เพราะต้องอยู่ในกรงแคบๆ ทำให้นกอ้วน ขี้เกียจกระโดด ขี้เกียจร้อง ไม่ประสบผลสำเร็จในการแข่งขัน เพราะนกอ้วนเกินไป เราจึงต้องทำการลดความอ้วนโดย
     - ให้กินกล้วยน้ำว้าน้อยลง
     - งดอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดและผงเด็ดขาด
     - ให้กินมะละกอ ลูกตำลึงสุก หรือแตงกวาผ่าซีกทุกวัน เพื่อให้นกถ่ายได้สะดวก
     - ตากแดดนกทุกวัน โดยค่อยๆ เพิ่มระยะเวลาการตากให้นานขึ้นเรื่อยๆ
     ใช้วิธีการนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่านกจะผอมลงและเข้าสู่สภาพปกติ นกก็จะคึกคักและมีลีลากระโดดโลดเต้นสวยงามเหมือนเดิม
 
 
นกปรอดหัวโขน หรือที่คนเลี้ยงนกส่วนใหญ่รู้จักกันในนามนกกรงหัวจุก ที่เก็บภาพมาจากเขาใหญ่ เป็นนกที่ทำให้นึกถึงคนๆหนึ่งขึ้นมาทุกครั้งที่ได้เจอ จนกระทั่งในก๊วนดูนกด้วยกัน เรียกชื่อ "คนที่คุณก็รู้ว่าใคร" แทนเวลาเจอนกตัวนี้ เช่นเดียวกับที่เราเรียก "ตึ๋ง" แทนนกปรอดเหลืองหัวจุก แบบนั่นเลยครับ แต่ต่างกันอยู่ว่า ทุกครั้งที่เจอ "ตึ๋ง" เราจะเรียกชื่อด้วยความขำๆ แต่ถ้าได้เจอนกปรอดหัวโขน เราจะเรียกชื่อที่ใช้แทนนกตัวนี้ด้วยความเคารพครับ
 
                                                                   


                                                                                                                                                          
วิธีการเลี้ยงนกกรงหัวจุก
     เริ่มตั้งแต่เช้าตรู่ เมื่อเราตื่นนอนตอนเช้า อากาศสดชื่น เย็นสบาย นกก็สดชื่น
     เรา ทำการเปลี่ยนอาหารใหม่ ตามปกติจะประกอบด้วย กล้วยครึ่งผล มะละกอสุก 1 ชิ้น หรือแตงกวา 1 ซีก (สำหรับแตงกวาอาจมีความเสี่ยงอยู่บ้าง เพราะปัจจุบันมีการใช้สารเคมีฝังใต้ดิน เพื่อกำจัดหนอนแมลงกันมาก ยาก็จะดูดซึมเข้าไปอยู่ในผลแตงกวาด้วย เมื่อนกกินเข้าไป อาจทำให้นกตายได้ เรื่องนี้ ผู้เขียนเคยประสบมาแล้ว)
     หลัง จากนั้นเอากรงนกไปแขวนในที่ที่เตรียมเอาไว้ อาจจะเป็นชายคาบ้านหรือกิ่งไม้ที่แข็งแรงพอ นกก็จะเริ่มส่งเสียงร้องออกมา ถ้าเป็นนกที่กำลังคึกคักก็จะร้องตลอดเวลา ไม่หยุด พร้อมทั้งออกลีลาเต็มที่
     ต่อ จากนั้นเมื่อถึงเวลาที่ผู้เลี้ยงต้องออกไปทำงาน ก็ให้เก็บนกไว้ในบ้านในที่ที่ปลอดภัยที่สุด (จากงูเขียว หนู ขโมย) ต้องเป็นที่ที่มีแสงสว่างพอสมควร อย่าให้มืดเกินไป
     สำหรับ ผู้ที่ประกอบธุรกิจส่วนตัวอยู่กับบ้าน มีเวลาเลี้ยงนกมาก ก็ให้จัดเตรียมสนามซ้อมหรือราวเอาไว้เพื่อให้นกได้ตากแดด เป็นการเสริมวิตามินดีจากธรรมชาติ และสร้างความสดชื่นให้กับนก วิธีการตากแดดมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ
     1. นกที่ยังไม่พร้อมจะเข้าแข่งขัน หมายถึง นกใหม่ที่เราที่เพิ่งได้มา ยังไม่คึกคักเท่าที่ควรหรือนกวัยรุ่นที่ยังไม่มีความพร้อม ให้ตากแดดปกติ ไม่ต้อมโหมหนักมากเกินไป เพราะธรรมชาติของนก เมื่อเจอแดดร้อนก็จะเข้าไปแอบในร่มไม้เพื่อพักผ่อน นกกลุ่มนี้ให้ตากแดดช่วงเช้าตรู่ จนถึงประมาณ 09:00 - 10:00 ก็พอเพียง เก็บเข้าที่ร่มให้ห่างกันพอสมควร เพราะนกบางตัวอาจเกิดอาการกลัวนกตัวอื่น จึงไม่กล้าร้อง
     2. นกที่พร้อมจะเข้าแข่งขันหรือแข่งอยู่แล้ว นกกลุ่มนี้ต้องการความพร้อมสูงในการเตรียมตัวเข้าแข่งขัน โดยเฉพาะต้องตากแดด เพื่อให้นกแข็งแรง ทดแดดทนร้อนได้ ปกติจะเริ่มตากประมาณ 09:00 - 13:00 โดยตากไว้ตลอด ไม่มีการยกเข้าพักในที่ร่ม ให้นกได้กระโดดและร้องไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงเวลาเก็บ สถานที่ตากแดดก็เหมือนกัน คือ ต้องแข็งแรง ปลอดภัย และแต่ละตัวแขวนให้ห่างกันพอสมควร อย่าให้ใกล้กันเหมือนตอนแข่งหรือตอนซ้อม เพราะนกจะต่อสู้กันทุกวันจนเบื่อ
     หลัง จากผ่านการตากแดดมาแล้ว เก็บเข้าที่ร่ม ไม่มืดทึบ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก นกก็จะได้พักผ่อนส่วนตัว ไม่ต้องร้อง บางตัวก็จะร้องเล่นๆ เบาๆ เพื่อผ่อนคลายอิริยาบถจนถึงเวลาประมาณ 15:00 - 16:00 ก็ยกนกออกไปแขวนข้างนอก แล้วทำความสะอาดกรงนก โดยการเริ่มล้างถ้วยน้ำ ถ้วยอาหารให้สะอาด จากนั้นจัดการล้างซี่กรงด้านล่าง (ท้องกรง) โดยใช้น้ำฉีดให้ทั่ว ใช้ฟองน้ำหรือแปรงสีฟันขัดให้สะอาด และล้างถาดรองขี้นกให้สะอาดเช่นกัน แล้วหงายขันอาบน้ำ เติมน้ำให้เต็ม นำกรงนกขึ้นแขวนในที่ร่ม นกก็จะลงอาบน้ำเองอย่างสนุกสนาน เปียกทั่วตัว (กรณีที่นกบางตัวไม่ยอมอาบน้ำ ให้ใช้กระบอกฉีดน้ำปรับให้เป็นฝอย ฉีดให้ทั่วตัวบ่อยๆ นกก็จะลงอาบน้ำเอง) เมื่อนกอาบน้ำเสร็จและเริ่มแต่งตัว (โดยการใช้ปากไซ้ขนทั่วตัวเพื่อทำความสะอาดและให้ขนแห้ง) เราก็คว่ำขัน และยกกรงนกไปตากแดดอ่อนๆ เพื่อ
     - ทำให้ขนนกแห้ง เป็นการสร้างความสวยงามให้นก เพราะขนนกจะฟูสวยงาม และนกจะไม่คันในขณะทำการแข่งขัน
     - ทำให้กรงนกแห้ง เป็นการยืดอายุการใช้งานของกรงนกออกไปอีก เพราะเมื่อกรงเปียก ไม้ก็จะพอง ข้อต่อต่างๆ ก็จะหลวมและเผยอออก ซี่กรงก็อาจขึ้นราได้
 
 
 
 วิธีการเลี้ยงนกกรงหัวจุกที่อายุมาก (มากกว่า 10 ปีขึ้นไป) ต้องใช้วิธีการที่พิเศษออกไปกว่าการเลี้ยงนกหนุ่มทั่วๆ ไป คือ ต้องทำกรงพักขนาดใหญ่พอสมควร กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร สูง 1.50 เมตร โดยใช้ลวดตาข่ายล้อมเป็นกรงสี่เหลี่ยมหรือทรงกลมก็ได้ วางลงให้ติดกับพื้นดิน มีกิ่งไม้แห้งให้เกาะได้สะดวก ถ้วยน้ำ ถ้วยอาหาร ถ้วยน้ำอาบ พร้อมตลอดเวลา มีหลังคากันฝนเล็กน้อย จากนั้นก็ปล่อยนกที่อายุมากเข้าไป ให้นกได้บินมาอย่างสบาย นกก็จะสดชื่น แข็งแรงขึ้น เมื่อนกสมบูรณ์พร้อมทั้งกาย - ใจ เราก็สามารถเอานกตัวนั้นไปเข้าแข่งขันได้อีกครั้งหนึ่ง
     วิธีการเลี้ยงนกที่อ้วนเกินไป ปกตินกกรงหัวจุกธรรมชาติจะมีรูปร่างปราดเปรียว คล่องแคล่ว เมื่อนำมาเลี้ยงในกรง ผู้เลี้ยงให้กินอาหารอย่างเต็มที่ เพื่อให้นกสมบูรณ์ แข็งแรง และมักจะให้กินอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดด้วย นกก็จะกินจนอิ่ม แต่ได้ออกกำลังกายน้อยมาก เพราะต้องอยู่ในกรงแคบๆ ทำให้นกอ้วน ขี้เกียจกระโดด ขี้เกียจร้อง ไม่ประสบผลสำเร็จในการแข่งขัน เพราะนกอ้วนเกินไป เราจึงต้องทำการลดความอ้วนโดย
     - ให้กินกล้วยน้ำว้าน้อยลง
     - งดอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดและผงเด็ดขาด
     - ให้กินมะละกอ ลูกตำลึงสุก หรือแตงกวาผ่าซีกทุกวัน เพื่อให้นกถ่ายได้สะดวก
     - ตากแดดนกทุกวัน โดยค่อยๆ เพิ่มระยะเวลาการตากให้นานขึ้นเรื่อยๆ
     ใช้วิธีการนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่านกจะผอมลงและเข้าสู่สภาพปกติ นกก็จะคึกคักและมีลีลากระโดดโลดเต้นสวยงามเหมือนเดิม

นักอนุรักษ์ชี้เลี้ยง "นกกรงหัวจุก" ทำลายสมดุลธรรมชาติ




จาก การนำเสนอข่าวของทีมข่าวทีวีไทยเมื่อวานนี้ เกี่ยวกับมุมมองของผู้ที่นิยมเลี้ยงนกปรอดหัวโขน หรือ ที่ชาวภาคใต้นิยมเรียกกันว่าน "นกกรงหัวจุก" ว่า การเลี้ยงนกปรอดหัวโขนเป็นวิธีในการอนุรักษ์นกชนิดนี้ แต่ในมุมมองของนักอนุรักษ์มองว่า การนำนกชนิดนี้มาเลี้ยงเป็นการทำลายสมดุลตามธรรมชาติ


ตาม ธรรมชาติแล้วนกปรอดหัวโขนจะกินผลไม้ หนอน และ แมลงเป็นอาหาร พบทั่วไปตามพื้นที่โล่งป่าละเมาะ พื้นที่เกษตรกรรม และบริเวณรอบ ๆ บ้านเรือนใกล้ชุมชนกระจายอยู่ทั่วประเทศ ยกเว้นพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคอีสานเนื่องจากไม่ชอบถิ่นอาศัยที่ค่อนข้างแห้ง แล้ง

ความนิยมในรูปร่างอันสวยงามและเสียงที่ไพเราะทำให้ในภาคใต้นิยม นำนกชนิดนี้มาเลี้ยง และ ประกวดเสียงร้องกันอย่างแพร่หลาย และกลายเป็นที่มาของการซื้อขายนกปรอดหัวโขน แม้ว่าจะอยู่ในบัญชีสัตว์คุ้มครองก็ตามซึ่งตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการ ระบุว่า จังหวัดปัตตานีถือเป็นแหล่งขายนกกรงหัวจุกแหล่งใหญ่ที่สุดแหล่งหนึ่งของไทย แต่ละปีมีการจับนกกรงหัวจุกมาขายนับแสนตัว

และความนิยมที่แพร่หลาย เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้พื้นที่ภาคใต้ไม่สามารถหานกปรอดหัวโขนได้ในธรรมชาติ จึงมีการจับนกจากภาคอื่น ๆ แล้วนำไปขายยังภาคใต้ ทำให้นกปรอดหัวโขนตามธรรมชาติทั่วประเทศจึงลดลงอย่างรวดเร็ว

ตามพระ ราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 กำหนดให้นกปรอดทั้ง 36 ชนิดที่พบในเมืองไทยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทนกที่ผู้ครอบครองต้องมีใบ อนุญาตในการครอบครอง ส่วนการประกวดนกปรอดหัวโขนนั้นต้องปฏิบัติตามประกาศกรมป่าไม้

โดยผู้ ที่จะนำปรอดหัวโขนหรือสัตว์ป่าอื่นๆ เข้าประกวดแข่งขัน หรือ เคลื่อนย้ายนก จะต้องนำเอกสารแจ้งการครอบครอง ซึ่งได้จดแจ้งต่อกรมป่าไม้แล้วภายในเดือนพฤษภาคม 2535 ติดตัวไปด้วยทุกครั้ง และ ผู้ที่นำนกไปเข้าประกวดแข่งขันจะต้องเป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในเอกสาร แต่ไม่อนุญาตให้มีการซื้อ-ขายนกที่ได้แจ้งการครอบครองไว้ ซึ่งผู้ที่ฝ่าฝืนจะมีความผิดตามมาตรา 19 และ มาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และ หมายรวมถึงการห้ามการครอบครอง และ ห้ามค้า ไข่ และ ซากของสัตว์เหล่านั้นด้วย

ซึ่งหากดูจากภาพที่มีผู้จับนกชนิดนี้ไปขาย ที่ละมากๆนั้น จะเห็นได้ว่า พ.ร.บ.ตัวนี้ยังไม่มีการบังคับใช้อย่างจริงจังทำให้นอกจากนกชนิดจะสูญหายไป จากธรรมชาติ เพราะถูกนำไปเลี้ยงในกรงแล้วนกส่วนหนึ่งยังต้องตายระหว่างที่ถูกจับ หรือ ระหว่างการขนย้าย

ส่วนกรณีที่มีการเรียกร้องให้กรมป่าไม้ถอดชื่อนก ปรอดหัวโขนออกจากบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองเพื่อให้สามารถเพาะเลี้ยงได้ง่ายโดย ที่ไม่ต้องอนุญาตจากกรมป่าไม้นั้น กลุ่มผู้อนุรักษ์นกต่างก็มาคัดค้าน โดยให้เหตุผลว่า เป็นการเร่งให้จำนวนนกในธรรมชาติลดลง และ นกชนิดนี้เมื่อปล่อยให้อยู่ตามธรรมชาติก็สามาถขยายพันธุ์ได้ดีโดยไม่จำเป็น ต้องเพาะเลี้ยง นอกจากนี้การเพาะเลี้ยงที่ไม่เคยมีคำยืนยันว่า สามารถเพิ่มจำนวนประชากรนกในธรรมชาติได้ยังอาจส่งผลให้เกิดนกชนิดใหม่ขึ้นมา ทำลายระบบนิเวศตามธรรมชาติ





ที่มา http://www.thaipbs.or.th/